การศึกษาแคริโอไทป์ของกบห้วยขาปุ่มเหนือ (Limnonectes taylori) ในจังหวัดเชียงใหม่ของประเทศไทย

Main Article Content

อิสสระ ปะทะวัง

บทคัดย่อ

การศึกษาแคริโอไทป์และอิดิโอแกรมของกบห้วยขาปุ่มเหนือ (Limnonectes taylori) ในภาคเหนือของประเทศไทย เก็บตัวอย่างจากจังหวัดเชียงใหม่ เตรียมโครโมโซมโดยวิธีตรงจากไขกระดูก ย้อมสีโครโมโซมแบบธรรมดาด้วยสีจิมซ่า 20 เปอร์เซ็นต์ เพื่อศึกษาจำนวน รูปร่าง และขนาดของโครโมโซม ผลการศึกษาพบว่ากบห้วยขาปุ่มเหนือมีจำนวนโครโมโซมดิพลอยด์ (2n) เท่ากับ 22 แท่ง มีจำนวนโครโมโซมพื้นฐาน (NF) เท่ากับ 44 ทั้งในเพศผู้และเพศเมีย แคริโอไทป์ประกอบด้วยโครโมโซมชนิดเมทาเซนทริกขนาดใหญ่ 10 แท่ง เมทาเซนทริกขนาดกลาง 4 แท่ง และเมทาเซนทริกขนาดเล็ก 8 แท่ง ไม่สามารถจำแนกความแตกต่างของโครโมโซมเพศได้ กบห้วยขาปุ่มเหนือมีสูตรแคริโอไทป์ คือ


2n (22) = Lm10+Mm4+Sm8

Article Details

บท
Original Articles

References

1. ธวัช ดอนสกุล และอัจฉริยา รังษิรุจิ. คาริโอไทป์ของเซลล์ตับในกบภูเขา เขียดบัว เขียดกาญจนบุรี เขียดน้ำนอง และอึ่งเพ้า. ใน: เอกสารการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 43 สาขาสัตวแพทยศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ; 2548. หน้า 544-551.
2. สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ. บัญชีรายการทรัพยากรชีวภาพสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน); 2559. หน้า 165-233.
3. Shanthi PA, Singh P, Barh D, Venkatachalaiah G. Comparative karyology based systematics of Euphlyctis hexadactylus and E. cyanophlyctis. International Journal of Integrative Biology 2009;9(1):6-9.
4. Kour P, Tripath NK, Poonam I, Jangral S. Karyological analysis of Indian skittering frog, Euphlyctis cyanophlyctis from Jammu and Kashmir (India). International Journal of Recent Scientific Research 2015;6(2):2719-2724.
5. Joshy SH, Kuramoto M. Comparative chromosome studies of five species of the genus Fejervarya (Anura: Ranidae) from South India. Cytologia 2008;73(3):243-250.
6. Patawang I, Tanomtong A, Phimphan S, Chuaynkern Y, Chuaynkern C, Phaengphairee PH, Khrueanet W, Nithikulworawong N. The identification of sex-chromosomes and karyological analysis of Rice frog, Fejervarya limnocharis (Anura, Ranidae) from Northeast Thailand. Cytologia 2014;79(2):141-150.
7. Suttichaiya A, Khammanichanh A, Patawang I, Sriuttha M, Tanamtong A, Neeratanaphan L. Chromosome aberrations of East asian bullfrog (Hoplobatrachus rugulosus) around a gold mine area with arsenic contamination. EnvironmentAsia 2016;9(1):60-69.
8. Saba N, Tripathi N. Preliminary cytogenetic study and report of ZZ/ZW sex chromosomes in the bullfrog, Hoplobatrachus tigerinus (Anura, Amphibia) from high altitude area of Jammu and Kashmir, India. Nucleus 2014;57(1):55-59.
9. อลงกลด ทนออมทอง กฤษณ์ ปิ่นทอง และ อิสสระ ปะทะวัง. พันธุศาสตร์ระดับเซลล์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2562.หน้า 492-505.