คุณสมบัติของน้ำส้มควันจาก ต้นสะเดา ต้นยูคาลิปตัส ต้นข้าวโพด และใบมะม่วง

Main Article Content

jaruwan viroj

บทคัดย่อ

      งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองเพื่อศึกษาคุณสมบัติของน้ำส้มควันไม้จากต้นสะเดา ต้นยูคาลิปตัส ต้นข้าวโพด และใบมะม่วงที่ผลิตจากการเผาด้วยถังขนาด 200 ลิตรชนิดแบน และนำมาวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีด้วยเครื่องแก๊สโครมาโทกราฟี – แมสสเปกโตรเมทรี ผลการศึกษาพบว่าน้ำส้มควันไม้ทั้ง 4 ชนิดมีคุณสมบัติไปตามมาตรฐานของน้ำส้มควันไม้ที่มีคุณภาพดี  น้ำส้มควันไม้จากต้นสะเดาพบสารประกอบทั้งสิ้น  23 ชนิด  โดยพบ acetic acid มากที่สุด (44.43%) รองมาคือ formic acid (30.44%) น้ำส้มควันไม้จากต้นยูคาลิปตัสพบสารประกอบทั้งสิ้น 31  ชนิด  โดยพบ acetic acid มากที่สุด (39.94%) รองลงมาคือ peracetic acid (23.09%)  น้ำส้มควันไม้จากต้นข้าวโพด พบสารประกอบทั้งสิ้น 7 ชนิด  โดยพบ acetic acid มากที่สุด (53.72%) รองลงมาคือ peracetic acid (25.14%) และน้ำส้มควันไม้จากใบมะม่วงพบสารประกอบทั้งสิ้น 10 ชนิด  โดยพบ acetic acid มากที่สุด (43.30%) รองลงมาคือ formic acid (35.47%) สารที่พบในน้ำส้มควันไม้ทั้ง 4 ชนิดมีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และเชื้อไวรัส  ซึ่งสามารถนำไปพัฒนาเพื่อใช้ในการแพทย์ ปศุสัตว์ รวมถึงใช้ในการทำความสะอาดในครัวเรือน เพื่อลดการใช้ยาปฏิชีวนะในมนุษย์และสัตว์ และลดการใช้สารเคมีในครัวเรือน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. สุพรชัย มั่งมีสิทธิ์. คู่มือการผลิตถ่านคุณภาพสูงและน้ำส้มควันไม้เพื่อใช้ในครัวเรือน. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2551.
2. จารุวรรณ วิโรจน์, น้ำผึ้ง ดุงโคกกรวด. การพัฒนาคุณภาพน้ำส้มควันไม้ต่อการกำจัดมด. มหาสารคาม: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม2556.
3. กิตติกร สาสุจิตต์, นิกราน หอมดวง, ณัฐวุฒิ ดุษฎี. การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์น้ำส้มควันไม้เพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนของศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียง บ้านหนองไซ ตำบลป่าสัก จังหวัดลำพูน. Journal of Community Development and Life Quality. 2561;2(2):125-32.
4. Oluwole O, Cheke RA. Health and environmental impacts of pesticide use practices: a case study of farmers in Ekiti State, Nigeria. International journal of agricultural sustainability. 2009;7(3):153-63.
5. Damalas CA. Understanding benefits and risks of pesticide use. Scientific Research and Essays. 2009;4(10):945-9.
6. ขวัญชัย สมบัติศิริ. สะเดามิติใหม่ของการป้องกันและกำจัดแมลง. กรุงเทพ: ภาควิชากีฏวิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2540.
7. กรมป่าไม้. ยูคาลิปตัส (คามานดูแลนซิส). กรุงเทพ: กรมป่าไม้; 2540.
8. ระภาส วีระแพทย์. สารานุกรมสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพ: โครงการสารานุกรมสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว; 2553.
9. ยุวดี จอมพิทักษ์. มะม่วงสมุนไพรรักษา 11 โรค. กรุงเทพ: ธนบรรณปิ่นเกล้า; 2549.
10. Chao N, Thong HT, QuynhChau H, Tam V, Rui Z. Effects of charcoal and wood vinegar dietary supplementation to diarrhea incidence and faecal hydrogen sulfide emissions in pigs. Int J Sci Res Pub. 2016;6:707-13.
11. Nagoba B, Wadher B, Kulkarni P, Kolhe S. Acetic acid treatment of pseudomonal wound infections. Eur J Gen Med. 2008;5(2):104-6.
12. Chuaboon W, Ponghirantanachoke N, Athinuwat D. Application of wood vinegar for fungal disease controls in paddy rice. Applied Environmental Research. 2016;38(3):77-85.
13. Livestock. Formic acid. 2011 [cited 2019 16 July]; Available from: https://www.ams.usda.gov/sites/default/files/media/Formic%20Acid%20TR.pdf.
14. Al-Natour MQ, Alshawabkeh KM. Using varying levels of formic acid to limit growth of Salmonella gallinarum in contaminated broiler feed. Asian-australasian journal of animal sciences. 2005;18(3):390-5.
15. Anyasi T, Jideani A, Edokpayi J, Anokwuru C. Application of Organic Acids in Food Preservation. Organic Acids, Characteristics, Properties and Synthesis; Vargas, C, Ed. 2017:1-47.
16. Belsito DV, Klaassen CD, Liebler DC, Hill RA. Amended Safety Assessment of Formic Acid and Sodium Formate as Used in Cosmetics. 2013.
17. Kitis M. Disinfection of wastewater with peracetic acid: a review. Environment international. 2004;30(1):47-55.
18. Hushangi R, Hosseini Shekarabi S. Effect of a peracetic acid-based disinfectant on growth, hematology and histology of juvenile rainbow trout (Oncorhynchus mykiss). Fishes. 2018;3(1):10.