การออกกำลังกาย การควบคุมอาหาร และการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อลดนํ้าหนัก ของนิสิตหญิง ระดับปริญญาตรี สาขาศิลปะการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Main Article Content

ณัฐจาพร พิชัยณรงค์
อุดมศักดิ์ มหาวีรวัฒน์
คนธรส เชื้อลิ้นฟ้า
จงรักษ์ คำโคตรสูนย์
พีรดา ปรารภ
วรัญญา คำสอน
สุกัญญา เฝ้าหนองดู่

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการออกกำลังกาย การควบคุมอาหาร การบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อลดนํ้าหนัก และปัจจัยที่สัมพันธ์กับการลดนํ้าหนักของนิสิตหญิงระดับปริญญาตรี สาขาศิลปะการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีการศึกษา 2554 จำนวนทั้งสิ้น 51 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และแบบสอบวัดความเครียดของสวนปรุง 20 ข้อ ระหว่างวันที่ 25 ตุลาคม 2554 - 7 กุมภาพันธ์ 2555 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Odds Ratio และ 95%CI

ผลการศึกษา พบว่า นิสิตส่วนใหญ่อายุ 20 ปี ขึ้นไป ร้อยละ 52.94 ศึกษาชั้นปีที่ 1 ร้อยละ 47.06 ได้รับค่าใช้จ่าย5,001 - 7,000 บาท / เดือน ร้อยละ 43.14 โดยมีแรงจูงใจในการลดนํ้าหนัก คือ เพื่อความมั่นใจ ร้อยละ 90.20 มีการรับรู้เกี่ยวกับรูปร่างของตนเองว่าอ้วน ร้อยละ 100 ใช้วิธีออกกำลังกายด้วยการวิ่ง ร้อยละ 62.86 ความถี่ในการออกกำลังกาย 3 - 4 ครั้ง /สัปดาห์ ร้อยละ 62.86 วิธีลดนํ้าหนักที่ได้ผลได้ส่วนใหญ่ คือ การออกกำลังกายร่วมกับควบคุมอาหาร ร้อยละ 32.35 บริโภคกาแฟลดนํ้าหนัก 5 วันขึ้นไป ร้อยละ 88.89 ปริมาณที่บริโภคมากกว่า 5 ซอง / สัปดาห์ ร้อยละ 72.22 การออกกำลังกาย (OR =1.31; 95%CI 0.38 - 4.52) ผู้ที่ออกกำลังกาย ลดนํ้าหนักได้เป็น 1.31 เท่าของผู้ที่ไม่ออกกำลังกาย การบริโภคกาแฟลดนํ้าหนัก(OR = 2.28; 95%CI 0.61 - 8.45) ผู้ที่บริโภคกาแฟลดนํ้าหนัก จะลดนํ้าหนักได้เป็น 2.28 เท่า ของผู้ที่ไม่บริโภค การควบคุมอาหาร(OR = 2.61; 95%CI = 0.79 - 8.66 ) ผู้ที่ทำการควบคุมอาหาร จะลดนํ้าหนักได้เป็น 2.61 เท่า ของผู้ที่ไม่ควบคุมอาหาร ส่วนความเครียด (OR = 0.89; 95%CI = 0.27 - 2.88) ความเครียดเป็นปัจจัยแบบผกผันกับการลดนํ้าหนัก ผู้ที่มีความเครียดในระดับสูง-รุนแรง (43 คะแนนขึ้นไป) จะทำให้นํ้าหนักลดเพียง 0.89 เท่า ของผู้ที่มีความเครียดในระดับน้อย-ปานกลาง (0 - 42 คะแนน)จากการศึกษาครั้งนี้ สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการให้ความรู้ เพื่อให้วัยรุ่นหญิงมีความเข้าใจ ในการลดนํ้าหนักด้วยตัวเอง โดยใช้วิธีที่เกิดประโยชน์ และปลอดภัยแก่ตนเองมากที่สุด

คำสำคัญ: ออกกำลังกาย ควบคุมอาหาร ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร นิสิตหญิง ระดับปริญญาตรี

 

Abstract

This study aimed to find out the physical exercises, diets and supplementary food products that could reduced weight among51 female undergraduate students in the, Department of Performing Arts. Faculty of Fine Arts and Applied Arts, MahasarakhamUniversity. Data were collected by questionnaire. Statistics based on data analysis, including percentage, mean andstandard deviation, Odds Ratio and 95%CI.

The results showed that, most of saxples were more than 20 years old (52.94%), fi rst year students (47.06%),average of honorarium per month 5,001 - 7,000 baht (43.14%), predisposing confi dence factor being the motivation toreduce weight (90.20%), opinion that they were obese (100.00%), jogging (62.90%), frequency of exercise 3-4 timesweekly (62.86%). The majority method of reducing weight was exercise and diet (32.35%). Diet coffee consumedmore than 5 days a week (88.89%), more than 5 packets weekly (72.22%). Exercise (OR =1.31; 95%CI 0.38 - 4.52),physical exercise person were more likely to develop weight loss 1.31 times compare with no exercise. Diet coffeeconsumption (OR = 2.28; 95%CI 0.61 - 8.45), diet coffee consumers were more likely to develop weight loss 2.28 timescompare with no consumers. Diet (OR = 2.61; 95%CI = 0.79 - 8.66), dietary person were more likely to developweight loss 2.61 times compare with no diet. But stress (OR = 0.89; 95%CI = 0.27 - 2.88) had reverse associatedwith weight loss, high to severe level (> 43 score) were less likely to develop weight loss only 0.89 times comparewith mild - moderate level (0 - 42 score).

The result from this study could be used as basic data for health education.

Keywords: physical exercise, diet, supplementary food, female students

Article Details

บท
Original Articles