ความชุกของปรสิตในลำไส้คนบ้านปางสา อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย

Main Article Content

ชไมพร ฟักรักษา
อภินันท์ ลิ้มมงคล
ธนากร วัชรสุภัทร
ระพี ธรรมมีภักดิ์
วรานันท์ ยศปัญญา
ทัชชา ยิ้มถิน
วีระญา เอี่ยมสะอาด
อภิชาติ วิทย์ตะ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความชุกของการติดเชื้อพยาธิของคนในบ้านปางสา อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัยในช่วงเดือนมีนาคม ปีพุทธศักราช 2554 เก็บตัวอย่างอุจจาระจาก 80 คน อายุของประชากรที่ได้รับการตรวจตั้งแต่ 4-80 ปีตรวจหาพยาธิด้วยวิธีการตรวจแบบง่าย แล้วยืนยันผลด้วยวิธีเข้มข้น formalin-ethyl acetate concentration technique ผลการศึกษาพบว่ามีความชุกของโรคพยาธิในลำไสน 8.75 เปอร์เซ็นต์ พยาธิๆที่พบได้แก่ พยาธิเส้นด้าย (Strongyloides stercoralis) และพยาธิใบไม้ลำไส้ขนาดเล็ก พบได้ถึง 5 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ความชุกของพยาธิตืดพบเพียง 1.25 เปอร์เซ็นต์ พบอัตราการติดพยาธิในเพศชาย (13.88 เปอร์เซ็นต์) สูงกว่าการติดพยาธิในเพศหญิง (4.55 เปอร์เซ็นต์) ผู้ที่ติดพยาธิทุกรายได้รับการรักษาด้วยยาฆ่าพยาธิและให้สุขศึกษา นอกจากนี้ยังมีการตรวจหาไข่พยาธิเข็มหมุดในเด็กด้วยเทคนิคเทปใส พบว่า 27 จาก 58 คน(46.55 เปอร์เซ็นต์) ติดพยาธิเข็มหมุด พบอัตราการติดพยาธิเข็มหมุดสูงสุดในช่วงอายุ 1-4 ขวบ (83.33 เปอร์เซ็นต์) การศึกษาในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าโรคพยาธิเข็มหมุดมีความชุกสูง ควรมีการรักษาแบบให้ยาทุกคน

คำสำคัญ: พยาธิเข็มหมุด พยาธิเส้นด้าย พยาธิใบไม้ลำไส้ขนาดเล็ก พยาธิตืด จังหวัดสุโขทัย

 

Abstract

The objective of this study was to determine the prevalence of parasitic infections in people of Ban Pang Sa, Si Satchanalai District, Sukhothai Province during March 2011. Eighty fecal samples were collected, examined by simple smear technique and confirmed by formalin-ethyl acetate concentration technique. The age of the population examined ranged from 4 to 80 years. It was found that the overall prevalence of intestinal parasitosis was 8.75%.Different species of intestinal parasites were found; Strongyloides stercoralis and minute intestinal fluke (MIF) was the most common parasite (5.00%), whereas Taenia spp. had a prevalence of 1.25%. Regarding the gender of the infected individuals, infection rate in males (13.88%) was higher than females (4.55%). The highest infection rate was 25.00% in the 21-30 age group. All infected cases were treated with anti-helminthic drug and health educated.In addition, the cellophane tape technique was used for isolating pinworm eggs in schoolchildren. It was found that 27 out of 58 children (46.55%) were positive. The highest infection rate (83.33%) was found in 1-4 age group. In the present study, high prevalence of enterobiasis was demonstrated. This suggests that the mass treatment to control this infection is needed in the study area.

Keywords: Enterobius vermicularis, Strongyloides stercoralis, Minute intestinal fluke (MIF), Taenia, Sukhothai Province

Article Details

บท
Original Articles