การสกัดแนวเส้นจากข้อมูลการรับรู้ระยะไกล ในเขตจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา และลำปาง

Main Article Content

Nut Sukphornsawan

บทคัดย่อ

แนวเส้นเป็นลักษณะของเส้นที่ปรากฎอยู่บนพื้นผิวโลกโดยความสัมพันธ์กับภูมิลักษณ์ของพื้นที่ เช่น สันเขา แม่น้ำ หรือรอยเลื่อน ฯลฯ ซึ่งบางครั้งสามารถบ่งชี้ถึงโครงสร้างทางธรณีวิทยาได้ ในปัจจุบันการสำรวจข้อมูลแนวเส้นส่วนใหญ่จำเป็นต้องอาศัยการสำรวจภาคสนามทำให้ใช้เวลาค่อนข้างมาก วัตถุประสงค์ของงานวิจัยครั้งนี้จึงต้องการพัฒนาวิธีการแบบกึ่งอัตโนมัติสำหรับสกัดแนวเส้นจากภาพถ่ายดาวเทียม Landsat 8 OLI ในเขตพื้นที่บางส่วนของ จังหวัดเชียงราย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดพะเยา และจังหวัดลำปาง โดยมีขั้นตอนการวิเคราะห์ 2 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การเตรียมข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมก่อนการสกัดแนวเส้น และเปรียบเทียบวิธีการเตรียมข้อมูลภาพ 4 วิธีการ ได้แก่ Sobel Filter, Directional Filter, Laplacian Filter, และ Principal Component Analysis (PCA) และ 2) การสกัดข้อมูลแนวเส้นจากขั้นตอนการเตรียมข้อมูลภาพและแปลงให้อยู่ในรูปของข้อมูลแนวเส้นด้วย Canny Edge Detection Algorithm ผลการศึกษา พบว่า แนวเส้นส่วนใหญ่วางตัวในทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ โดยวิธีการเตรียมข้อมูลแบบ PCA มีความสอดคล้องกับภูมิลักษณ์แบบแนวเส้นมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 24.17 เมื่อเปรียบเทียบกับชุดข้อมูลเปรียบเทียบจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รองลงมาเป็นแนวเส้นจากวิธีการ Sobel Filter Directional Filter และ Laplacian Filter คิดเป็นร้อยละ 19.30, 5.13 และ 1.82 ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1 O’Leary, D.W., Friedman, J. D., and Pohn, H. A. 1976. Lineament, linear, lineation: some proposed new definitions for old terms. Geological Society of America Bulletin. v. 87. No. 61011. pp. 1463- 1469.
2 Sukumar, M., Venkatesan, N., and Nelson Kennedy Babu, C. 2014. A Review of Various Lineament Detection Techniques for high resolution Satellite Images. International Journal of Advanced Research in Computer Science and Software Engineering. Volume 4. Issue 3. pp. 72-78.
3 Xu, S. R., Li, C. C., and Flint, N. K., 1981.Extraction of Geological Lineaments from LANDSAT Imagery by Using Local Variance and Gradient Trend. LARS Symposia. 1981. Paper 415.
4 Mah, A., Lennox, P., Taylor, G., and Balia, L. 1995. Lineament analysis of Landsat thematic mapper images, Northern Territory, Australia. Photogrammetric Engineering & Remote Sensing. Vol. 61. No. 6. June 1995. pp. 761-773.
5 Karnieli, A., Meisels, A., Fisher, L., and Arkin, Y.1996. Automatic extraction and evaluation of geological linear features from digital remote sensing data using a hough transform. American Society for Photogrammetry and Remote Sensing, Bethesda. 62. MD, USA.
6 Süzen, M.L., and Toprak, V. 1998. Filtering of satellite images in geological lineament analyses: an application to a fault zone in Central Turkey. int. j. remote sensing. 1998. vol. 19. No. 6. 1101-1114.
7 Leech, D.P., Treloar, P.J., Lucas, N.S., and Grocott, J. 2003. Landsat TM analysis of fracture patterns: a case study from the Coastal Cordillera of northern Chile. International Journal of Remote Sensing, vol. 24, No. 19, 3709–3726.
8 Gannouni, S. and Gabtni, H. (2015) Structural Interpretation of Lineaments by Satellite Image Processing (Landsat TM) in the Region of Zahret Medien (Northern Tunisia). Journal of Geographic Information System, 7, 119-127.
9 ปัญญา จารุศิริ, วิโรจน์ ดาวฤกษ์, สุวิทย์ โคสุวรรณ, บุรินทร์ เวชบันเทิง, สุทธิพันธ์ ชุทรานนท์. 2543 . แผ่นดินไหวในประเทศไทย และพื้นแผ่นดินเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.).
10 Ali, S A. and Pirasteh, S. 2004. Geological applications of Landsat enhanced thematic mapper (ETM) data and geographic information system (GIS): mapping and structural interpretation in south-west Iran, Zagros structural belt. International Journal of Remote Sensing, 25: 4715-4727.
11 Canny, J. 1986. A Computational Approach to Edge Detection. IEEE Transactions on Pattern Analysis and Machine Intelligence. Vol. PAMI-8, No. 6.