ผลของโปรแกรมประยุกต์การเฝ้าระวังตนเองทางทันตสุขภาพร่วมกับการดูแลโดยกลุ่ม เพื่อนต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุในตำบลสระบัว อำเภอปทุมรัตต์จังหวัดร้อยเอ็ด

Main Article Content

ประภัสสร ลือโสภา
บัววรุณ ศรีชัยกุล
สุริยา รัตนปริญญา

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

ปัญหาสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุส่วนหนึ่งเกิดจากการปฏิบัติตัวไม่ถูกต้องในเรื่องการดูแลช่องปากของตนเอง แนวทางการแก้ไขคือการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีการเฝ้าระวังตนเองทางทันตสุขภาพ และการจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุในชุมชนเพื่อใช้กลุ่มเพื่อนในการช่วยแก้ไขปัญหา การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลของโปรแกรมประยุกต์การเฝ้าระวังตนเองทางทันตสุขภาพร่วมกับการดูแลโดยกลุ่มเพื่อนต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดูแลทันตสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่าง คือสมาชิกชมรมผู้สูงอายุตำบลสระบัว อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 77 คน แบง่ เปน็ กลุม่ ทดลอง 37 คน กลุม่ เปรียบเทียบ 40 คนโดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการทดลอง ได้แก่ การสอนประกอบภาพพลิก โปสเตอร์ ตัวแบบ การสาธิต การฝึกปฏิบัติ และกิจกรรมกลุ่มการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างกลุ่มเพื่อนในชมรม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมเฝ้าระวังตนเองทางทันตสุขภาพและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ คือร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Independent t-test และ Paired t-test

ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังที่ได้ดำเนินกิจกรรมตามโปรแกรมที่พัฒนาขึ้น กลุ่มทดลองมีการเปลี่ยนแปลง ด้านการรับรู้ความสามารถตนเอง ด้านความคาดหวังในผลลัพธ์ต่อการปฏิบัติตัว และการปฏิบัติตัวในการดูแลรักษาฟัน อยู่ในระดับสูงมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ผลการตรวจแผ่นคราบจุลินทรีย์ของกลุ่มทดลองมีจำนวนผู้มีแผ่นคราบจุลินทรีย์ลดลงมากกว่าก่อนการทดลอง

โดยสรุป การเฝ้าระวังตนเองทางทันตสุขภาพเป็นปัจจัยสำคัญในการดูแลทางทันตสุขภาพ โดยการเตือนตนเองให้ปฏิบัติตัวในการดูแลทันตสุขภาพที่ถูกต้องด้วยตนเองและการเฝ้าระวังทันตสุขภาพด้วยการติดตามการเกิดโรคในช่องปากให้สามารถพบรอยโรคตั้งแต่ระยะเริ่มแรกเพื่อการป้องกันและควบคุมได้ทันท่วงที ร่วมกับการดูแลจากกลุ่มเพื่อนในชมรมผู้สูงอายุโดยมีกิจกรรมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างสมาชิก และการใช้สื่อร่วมกับการนำเสนอที่ทำให้เห็นภาพจริงและเข้าใจง่ายตามวิถีชีวิตชุมชน จะส่งผลให้มีการพัฒนางานด้านทันตสาธารณสุขในกลุ่มผู้สูงอายุได้ดีขึ้น

คำสำคัญ : ผู้สูงอายุ การเฝ้าระวังตนเองทางทันตสุขภาพ

 

Abstract

Oral health of the ederlys always includes sufficient proper dental self-care. An active dental health care program involves dental health surveillance and promotion and the establishment of an effective Dental Self-care Elderly Community Club. This quasi-experiment aimed to study the effects of the application for dental health surveillance programs with Peer Group Care and Modification of the Dental Self care for Elderlyin Sabua Subdistrict, Pathumrat District, Roi-et Province. The samples of this study consisted of 77 elderly in the Club,37 in the experimental group and 40 in the comparison group. The experimental group had setup the application for a dental health surveillance program with Peer Group Care which included teaching by lecture sheets, posters, demonstrations, practices and group activities, and sharing dental self-care experiences in a peer group. The method used was a dental health surveillance program, and data collecting was by interview questionnaires. This data were analyzed by using percentage, mean, standard deviation; Independent t-test and Paired t-test for testing hypotheses.

The result revealed that after the experiment the experimental group gained self-efficacy. The expected results of the performance and practices in dental self care was at a high level, which was higher than the comparison group with a statistical significant difference atp-value < 0.05. The outcome in the number of those in the experimental group that were able to reduce the amount of dental plaque was larger than before the experiment.

Keywords : elderly, dental health surveillance

Article Details

บท
Original Articles