บทบาททางสรีรวิทยาของสารรบกวนการทำงานของฮอร์โมนอีควอลและผลกระทบต่อสุขภาพ

Main Article Content

มัลลิกา สระศรี
ประยุกต์ ศรีวิไล
พนิดา เล้าชาญวุฒิ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

อีควอลเป็นหนึ่งในสารเมแทบอไลท์หลักของดาอิดเซอิน ซึ่งเป็นไอโซฟลาโวนชนิดหลักที่พบมากในถั่วเหลือง ปัจจุบันพบว่าอีควอลจัดเป็นสารรบกวนการทำงานของฮอร์โมน เนื่องจากอีควอลสามารถจับอย่างจำเพาะเจาะจงกับตัวรับฮอร์โมนเอสโตรเจนได้ทั้งชนิดอัลฟาและบีตา ทำให้สามารถออกฤทธิ์เป็นได้ทั้งคล้ายหรือต้านฤทธิ์ของฮอร์โมนเอสโตรเจน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับความเข้มข้นที่ใช้ ทั้งในสภาวะนอกและสภาวะในร่างกาย อีกประเด็นที่น่าสนใจคืออีควอลยังสามารถออกฤทธิ์ต้านฮอร์โมนแอนโดรเจนโดยแย่งจับกับตัวรับฮอร์โมนแอนโดรเจนและเข้าจับอย่างจำเพาะกับฮอร์โมนไดไฮโดรเทสโทสเทอโรน นอกจากนี้อีควอลยังมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระและลดระดับไขมันในซีรั่ม จากกลไกการออกฤทธิ์ทางชีวภาพในลักษณะดังกล่าวทำให้มีการวิจัยถึงความเป็นไปได้อย่างต่อเนื่องในการนำอีควอลมาใช้ประโยชน์ในการแพทย์ทางเลือกเพื่อป้องกันหรือรักษาโรคที่เกิดขึ้นเนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนและฮอร์โมนแอนโดรเจน รวมทั้งช่วยป้องกันและลดอุบัติการณ์การเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อรวบรวมและทบทวนงานวิจัยต่างๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับแหล่งที่มา ฤทธิ์และกลไกการออกฤทธิ์ทางชีวภาพและบทบาททางสรีรวิทยาของอีควอลต่อสุขภาพทั้งของมนุษย์และสัตว์ ซึ่งความรู้ที่ได้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งทั้งต่อแพทย์และผู้ป่วยในแง่ของการตัดสินใจนำอีควอลไปใช้ประโยชน์ในการแพทย์ทางเลือกได้อย่างมั่นใจและปลอดภัยต่อสุขภาพโดยรวม

คำสำคัญ: ไอโซฟลาโวนในถั่วเหลือง ฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน ฤทธิ์ต้านฮอร์โมนเอสโตรเจน ฤทธิ์ต้านฮอร์โมนแอนโดรเจนฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ มะเร็งที่เกี่ยวเนื่องกับฮอร์โมนเพศ โรคหลอดเลือดหัวใจ

 

Abstract

Equol is a major bioactive metabolite of the principal soy isoflavone daidzein. Recently, it has been found that equolacts as an endocrine disruptor due to its ability to specifically bind to estrogen receptor both subtypes alpha and beta,and exerts either estrogenic or anti-estrogenic actions depending on the dose applied in both in vitro and in vivo assays. Of particular interest are the findings that equol has also anti-androgenic properties because it can compete with 5α-dihydrotestosterone (DHT) for binding to androgen receptor, and thereby preventing the biological effects of DHT. In addition, equol possesses anti-oxidizing and serum lipid-lowering effects. Due to the mechanisms of action as mentioned above, many research studies have been performed on the potential use of equol in alternative medicine therapy for prevention and treatment of estrogen- and androgen-dependent diseases, and additionally prevention and reduction of the cardiovascular disease incidence. This review article is an attempt to compile and explore the scientific and medical evidences related to source, biological activity and mechanisms of action, and physiological roles of equol in both human and animal health. The obtained knowledge would be useful for the physicians and patients to decide with full confidence for utilizing equol as an alternative endocrine-active chemical with safety for overall health.

Keywords: soy isoflavones, estrogenic effect, anti-estrogenic effect, anti-androgenic effect, anti-oxidizing effect, sexhormone-dependent cancers, cardiovascular disease

Article Details

บท
Academic Articles