The Application of HEC-HMS and HEC-RAS Mathematical Model for Study of Flood Mitigation in Cha-Uat, Nakhon Si Thammarat

Main Article Content

natapon kaewthong

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอการจำลองสถานการณ์น้ำท่วมและมาตรการบรรเทาอุทกภัยของเทศบาลตำบลชะอวด อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช โดยใช้แบบจำลอง HEC–HMS ร่วมกับแบบจำลอง HEC–RAS ในการประเมินปริมาณน้ำท่าและวิเคราะห์สภาพการเกิดน้ำท่วมในพื้นที่ศึกษา ผลการสอบเทียบ (ปี 2548) และตรวจพิสูจน์ (ปี 2543) สำหรับแบบจำลอง HEC-HMS พบว่าให้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) เท่ากับ 0.95 และ 0.82 ตามลำดับ ผลการสอบเทียบ (ปี 2548) และตรวจพิสูจน์ (ปี 2543) ในแบบจำลอง HEC–RAS โดยใช้ระดับคราบน้ำท่วมเชิงสะพานเทศบาลตำบลชะอวด พบว่ามีความคลาดเคลื่อน เท่ากับ 0.15 เมตร และ 0.23 เมตร ตามลำดับ โดยผลการวิเคราะห์สภาพน้ำท่วมพบว่าเขตเทศบาลตำบลชะอวดสามารถรองรับปริมาณน้ำท่าที่รอบปีการเกิดซ้ำ 2 ปี แต่จะเกิดน้ำท่วมบริเวณนอกเขตเทศบาลมีความลึกประมาณ 0.5-1.5 เมตร เมื่อพิจารณาปริมาณน้ำท่าที่รอบปีการเกิดซ้ำ 5 10 และ 25 ปี พบว่าจะเกิดน้ำท่วมในพื้นที่ชุมชนเขตเทศบาลตำบลชะอวดมีความลึกโดยประมาณ 1-2 เมตร และระดับน้ำจะเพิ่มสูงขึ้นไปจนถึง 2-3 เมตร ที่รอบปีการเกิดซ้ำที่ 50 ถึง 100 ปี ทั้งนี้ได้เสนอแนวทางในการบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่โดยการสร้างคลองผันน้ำออกทางช่องค้างคาวเพื่อระบายน้ำก่อนเข้าเขตเทศบาลตำบลชะอวด ซึ่งเมื่อพิจารณาที่รอบปีการเกิดซ้ำ 5 ปี พบว่าสามารถตัดยอดน้ำออกไปทั้งสิ้นประมาณ 90 ลบ.ม.ต่อวินาที

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. พงศ์ธร เพียรพิทักษ์, พงศ์ธร เพียรพิทักษ์, ธัญภัค พงษ์สุรพิพัฒน์ และบัณฑิต อนุรักษ์ (2550). การศึกษาพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมและดินถล่มของประเทศไทย. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 45: สาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ สาขาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, หน้า 714-721
2. ปรียาพร โกษา (2558). การประเมินพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วมด้วยแบบจำลอง MIKE FLOOD. รายงานการวิจัยงบประมาณอุดหนุนการวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ปีงบประมาณ 2558
3. ศรีศักดิ์ ผลานิสงค์ (2559). การวิเคราะห์เชิงพื้นที่ในการลดความเสี่ยงน้ำท่วม ในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำน่านตอนบน จังหวัดน่าน. การค้นคว้าอิสระวิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมและการบริหารการก่อสร้าง บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
4. ลิขิต น้อยจ่ายสิน (2559). การประยุกต์ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อประเมินพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วมในจังหวัดสระแก้ว. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา. ปีที่ 21, ฉบับที่ 1 (ม.ค.-เม.ย. 2559), หน้า 51-63.
5. ประเสริฐ มหากิจ (2552). การเตือนภัยน้ำท่วมชุมชนเมืองนครศรีธรรมราชด้วยวิธีนิวโรเจเนติก. การค้นคว้าอิสระวิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
6. เกษม ไกรสีกาจ (2548). การศึกษาสภาพอุทกวิทยาของลุ่มน้ำน่านโดยใช้แบบจำลองคณิตศาสตร์ HEC-HMS. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต หลักสูตรวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
7. วรายา สุกแสงฉาย (2557). การศึกษาการเปลี่ยนแปลงค่าพารามิเตอร์น้ำฝน-น้ำท่าของแบบจำลองคณิตศาสตร์ HEC-HMS ในลุ่มน้ำภาคตะวันออก. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต หลักสูตรวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
8. พัฒนศักดิ์ แสนมาตย์ (2550). การศึกษาคุณลักษณะทางอุทกวิทยาของลุ่มน้ำยม โดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ HEC-HMS. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต หลักสูตรวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
9. Nareth Nut (2013). Determination of flooding on Nam Pong River by HEC-RAS. A THESIS FOR THE DEGREE OF MASTER OF ENGINEERING KHON KAEN UNIVERSITY
10. สุดารัตน์ ภิรมย์ (2554). การจำลองสภาพน้ำท่วมด้วยแบบจำลอง HEC-RAS และระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อบรรเทาอุทกภัยในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างโดยใช้แก้มลิง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
11. US Army Crops of Engineers Hydrologic Engineering Center (2000). Hydrologic Modeling System HEC-HMS Technical Reference Manual. Approved for Public Release. Distribution Unlimited.
12. US Army Corps of Engineers Hydrologic Engineering Center (2016). HEC-RAS River Analysis System Hydraulic Reference Manual Version 5.0. Approved for Public Release. Distribution Unlimited.