ความเป็นไปได้ในการผลิตไบโอชาร์เพื่อเพิ่มผลผลิตในระบบการผลิตข้าวนาสวน

Main Article Content

ทัพไท หน่อสุวรรณ
อรรถชัย จินตะเวช
สิทธิชัย ลอดแก้ว

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

ไบโอชาร์ (bio-char) คือ อินทรียวัตถุที่ผ่านกระบวนการไพโลไรซิสทำให้ได้อินทรียวัตถุที่มีรูพรุน มีคุณสมบัติในการดูดตรึงธาตุอาหารพืชและยังช่วยลดการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์และมีเทนจากนาสวน การศึกษาครั้งนี้ได้ทำการเปรียบเทียบอิทธิพลของการใส่ไบโอชาร์ที่ผลิตจากกากที่เหลือของการผลิตนํ้าหมักชีวภาพ 4 อัตรา ประกอบด้วย 0 640 1,280 และ2,560 กิโลกรัมต่อไร่ โดยพรวนลงดินก่อนการปักดำข้าว พบว่าการใส่ไบโอชาร์ในอัตรา 2,560 กิโลกรัมต่อไร่ สามารถเพิ่มจำนวนหน่อข้าวอย่างมีนัยสำคัญเป็นผลให้มีจำนวนรวงข้าวมากกว่าการไม่ใส่ไบโอชาร์อย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตามการใส่ไบโอชาร์ทุกอัตราไม่ทำให้นํ้าหนักเมล็ดต่อกอและนํ้าหนักเมล็ดเต็มต่อกอแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ อีกทั้งพบว่านํ้าหนักเมล็ด 1000 เมล็ดและเปอร์เซ็นต์เมล็ดเต็มของกรรมวิธีที่ใส่ไบโอชาร์ในอัตรา 2,560 กิโลกรัม มีค่าน้อยที่สุดแต่ไม่มีความแตกต่างกับการไม่ใส่ไบโอชาร์ ในระยะข้าวสร้างนํ้านมพบว่าการใส่ไบโอชาร์ไม่ทำให้ SPAD-value ที่ใบธงของหน่อหลักไม่มีความแตกต่างกัน แต่การใส่ไบโอชาร์ที่อัตรา 1,280 และ 2,560 กิโลกรัม ทำให้ดินนาสามารถรักษาแอมโมเนี่ยมไอออนได้มากกว่าอย่างมีนัยสำคัญนอกจากนี้ทำการศึกษาการผลิตไบโอชาร์โดยใช้เตาเผาซึ่งดัดแปลงจากถังนํ้ามัน 200 ลิตร พบว่าการเผาเศษไม้ สัก มะม่วง และขนุน ที่ระยะเวลา 2 และ 3 ชั่วโมง ใช้เศษไม้หนัก 50.5 ± 5.2 และ 44.4 ± 10.4 กิโลกรัม สามารถผลิตไบโอชาร์ได้ 10.3 ± 2.8และ 4.8 ± 1.3 กิโลกรัมตามลำดับ นำผลการทดลองที่ได้ไปจำลองสถานการณ์ให้การตอบสนองของผลผลิตข้าวจากการใส่ไบโอชาร์ที่ผลิตจากเศษไม้สัก มะม่วง และขนุน เหมือนกับการใส่ไบโอชาร์ที่ผลิตจากกากที่เหลือจากการผลิตนํ้าหมักชีวภาพเพื่อประเมินต้นทุนและผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ พบว่าการผลิตไบโอชาร์เพื่อปรับปรุงดินนา 1ไร่ ของปีแรก ใน 4 อัตรา ข้างต้นมีต้นทุนในการผลิตไบโอชาร์ตํ่าที่สุด 0 6300.0 8812.5 และ 1,2412.5 บาทต่อไร่ ได้ผลตอบแทน 7024.72 1594.59 -1544.48และ -4,741.75 บาทต่อไร่ ตามลำดับ

คำสำคัญ: ข้าวนาสวน ไบโอชาร์ แอมโมเนียมไอออน ผลผลิต

 

Abstract

Bio-char is an organic material that is processed through the pyrolysis procedure generating highly porous organicmaterial; leading to, becoming a plant nutrients absorption and a reducing carbon dioxide and methane emission fromlowland rice fi eld. This study conducted an experiment to compare the effects of bio-char, produced from the waste ofenzyme Ionic plasma production, at 4 rates consisting of 0, 640, 1,280 and 2,560 kg per rai by mixing bio-char intopaddy soil before rice transplantation. The results showed that 2,560 kg per rai of bio-char application signifi cantlyincreased tiller number, consequently, the panicle number increased more than that without bio-char application.However, both grain weight and fi lled grain weight did not differ signifi cantly in all cases. During milling stage, theSPAD-value at fl ag leaf of main tiller was not different at all cases; but, the ammonium ion was maintainable in the application of 1,280 and 2,560 kg bio-char per rai signifi cantly more than the other rates. This study also a conductedbio-char production experiment by adapting 200 liter barrels to be furnaces. The result showed that burning mixedwood chips of teak mango and jackfruit for 2 and 3 hours by using 50.5 ± 5.2 and 44.4 ± 10.4 kg wood chip; produced10.3 ± 2.8 and 4.8 ± 1.3 kg bio-char respectively. The result of the simulated conditions displayed that bio-charproduction for enhanced 1 rai of paddy soil following 4 rates above at the fi rst year; therefore, the bio-char productioncost were 0, 6,300.0, 8812.5 and 1,2412.5 baht per rai and it gained benefi t as 7024.72, 1,594.59, -1,544.48 and-4,741.75 baht per rai respectively.

Keywords: Lowland rice, Bio-char, Ammonium ion, Yield

Article Details

บท
Original Articles