เวชกรรมพื้นบ้านในเอกสารใบลานอีสาน กรณีศึกษาโรคผิวหนัง

Main Article Content

ชินพัฒน์ เฉลิมรัมย์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการรวบรวม ตรวจสอบ และวิเคราะห์ข้อมูล จากเอกสารใบลานของจังหวัดสกลนครที่ได้รับการปริวรรตแล้วจำนวน 33 ผูก ร่วมกับการใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และแบบบันทึกข้อมูลการสนทนาในผู้ให้ข้อมูลหลัก ผลการศึกษาสามารถจำแนกกลุ่มโรคได้ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มความผิดปกติของผิวหนังและเนื้อเยื่อ และกลุ่มไข้ออกผื่น รวม 22 โรค รวบรวบตำรับยาได้ทั้งสิ้น 407 ตำรับ โรคที่รวบรวมตำรับยาได้มากที่สุดคือ ผื่นผิวหนังอักเสบ (Dermatitis) จำนวน 61 ตำรับ รวบรวมเภสัชวัตถุได้ทั้งสิ้น 454 ชนิด แบ่งเป็น พืชวัตถุ 389 ชนิด (พืช 385 ชนิดและเห็ด 4 ชนิด) สัตว์วัตถุ 48 ชนิด และธาตุวัตถุ 17 ชนิด โดยรสขมเย็นเป็นรสยาของพืชสมุนไพรที่มีการใช้มากที่สุด (31.44%) น้ำกระสายยาที่มีการใช้มากที่สุด คือ น้ำฝน วิธีการเตรียมยาที่นิยมใช้มากที่สุด คือ การฝนด้วยหิน (48.30%) และการกินเป็นวิธีการใช้ยาที่พบมากที่สุด (57.18%) ผลการศึกษาแสดงให้เห็นถึงองค์ความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์ตรงของหมอพื้นบ้านหรือได้เรียนรู้สืบทอดมา โดยมีแนวทางเวชปฏิบัติในการรักษาโรคผิวหนังแต่ละประเภทด้วยการใช้ตำรับยาสมุนไพรตามการวินิจฉัยจากสาเหตุและลักษณะอาการของโรค

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. วิญญู วงศ์วิวัฒน์. ภูมิปัญญาการรักษาโรคสะเก็ดเงินของหมอพื้นบ้านในจังหวัด สงขลา พัทลุง ตรัง และสตูล. ปริญญานิพนธ์การแพทย์แผนไทยมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์; 2556.
2. ดารณี อ่อนชมจันทร์. บรรณาธิการ. ภูมิปัญญาการ แพทย์พื้นบ้านอีสาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2549.
3. วิชัย โชควิวัฒน, สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ, ประพจน์ เภตรากาศ. รายงานการสาธารณสุขไทยด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2553.
4. ราชันย์ ภู่มา. สมราน สุดดี. บรรณาธิการ. ชื่อพรรไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันท์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช; 2557.
5. สมัย วรรณอุดร. แบบเรียนอักษรธรรมอีสาน: ฉบับปรับปรุง. พิมพ์ครั้งที่ 2. มหาสารคาม: อภิชาตการพิมพ์; 2557.
6. Hay RJ, Bendeck SE, Chen S, Estrada R, Had- dix A, McLeod T et al. Disease Control Priorities in Developing Countries. In: Jamison DT (Eds.), Skin Diseases (pp. 707-721). 2nd ed. New York: Oxford University Press; 1993.
7. Sharma J, Gairola S, Sharma YP, Gaur RD. Ethnomedicinal plants used to treat skin diseases by Tharu community of district Udham Singh Nagar, Uttarakhand, India. Journal of Ethnophar- macology 2014;158(PART A):140-206.
8. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. จำนวนผู้ป่วยนอก จำแนกตามกลุ่มสาเหตุป่วย 21 โรค จากสถานบริการ สาธารณสุข ของกระทรวงสาธารณสุข ทั่วราชอาณาจักร พ.ศ. 2552 - 2560. [serial online] 2557. สืบค้นจาก: http://statbbi.nso.go.th 9 มีนาคม 2562.
9. จีรนันท์ อันทะชัย. ประสิทธิภาพของสมุนไพรพื้นบ้านในการยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อรา. ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2561.
10. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร. งานแพทย์แผนไทย. ตำรายาในเอกสารใบลานจังหวัดสกลนคร เล่ม 1. สกลนคร: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร; 2554.
11. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร. งานแพทย์แผนไทย. ตำรายาในเอกสารใบลานจังหวัดสกลนคร เล่ม 2: สมบัติพ่อพรมมา จันทะเสน. สกลนคร: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร; 2554.
12. งานแพทย์แผนไทย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร และสาขาวิชาการแพทย์แผนไทย คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร. ตำรายาในเอกสารใบลานจังหวัดสกลนคร เล่ม 3. สกลนคร: สกลนครการพิมพ์; 2556.
13. อุษา กลิ่นหอม. การสังคายนาตำรายาพื้นบ้านอีสาน: กรณีไข้หมากไม้. กรุงเทพฯ: อุษาการพิมพ์; 2552.
14. ปรีชา พิณทอง. ตำรายาโบราณอีสาน. อุบลราชธานี: โรงพิมพ์ศิริธรรมออฟเซ็ท; ม.ป.ป.
15. นันทวัน บุณยะประภัศร. บรรณาธิการ. ศัพท์แพทย์ไทย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: แสงเทียนการพิมพ์; 2551.
16. ชยันต์ พิเชียรสุนทร, แม้นมาส ชวลิต, วิเชียร จีรวงส์. คำอธิบายตำราพระโอสถพระนารายณ์: ฉบับเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษามหาราชา 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2542. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: อมรินทร์; 2560.
17. วุฒิ วุฒิธรรมเวช. คัมภีร์เภสัชรัตนโกสินทร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ศิลป์สยามบรรจุภัณฑ์และการพิมพ์; 2554.
18. วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม. พจนานุกรมสมุนไพรไทย. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: อักษรพิทยา; 2548.
19. วิทยา ปองอมรกุล และ สันติ วัฒฐานะ. หนังสือชุดพรรณไม้เมืองไทย: พืชสมุนไพร 1. เชียงใหม่: องค์การสวนพฤกษศาสตร์; 2553.
20. Bridson D and Forman L. The herbarium hand book. 3rd ed. UK: Royal Botanic Garden; 1992.
21. มูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริมการแพทย์ไทยเดิม อายุรเวทวิทยาลัย (ชีวกโกมารภัจจ์). ตำราการแพทย์แผนไทยเดิม (แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์) ฉบับอนุรักษ์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2558.
22. โรงเรียนแพทย์แผนโบราณ. ตำรายาศิลาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) พระนคร: พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้จารึกไว้เมื่อ พ.ศ.2375 ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย; 2537.
23. ลัดดาวัลย์ ครูปัญญามาตย์. บรรณาธิการ. ตำราเภสัชกรรมไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: อุษาการพิมพ์; 2559.
24. สถาบันโรคผิวหนัง. สถิติโรคผู้ป่วยนอกที่พบตามลำดับ 10 อันดับกลุ่มโรค ปีงบประมาณ 2561. [serial online] 2562. สืบค้นจาก: http://inderm. go.th 29 มิถุนายน 2562.
25. อาน อุทโท. สัมภาษณ์. 19 กรกฎาคม 2562.
26. Abbasi AM, Khan MA, Ahmad M, Zafar M, Jahan S and Sultana S. Ethnopharmacological application of medicinal plants to cure skin diseases and in folk cosmetics among the tribal communities of North-West Frontier Province, Pakistan. Journal of Ethnopharmacology 2010 ; 128(1):322-335.
27. Bhat P, Hegde GR, Hegde G, Mulgund GS. Ethnomedicinal plants to cure Skin diseases - An account of the traditional knowledge in the coastal parts of Central Western Ghats, Karnataka, India. Journal of Ethnopharmaco- logy 2014;151(1):493-502.
28. พรรณรัตน์ อกนิษฐาภิชาติ, อารี วังมณีรัตน์, นงนิตย์ ธีระวัฒนสุข. ฤทธิ์ต้าน Herpes Simplex Virus Type 1 ของพืชผักท้องถิ่นในภาคอีสาน. Thai J. Pharm. Sci. 2005;29(3-4):137-145.
29. Thimabut K, Keawkumpai A, Permpoonpatta- na P, Klaiklay S, Chumkaew P, Kongrit D et al. Antibacterial potential of extracts of various parts of Catunaregam tomentosa (Blume ex DC) Tirveng and their effects on bacterial granularity and membrane integrity. Tropical Journal of Pharmaceutical Research 2018 ;17 (5):875-882.
30. Rao BG, Nath MS, Raju NJ. Investigation of anti-inflammatory activity of stem heart wood of Spondias pinnata. International Journal of Chemical Sciences 2009;7(1):294-298.
31. Panda BK, Patra VJ, Mishra US, Kar S, Panda BR, Hati MR. Analgesic activities of the stem bark extract of Spondias pinata (Linn.f) Kurz. Journal of Pharmacy Research 2009;2(5):825-827.
32. Natarajan V and Natarajan S. Antidermatophytic Activity of Acacia concinna. Global Journal of Pharmacology 2009;3(1):06-07.
33. Sripanidkulchai B, Junlatat J, Wara-aswapati N, Hormdee D. Anti-inflammatory effect of Streblus asper leaf extract in rats and its modulation on inflammation-associated genes expression in RAW 264.7 macrophage cells. Journal of Ethnopharmacology 2009;124(3):566-570.
34. Krishnaveni B, Neeharika V, Venkatesh S, Padmavathy R, Madhava RB. Wound Healing Activity of Carallia brachiata Bark. Indian J Pharm Sci. 2009;71(5):576–578.
35. Krishnaveni B, Neeharika V, Srikanth AV, Madhava RB. Anti-inflammatory activity of Carallia brachiata bark. Internatinal Journal of Pharmaceutical Sciences and Nanotechnology 2009;1(4):375-378.