ตัวชี้วัดและดัชนีการพัฒนาในชุมชนบนพื้นที่สูงเพื่อความยั่งยืนอย่างผสมผสานหลายมิติ

Main Article Content

เบญจพรรณ เอกะสิงห์
พนมศักดิ์ พรหมบุรมย์
ปัทมาพร ปันทิยะ
ปิยะพงศ์ ภูมิประพัทธ์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ ได้สำรวจจุดอ่อนของการสร้างตัวชี้วัดการพัฒนาชุมชนในอดีต และได้ปรับปรุงการสร้างตัวชี้วัดการพัฒนาชุมชนบนพื้นที่สูง ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยการใช้ข้อมูลที่มีอยู่แล้วให้มากที่สุด ข้อมูลส่วนใหญ่มาจาก กชช.2ค และ จปฐ. ของกรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย โดยมีการเก็บข้อมูลปฐมภูมิเพิ่มอีกเล็กน้อย ตัวชี้วัดที่คณะผู้วิจัยได้สร้างขึ้นมีทั้งหมด 18 ตัวชี้วัด รวมทั้งตัวชี้วัดการพัฒนาด้านทรัพยากร สิ่งแวดล้อมโดยอาศัยข้อมูลทางระบบภูมิสารสนเทศและได้ทดสอบตัวชี้วัดเหล่านี้ในพื้นที่โครงการหลวงและโครงการขยายผลโครงการหลวงรวม 4 แห่งโดยมีการให้น้ำหนักตัวชี้วัดของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผลการศึกษา พบว่าวิธีการนี้ ได้ผลดี สามารถระบุค่าตัวชี้วัดในแต่ละด้าน และดัชนีการพัฒนาโดยรวมทำให้สามารถทราบถึงประเด็นที่ยังต้องมีการพัฒนาในแต่ละด้านของแต่หมู่บ้าน/พื้นที่ ตัวชี้วัดและดัชนีการพัฒนาที่สร้างขึ้นมีความง่ายต่อการปรับให้เป็นปัจจุบัน และการเทียบกับค่ามาตรฐาน เช่น เกณฑ์ในหมู่บ้านคนไทย หรือเกณฑ์ในกลุ่มหมู่บ้านที่ได้รับการพัฒนาที่ดี ซึ่งเป็นการเปลี่ยนการคำนวณจากการอิงกลุ่มมาอิงเกณฑ์ซึ่งมีความเหมาะสมมากกว่า และสามารถนำไปใช้ในพื้นที่สูงอื่นๆ ได้สะดวกยิ่งขึ้นเหมาะสำหรับนำไปใช้คัดกรองพื้นที่เป้าหมายและกำหนดประเด็นการพัฒนาแบบเร่งด่วนได้

คำสำคัญ: การพัฒนาที่สูง ตัวชี้วัด การดำรงชีพ

 

Abstract

This research investigated weaknesses of past development indicators and constructed an improved developmentindicators for highland communities covering economic, social and environmental aspects. It made use mostly ofexisting data from kor chor chor 2 khor and jor por tor databases developed by the Department of CommunityDevelopment, Ministry of Interior, although it nevertheless collected some primary data. All together, there were18 development indicators including those in natural resource and environmental aspects using geographic informationsystems. These indicators were tested for four Royal Project and their extension areas. Weights for these indicatorswere obtained from relevant stakeholders.Results from this research indicated that the methods used yielded a good set of development indicatorsand indices for highland communities which could quickly highlight areas that need development in each village/site.The indicators and indices were easily updated and were amenable to be compared to other villages e.g. lowlandvillages or villages with good development conditions. Moving away from using group averages to a threshold approach, the indicators and indices constructed were more appropriate and convenient to be used. Prioritization of areas fordevelopment and development agendas can be rapidly done.

Keywords: highland development, indicators, livelihood

Article Details

บท
Original Articles