ฮอร์โมนแห่งรัก

Main Article Content

จันเพ็ญ บางสำรวจ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

ความรักเชิงชู้สาวแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ตัณหา คลั่งไคล้ และผูกพัน ซึ่งแต่ละระยะจะเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนหลายชนิด ในระยะแรกนั้นจะรู้สึกหลงไหล พึงพอใจ ตื่นเต้นและเครียดซึ่งเกิดจากอิทธิพลของฮอร์โมนเพศเอสโตรเจน โปรเจสเตอโรนคอร์ติซอล เนิร์ฟโกรทแฟคเตอร์ และระดับของซีโรโทนินที่ลดลง ระยะที่ 2 คลั่งไคล้ เป็นระยะแห่งความเพ้อฝันและหมกมุ่นกับคนรักซึ่งเป็นผลจากฟีนิลเอทิลลามีน โดปามีน และนอร์อะดรีนาลีน สุดท้ายเป็นระยะของความผูกพันระยะนี้จะนำมาซึ่งความรู้สึกปลอดภัย สะดวกสบายผ่อนคลายและมีความสุขสัมพันธ์กับระดับของออกซิโทซินและวาโสเพรสซินที่สูงขึ้น กลไกที่ก่อให้เกิดความรู้สึกดังที่กล่าวมานั้นเกิดจากการกระตุ้นระบบโดปามีนที่สมองส่วนนิวเคลียสแอกคัมเบนส์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของรีวอร์ด ซิสเต็มโดยความรู้สึกรักและพึงพอใจเกิดจากการกระตุ้นผ่านตัวรับโดปามีน 2 ส่วนการกระตุ้นตัวรับโดปามีน 1 จะให้ผลตรงกันข้าม

คำสำคัญ : ฮอร์โมนเพศ โดปามีน นิวเคลียสแอกคัมเบนส์ ออกซิโทซิน วาโสเพรสซิน

 

Abstract

There are 3 phases of human love, lust, attraction, and attachment. Each phase is associated with various hormones. The first phase of relationships is characterized by high passion, excitement and stress. This phase is driven by a high level of testosterone, estrogen, cortisol, and nerve growth factor while the serotonin level is decreased. In the Second phase, attraction is imaginary and focused on their lover, through phenylethylamine dopamineand noradrenaline. In the Last phase, attachment is the bonding that brings intimacy safety love, comfort, soothing and pleasure. It has been linked to higher levels of oxytocin and vasopressin. The mechanism of all feeling associated with reward system is mediated by the dopaminergic pathway in the nucleus accumbens. Dopamine binding toD2-dopamine receptors (D2) in nucleus accumbens induced the formation of partner preference whereas D1-dopaminereceptors (D1) signaling prevent bondinq.

Keywords: Hormone, Dopamine, Nucleus accumbens, Oxytocin, Vasopressin

Article Details

บท
Academic Articles