ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้หมวกนิรภัยในนักศึกษาสาขาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก

Main Article Content

kukiet konkaew

บทคัดย่อ

การวิจัยความสัมพันธ์เชิงสาเหตุครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้หมวกนิรภัยและหาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้หมวกนิรภัย กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยนี้ ได้แก่นักศึกษาสาขาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 422 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ได้ค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือเท่ากับ 0.94 ผลการวิจัยพบว่านักศึกษาสวมหมวกนิรภัยขณะขับขี่หรือซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์เป็นบางครั้งมากที่สุดร้อยละ 66.4 ด้านปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสวมหมวกนิรภัยในนักศึกษาพบว่าโมเดลมีความสอดคล้องเชิงประจักษ์ Chi-square = 227.64, df = 200, Chi-square/df  = 1.138, P-value = 0.08754, SRMR = 0.038, GFI = 0.99, AGFI = 0.98 และ RMSEA = 0.018 ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมการสวมหมวกนิรภัยของนักศึกษา ได้แก่ ความตั้งใจในการปฏิบัติพฤติกรรม และทัศนคติต่อพฤติกรรม ด้วยขนาดอิทธิพลเส้นทางเท่ากับ 0.47 และ -0.45 ตามลำดับ โดยตัวแปรทั้ง 2 ตัว สามารถทำนายพฤติกรรมการสวมหมวกนิรภัยของนักศึกษาได้ร้อยละ 64 (R2 = 0.64) ส่วนตัวแปรที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อพฤติกรรมการสวมหมวกนิรภัยของนักศึกษา ผ่านตัวแปรความตั้งใจในการปฏิบัติพฤติกรรม ได้แก่ ทัศนคติต่อพฤติกรรม การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมการสวมหมวกนิรภัย และการคล้อยตามบุคคลอ้างอิง และยังมีตัวแปรการรับรู้ความสามารถของตนเอง และการคล้อยตามบุคคลอ้างอิงที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อพฤติกรรมการสวมหมวกนิรภัยของนักศึกษาส่งผ่านทัศนคติต่อพฤติกรรม

Article Details

บท
Original Articles

References

1. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. พจนานุกรรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. [อินเทอร์เน็ต]. 2554 [เข้าถึงเมื่อ 12 ธันวาคม 2560]; เข้าถึงได้จาก http://www.royin.go.th/dictionary/.
2. World Health Organization. Global status report on road safety 2013. [Internet]. 2013 [cited December 12 2017]; Available from: http://www.who.int/violence_injury_prevention road_safety_status/2013/en/.
3. องค์การอนามัยโลก. รายงานสถานการณ์โลกด้านความปลอดภัยทางถนน พ.ศ.2558. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 12 ธันวาคม 2560]; เข้าถึงได้จาก https://www.afro.who.int/sites/default/files/2017-6/summary%20thailand.pdf.
4. ณัฐบดี วิริยาวัฒน์, สุรชาติ สินวรณ์. พฤติกรรมการใช้หมวกนิรภัยในการป้องกันอุบัติเหตุของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต. Journal of Food Health and Bioenvironmental Science 2556;5(2):65-88.
5. พอใจ พัทธนิตย์ธรรม, ศิริพร คำสะอาด. การปฏิบัติตามกฎจราจรของนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น 2548;10(2):163-173.
6. ชีติพัทธ์ ขอนพิกุล, นภดล กรประเสริฐ, ปรีดา พิชญาพันธ์. การเปรียบเทียบทัศนคติและพฤติกรรมด้านความปลอดภัยสำหรับผู้ที่ขับขี่จักรยานยนตร์ในมหาวิทยาลัย. ใน: การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 20. 2558. หน้า 1-5.
7. Ajzen I. The theory of planned behavior. Organizational Behavior and Human Decision Processes, 1991;50(2):179-211.
8. Ross LT, Ross TP, Farber S, Davidson C, Trevino M, Hawkins A. The theory of planned behavior and helmet use among college students. American journal of health behavior 2011;35(5):581-590.
9. Adnan M, Gazder U. Investigation of helmet use behavior of motorcyclists and effectiveness of enforcement campaign using CART approach. IATSS Research 2019; In press.
10. Suwannaporn S. Knowledge, attitude, and practice toward helmet use among motorcycle rider and passenger in Ratchaburi Province, Thailand Doctoral dissertation, Chulalongkorn University; 2011.
11. Ali M, Saeed MMS, Ali MM, Haidar N. Determinants of helmet use behaviour among employed motorcycle riders in Yazd, Iran based on theory of planned behaviour. Injury 2011;42(9):864-869.
12. ปัทมา สุพรรณกุล, วัชรี ศรีทอง. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของพระสงฆ์ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตภาคเหนือตอนบน ประเทศไทย. วารสารพฤติกรรมศาสตร์ 2558;21(1):95-110.
13. Shruthi MN, Meundi AD, Sushma D. Determinants of helmet use among health-care providers in urban India: Leveraging the theory of planned behavior. Journal of education and health promotion 2019; 8(1):24-36.
14. Kumphong J, Satiennam T, Satiennam W. A Study of Social Norms and Motorcycle Helmet Use Intentions among Student Riders in University: A comparison of the Theory of Reasoned Action and the Theory of Planned Behavior. In Proceedings of the 12th Eastern Asia Society for Transportation Studies; 2017 Sep; Ho Chi Minh City, Vietnam; 2017. P.1-15.
15. Trinh TA, Le TPL. Motorcycle helmet usage among children passengers: Role of parents as promoter. Procedia engineering 2016;142:10-17.
16. O'Callaghan FV, Nausbaum S. Predicting bicycle helmet wearing intentions and behavior among adolescents. Journal of Safety Research 2006;37(5):425-431.
17. Ahmed MB, Ambak K, Raqib A, Sukor NS. Helmet usage among adolescents in rural road from the extended theory of planned behaviour. Journal of Applied Sciences 2013;13(1):161-166.