การประเมินความมั่นคงทางอาหารด้วยปริมาณและมูลค่าอาหารที่บริโภคของครัวเรือน ในชนบทจังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

บุศรา ลิ้มนิรันดร์กุล
กุศล ทองงาม
พนมศักดิ์ พรหมบุรมย์
เบญจพรรณ เอกะสิงห์
ชาญชัย แสงชโยสวัสดิ์
ยุภาพร ศิริบัติ
กมลพันธ์ เกิดมั่น

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

แม้ว่าประเทศไทยมีการผลิตอาหารเกินความต้องการของประชากรในประเทศ และส่งออกผลผลิตส่วนเกินดังกล่าวไปในตลาดการค้าอาหารของโลกทั้งในรูปของสินค้าเกษตรสินค้าเกษตรแปรรูปและอาหารแต่ก็ยังมีกลุ่มคนที่มีอาหารไม่เพียงพอต่อการบริโภคในครัวเรือนหรือการบริโภคอาหารที่ขาดโภชนาการโดยเฉพาะในครัวเรือนชนบทที่ห่างไกล งานวิจัยนี้ได้ประเมินความมั่นคงทางอาหารของครัวเรือนเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่ โดยสัมภาษณ์ตัวแทนครัวเรือนชนบทในพื้นที่ที่มีความแตกต่างกันด้านระบบเกษตรนิเวศ 3 พื้นที่ คือเขตพื้นที่ราบ ที่ดอน และที่สูง จำนวน 194 ครัวเรือน โดยมีการสอบถามและประมาณชนิดและปริมาณอาหารที่สมาชิกในครัวเรือนบริโภคในรอบสัปดาห์ แปลงผลเป็นปริมาณสารอาหารที่ได้รับเป็นแคลอรีต่อคนต่อวัน เปรียบเทียบผลที่ได้กับค่าตัวเลขความต้องการอาหารขั้นตํ่ามาตรฐาน ประเมินเป็นสัดส่วนผู้ที่มีอาหารไม่พอเพียงและได้เส้นความมั่นคงทางอาหารในรูปมูลค่าอาหารที่บริโภค

พบว่าปริมาณพลังงานที่ได้จากการบริโภคอาหารเฉลี่ยของทุกพื้นที่จากชนิดและปริมาณอาหารที่ครัวเรือนบริโภคทั้งหมด มีค่าเท่ากับ 2,440.8 กิโลแคลอรีต่อคนต่อวัน โดยมีสัดส่วนของประชากรที่ได้รับอาหารไม่เพียงพอ (มีค่าพลังงานตํ่ากว่า1,850 กิโลแคลอรี) ในพื้นที่ราบ ที่ดอน และที่สูงเท่ากับร้อยละ 20 ร้อยละ 45 และร้อยละ 40 ตามลำดับ จากความสัมพันธ์ที่ได้ ได้นำไปคำนวณเป็นมูลค่าอาหารที่บริโภคเพื่อให้ได้พลังงานขั้นตํ่าที่จำเป็นต้องได้รับเพียงพอต่อคนต่อวัน (MDER เท่ากับ1,850 กิโลแคลอรี/คน/วัน ในกรณีประเทศไทย) พบว่า ครัวเรือนตัวอย่างบนที่ราบ ที่ดอน และที่สูง ต้องการมูลค่าอาหารที่บริโภคเพื่อได้พลังงานขั้นตํ่าเท่ากับ 42.7 55.1 และ 51.3 บาทต่อคนต่อวัน ตามลำดับ หรือเฉลี่ยรวมทุกเกษตรนิเวศ 51.8 บาทต่อคนต่อวัน ซึ่งพบว่าพื้นที่สูงมีสัดส่วนของการผลิตอาหารเองและการพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติ ร้อยละ 53.1 หรือมูลค่าเท่ากับตัวเงิน31.1 บาท ดังนั้นประชากรบนที่สูงต้องหารายได้อีกประมาณ 20 บาทเพื่อให้มีอาหารเพียงพอต่อการบริโภคอาหารขั้นตํ่า ซึ่งจัดว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้สูงมากนักในปัจจุบัน

คำสำคัญ: ความมั่นคงทางอาหาร เส้นความยากจน การบริโภคอาหาร ปริมาณแคลอรีที่ได้รับ

 

Abstract

Although Thailand is a country where food production is beyond the needs of the population of the country,and exports the excess to world markets, some rural households are still facing food and/or nutritionalinadequacy. This study aims at assessing the household food security of rural households in Chiang Maiprovince. One hundred sixty four households from three different agroecosystems, lowland, upland and highland,were interviewed to inquire about the type and amount of food consumed in the household duringone-week period. The food consumption items were converted into per capita calorie intake per day and compared tothe standard food security line to assess the proportion of sampled households with insuffi cient food. The consumptionamount that meets the food security line was converted to value of food consumed.

It was found that the average calorie intake per capita per day across three ecosystems was 2,440.8 kcal.The proportion of households having food insuffi ciency (energy intake less than 1,850 Kcal/capita/day) for the lowland,upland, and highland were 20, 45, and 40 percent, respectively. Then the estimated regression equations were usedto estimate the level of food expenditure needed for a person to have Minimum Dietary Energy Requirement (MDERwhich is 1,850 kcal per person per day for Thailand) and Average Dietary Energy Requirement (ADER which is 2,370kcal per person per day for Thailand). It was found that to have Minimum Dietary Energy Requirement in the lowlands,uplands and highlands of in the study area, a person needs to have 42.7, 55.1 and 51.3 baht for the values of foodconsumed per day respectively. For all agroecosytems, 51.8 baht was needed for Minimum Dietary Energy Requirement.Therefore, rural households would need food expenditure of around 20-25 baht per person per day in cash in orderto acquire minimum food requirement. This level of food expenditure is not considered too high at the present time.

Keywords: food security, poverty line, food consumption, calorie intake

Article Details

บท
Original Articles