การกำจัดนํ้ามันดินของไม้ยูคาลิปตัสในกระบวนการแก๊สซิฟิเคชันแบบแก๊สไหลลง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
งานวิจัยเพื่อหาแนวทางกำจัดนํ้ามันดิน (Tar) ที่ปนเปื้อนในแก๊สผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการแก๊สซิฟิเคชันแบบแก๊สไหลลงโดยใช้ไม้ยูคาลิปตัสเป็นวัตถุดิบ แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่หนึ่งเป็นการทดลองกำจัดนํ้ามันดินโดยการปรับอัตราการไหลของอากาศในระดับที่ต่างกัน ส่วนที่สองเป็นการทดลองใช้ไม้ยูคาลิปตัสผสมกับถ่าน, โซเดียมคาร์บอเนตและอะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์เป็นวัตถุดิบ ทำการเก็บข้อมูลแก็สองค์ประกอบ เช่นมีเทน, ไฮโดรเจน, คาร์บอนมอนออกไซด์ และปริมาณนํ้ามันดินที่ปนเปื้อนในแก็สผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากกระบวนการแก๊สซิฟิเคชัน แล้วนำไปเปรียบเทียบกับข้อมูลที่ได้จากกระบวนการแก๊สซิฟิเคชันที่ใช้ไม้ยูคาลิปตัสเป็นวัตถุดิบเพียงอย่างเดียว การทดลองพบว่าการใช้ไม้ผสมกับถ่านทำให้ปริมาณแก๊สองค์ประกอบและปริมาณนํ้ามันดินสูงขึ้น การใช้อะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์จะให้ปริมาณแก๊สองค์ประกอบและนํ้ามันดินลดลง ส่วนการใช้โซเดียมคาร์บอเนตทำให้ปริมาณนํ้ามันดินลดลง โดยไม่ทำให้องค์ประกอบของแก๊สผลิตภัณฑ์เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ
คำสำคัญ: แก๊สซิไฟเออร์แบบแก๊สไหลลง ไม้ยูคาลิปตัส นํ้ามันดิน
Abstract
Mitigating tar produced by gasifying Eucalyptus wood via a downdraft gasification process was under investigation. The study is divided into two parts, part one, mitigation of tar by controlling flow rate of the inlet air fed into the gasification and part two, selecting a suitable material to mix with the wood. Different materials: bio-char, sodium carbonate and aluminum hydroxide were mixed with the wood and effects of the materials were compared. Contents of tar,methane, hydrogen and carbon monoxide were recorded and compared with the blank experiment (only Eucalyptus).Results from the gasification of Eucalyptus wood with bio-char increased both the volumes of gases and tar. Aluminum hydroxide reduced both the volume of tar and gas produced. Sodium carbonate showed the best results for reduction of tar with no significant change of gas produced.
Keywords: downdraft gasifier, eucalyptus, tar