การศึกษาผลกระทบของฝุ่นบนแผงเซลล์แสงอาทิตย์ต่อการผลิตไฟฟ้า

Main Article Content

นิพนธ์ เกตุจ้อย
มรุพงศ์ กอนอยู่

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ศึกษาผลกระทบของฝุ่นที่ตกสะสมบนแผงเซลล์แสงอาทิตย์ซึ่งส่งผลต่อการผลิตไฟฟ้าของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ภายใต้สภาวะอากาศจริงในช่วงเดือนมกราคม-เมษายน ปี 2555 ที่ติดตั้ง ณ วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยทำการเก็บข้อมูลเป็นระยะเวลา 4 เดือน และนำผลที่ได้ไปคำนวณเทียบกับสภาวะอากาศที่มาตรฐาน จากการศึกษาพบว่าปริมาณฝุ่นบริเวณสถานที่ติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์ พบว่าในระยะเวลา 7 , 14 , 30 และ 60 วัน มีปริมาณฝุ่นเฉลี่ย 55 , 144 , 260 และ 426มิลลิกรัมต่อตารางเมตรต่อวัน ตามลำดับ การส่องผ่านแสงของฝุ่นที่สะสมบนกระจกนิรภัยเทมเปอร์พบว่า ปริมาณฝุ่นส่งผลให้การส่องผ่านแสงลดลง โดยที่ปริมาณฝุ่น 30 และ 60 วันส่งผลให้การส่องผ่านแสงลดลงร้อยละ 3.71 และ 11.15 ตามลำดับ และฝุ่นที่ตกสะสมอยู่บนแผงเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดซิลิกอนอสัณฐานสัณฐาน พบว่าในระยะเวลา 30 และ 60 วัน กระแสไฟฟ้าลัดวงจรลดลงจาก 1.21 แอมแปร์ เหลือ 1.20 แอมแปร์ และ 1.08 แอมแปร์ ตามลำดับ กระแสไฟฟ้าสูงสุดลดลงจาก 0.93 แอมแปร์เหลือ0.93 และ 0.85 แอมแปร์ ตามลำดับ และมีกำลังไฟฟ้าสูงสุดลดลงจาก 41.79 วัตต์ เหลือ 40.58 วัตต์ และ 36.61 วัตต์ตามลำดับซึ่งกำลังไฟฟ้าลดลงคิดเป็นร้อยละ 3.50 และ 7.28 ตามลำดับ ฝุ่นที่ตกสะสมอยู่บนแผงเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดผลึกเดี่ยวซิลิกอนพบว่าในระยะเวลา 30 และ 60 วัน กระแสไฟฟ้าลัดวงจรลดลงจาก 4.57 แอมแปร์ เหลือ 4.46 แอมแปร์ และ 4.24 แอมแปร์ ตามลำดับ กระแสไฟฟ้าสูงสุดลดลงจาก 3.78 แอมแปร์ เหลือ 3.70 แอมแปร์ และ 3.54 แอมแปร์ ตามลำดับ และมีกำลังไฟฟ้าสูงสุดลดลงจาก 47.99 วัตต์ เหลือ 46.86 วัตต์ และ 44.23 วัตต์ ตามลำดับ ซึ่งกำลังไฟฟ้าลดลงคิดเป็นร้อยละ 2.96 และ 5.79 ตามลำดับและฝุ่นที่ตกสะสมอยู่บนแผงเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดผลึกผสมซิลิกอน พบว่าในระยะเวลา 30 และ 60 วัน กระแสไฟฟ้าลัดวงจรลดลงจาก 8.04 แอมแปร์ เหลือ 7.94 แอมแปร์ และ 7.69 แอมแปร์ ตามลำดับ กระแสไฟฟ้าสูงสุดลดลงจาก 6.20 แอมแปร์ เหลือ6.07 แอมแปร์ และ 5.79 แอมแปร์ ตามลำดับ และมีกำลังไฟฟ้าสูงสุดลดลงจาก 85.87 วัตต์ เหลือ 82.67 วัตต์ และ 77.67 วัตต์ตามลำดับ ซึ่งกำลังไฟฟ้าลดลงคิดเป็นร้อยละ 2.83 และ 6.03 ตามลำดับ

คำสำคัญ: ฝุ่น แผงเซลล์แสงอาทิตย์ การผลิตไฟฟ้า

 

Abstract

This research investigated the effect of dust on a photovoltaic module (PV) under operating conditions from January - April2012, installed at the School of Renewable Energy (SERT), Naresuan University. Data were collected for a period of four months. The accumulated dust was from 7, 14, 30 and 60 days with an average dust concentration of 55, 144, 260 and426 milligram per square meter per day. Transmission of solar irradiance on tempered glass was from 30 and 60 days and reduced 3.71 and 11.15 percent. It was found that the dust effect on PV type amorphus silicon (a-Si) resulted in a short circuit current decreasing from 1.21 to 1.20 and 1.08 Ampere , maximum current decreased from 0.93 to 0.93and 0.85 Ampere , power decreased from 41.79 to 40.58 and 36.61 watts , power reduction was 3.50 and 7.28 percent.,the dust effect on PV type mono-crystalline silicon (m-Si) has resulted in short circuit current decreasing from 4.57 to 4.46 and 4.24 Ampere , maximum current decreased from 3.78 to 3.70 and 3.54 Ampere , power decreased from 47.99 to 46.86 and 44.23 watts , power reduction was 2.96 and 5.79 percent , and the dust effect on PV type poly-crystalline silicon (p-Si) has resulted in short circuit current decreasing from 8.04 to 7.94 and 7.69 Ampere,maximum current decreased from 6.20 to 6.07 and 5.79 Ampere , power decreased from 85.87 to 82.67 and 77.67watts , power reduction was 2.83 and 6.03 percent.

Keywords: Dust, Photovoltaic, Power Generation

Article Details

บท
Original Articles