การวิเคราะห์สารสนเทศเพื่อการพัฒนาระบบสนับสนุนการวางแผนการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในระบบ TCAS มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Main Article Content

Anan Pinate

บทคัดย่อ

นโยบายการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาระบบใหม่ (TCAS) เป็นนโยบายปฏิรูปการศึกษาโดยมีหลักการสำคัญ 3 ประการ คือ นักเรียนควรอยู่ในห้องเรียนจนจบมัธยมศึกษาปีที่ 6, นักเรียนแต่ละคนมีเพียง 1 สิทธิ์ในการตอบรับในสาขาวิชาที่เลือกเพื่อความเสมอภาค และสถาบันอุดมศึกษาในเครือข่ายที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ทุกแห่งต้องเข้าร่วมระบบเคลียริงเฮาส์เพื่อบริหาร 1 สิทธิ์ของนักเรียน จากนโยบายมหาวิทยาลัยมหาสารคามเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐที่อยู่ในเครือข่ายที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ซึ่งต้องดำเนินการตามนโยบายของการคัดเลือกนิสิตในระดับปริญญาตรีระบบใหม่ จากปัญหาการคัดเลือกระบบใหม่พบว่าจำนวนการยืนยันสิทธิ์ (Clearing house) เข้าศึกษามีจำนวนน้อยกว่าแผนการรับเข้าศึกษา เมื่อเทียบกับจำนวนนักเรียนที่สมัครและสนใจเข้าศึกษาที่มีจำนวนมาก จากปัญหาดังกล่าวผู้วิจัยได้มีแนวคิดในการนำเทคนิคเหมืองข้อมูล (Data mining) เพื่อวิเคราะห์สารสนเทศที่เกิดขึ้นจากข้อมูลนักเรียนที่มีสิทธิ์ในการยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษา เพื่อนำรูปแบบที่ได้มาพัฒนาเป็นระบบสนับสนุนการวางแผนการคัดเลือกนิสิตใหม่ในระบบ TCAS จากการวิจัยพบว่า วิธีต้นไม้ตัดสินใจ และวิธีการค้นหากฎความสัมพันธ์ จากข้อมูลทดลองกลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มีค่าความถูกต้องร้อยละ 82.85 สร้างเป็นกฎความสัมพันธ์ได้ 89 กฎ, กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพมีค่าความถูกต้องร้อยละ 80.88 สร้างเป็นกฎความสัมพันธ์ได้ 85 กฎ และกลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีค่าความถูกต้องร้อยละ 78.85 สร้างเป็นกฎความสัมพันธ์ได้ 85 กฎ โดยสามารถนำผลการทดลองมาพัฒนาเป็นระบบสนับสนุนการวางแผนการคัดเลือกนิสิตใหม่ในระบบ TCAS ได้

Article Details

บท
บทความวิจัย