การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจากเอ็มบริโอของบัวหลวงชมพูและบัวหลวงขาวและการตรวจสอบความไวต่อรังสีแกมมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจากเอ็มบริโอของบัวหลวงชมพูและบัวหลวงขาว และ 2) ตรวจสอบความไวต่อรังสีแกมมาของต้นอ่อนบัวหลวงชมพูและบัวหลวงขาวที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ โดยนำเมล็ดบัวหลวงทั้ง 2 ชนิด มาทำให้ปลอดเชื้อด้วยวิธีการเผา แล้วทำการแยกเฉดสีของเอ็มบริโอโดยเทียบกับแม่แบบเฉดสีมาตราฐาน RAL (German Reichs –Ausschuβ far Lieferbedingungen and Gatesicherung) ได้เป็น 4 กลุ่ม คือ Fern green, Yellow green, May green และ Leaf green หลังจากเพาะเลี้ยงเอ็มบริโอบนอาหาร MS เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ทำการวัดการเจริญเติบโตของต้นอ่อน พบว่าความยาวก้านใบกับจำนวนรากของต้นอ่อนบัวหลวงชมพูและบัวหลวงขาวที่ได้จากเอ็มบริโอเฉดสีต่างๆ ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ และต้นอ่อนทั้งหมดมีจำนวนยอด 1 ยอด/ต้น จึงทำการเททับด้วยอาหารเหลวสูตร BA ที่ระดับความเข้มข้น 3 มิลลิกรัมต่อลิตร แล้วเพาะเลี้ยงต่อเป็นเวลา 8 สัปดาห์ จากนั้นนำต้นอ่อนของบัวหลวงทั้ง 2 ชนิดไปฉายรังสีแกมมาที่ 0, 20, 30 และ 40 เกรย์ แล้วเพาะเลี้ยงต่อในอาหาร MS เป็นเวลา 4 สัปดาห์ นำข้อมูลการรอดชีวิตของต้นอ่อนมาวิเคราะห์ด้วยวิธี probit พบค่า LD50 ของบัวหลวงชมพูและบัวหลวงขาวมีค่าเท่ากับ 36.99 เกรย์ และ 35.34 เกรย์ ตามลำดับ
Article Details
References
2. นพชัย ชาญศิลป์. เทคนิคผสมบัวพันธุ์ใหม่ ปั้นแต่งโฉมป้อนตลาดโลก. ไทยรัฐ 7 เมษายน 2560.
3. สวนบัวฟ้า. ราคาบัวหลวง. ได้จาก: https://www. buafahgarden.com/category/25853.
4. วิชัย ภูริปัญญวานิช. การเพาะเลี้ยงคัพภะของ บัวหลวง 2 ชนิด (Nelumbo nucifera และ N.lutea).วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพืชสวน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์: 2543.
5. สุภาณี และสายัณห์. การใช้เครื่องมือ SPAD-502 เพื่อประเมินปริมาณครอโรฟิลล์รวมและไนโตรเจนในใบของลองกองและเงาะ. ว.สงขลาครินทร์ วทท. 2545;24(1): 9-14
6. McGaw,B.A. Plant hormones and there role in plant development. Dordrecht: Martinus Nihoff Publishers; 1987.P.76-93 (New York State college of agriculture and life sciences; voll 28)
7. Brock,T.G. and P.B. Kaufman. Growth regulato-
rs: an account of hormones and growth regula-
tion. London: Acadamic Press Inc; 1991. P. 277-340. (Growth and Development; voll 88)
8. ไซนีย๊ะ ละมะ. การชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ในบัวหลวงสายพันธุ์บุณฑริก (Nelumbo nucifera Gaerth.) โดยการฉายรังสีแกมมา. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพฤกษศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์: 2549
9. Arunyanart, S. and Sootronyatara, S. Mutation. induction by γ and x-ray irradiation in tissue cultured Lotus. Plant cell Tissue and Organ Cultur. PCTOC. 2002;70(1): 119-122
10. Jan S, Parween T, Siddiqi To, Mahmooduzza- far. Effects of persowing gamma irradiation on the photosynthetic pigments, sugar content and carbon gain of Cullen corylifolium (L.) Medik. Chl J. 2013; 73(1): 343-50.
11. Wi SG, Chung BY, Kim JH, Baek MH, Lee JW, Kim YS. Effects of gamma irradiation on morp-
gological changes and biological responses in plants. Micron. 2007; 38(1): 553-64.
12. Ismavhin M. Sejarah ilmu pemuliaan mutasi. Jakarta. Universitas Halu Oleo. 2016.
13. Esnault MA, Legue F, Chenal C. Ionizing radia-
tion: advances in plant response. London: Env-
iron Exp Bot. 2010 Sep 13;68(1): 231-7
14. สิรนุช ลามศรีจันทร์. การกลายพันธุ์ของพืช. พิมพ ครั้งที่ 2. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์. 2540.