การวิเคราะห์โครงข่ายของสายน้ำด้วยทฤษฎีกราฟบนหลักการความเป็นจุดศูนย์กลาง : กรณีศึกษาพื้นที่สุ่มเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาน้ำท่วมรอการระบายในจังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

Thanaphon Phukseng

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจข้อมูลสายน้ำ และวิเคราะห์พื้นที่สุ่มเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาน้ำท่วมรอการระบายในจันทบุรี ซึ่งจะเป็นข้อมูลช่วยให้หน่วยงานในจังหวัดจันทบุรีวางแผนรับมือกับปัญหาดังกล่าว โดยให้ความสำคัญกับจุดพื้นที่ที่เป็นจุดเริ่มต้นหรือปลายทางของสายน้ำ จุดที่สายน้ำเชื่อมโยงกัน และจุดที่สายน้ำตัดผ่านสิ่งกีดขวาง กำหนดเป็นจุดยอด (Node) และการเชื่อมโยงระหว่างจุดพื้นที่เป็นเส้นเชื่อม (Edge) ในรูปแบบกราฟเชิงเดียวไม่มีทิศทาง (Undirected Graph) และใช้โปรแกรม Gephi version 0.9.2 ประมวลผลด้วยทฤษฏีกราฟจากหลักการความเป็นจุดศูนย์กลาง (Centrality) 5 วิธี คือ Degree Centrality Eccentricity Centrality Closeness Centrality Betweeness Centrality และ Eigenvector Centrality โดยพื้นที่ที่ได้คัดเลือกจะมีค่าผลลัพธ์จากหลักการความเป็นจุดศูนย์กลางวิธีต่างๆ ในระดับสูง สำหรับผลการวิจัยสามารถวิเคราะห์พื้นที่สุ่มเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาน้ำท่วมรอการระบายในจังหวัดจันทบุรี จำแนกตามอำเภอได้แก่ แก่งหางแมว 41 จุด ขลุง 85 จุด เขาคิชฌกูฎ 55 จุด ท่าใหม่ 59 จุด นายายอาม 28 จุด โป่งน้ำร้อน 12 จุด มะขาม 13 จุด เมืองจันทบุรี 123 จุด สอยดาว 1 จุด และแหลมสิงห์ 4 จุด รวมทั้งสิ้น 421 จุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ. ได้จาก: https://oknation.nationtv.tv/blog/nongear/2007/09/21/entry-1. 16 พฤศจิกายน 2560.
2. กรมอุตุนิยมวิทยา. ได้จาก: https://www.tmd.go.th/info/info.php?FileID=70. 16 พฤศจิกายน 2560.
3. สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ. การพัฒนาแหล่งน้ำ สาเหตุที่ทำให้เกิดน้ำท่วม. เล่มที่ 12 เรื่องที่ 8. ได้จาก: https://kanchanapisek.or.th/
kp6/sub/book/book.php?book=12&chap=8&
page=t12-8-infodetail13.html. 16 พฤศจิกายน 2560.
4. โครงการบรรเทาอุทกภัยเมืองจันทบุรี (แผนระยะที่2) จังหวัดจันทบุรี. ได้จาก: https://kromchol.rid.go.th/lproject/lsp09/2014/index.php/progress-report-2/55-flood-chan. 17 พฤศจิกายน 2560.
5. ศิริเรือง พัฒน์ช่วย, ณัฐชุดา มงคลชาติ. การศึกษาการใช้ทฤษฏีกราฟจำลองเครือข่ายโครงการสหกิจศึกษา. ใน: เอกสารการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 5. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. สงขลา; 2557. หน้า 641-50.
6. นิฟาตมะห์ มะกาเจ, อาทิตย์ อินทรสิทธิ์. ทฤษฎีกราฟเบื้องต้นและการประยุกต์. วิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 2558;25(3): 505-16.
7. ธนพล พุกเส็ง, สุนันฑา สดสี. การคํานวณค่าความไว้วางใจในเครือข่ายสังคมสําหรับระบบแนะนํา. ใน: เอกสารการประชุมวิชาการระดับประเทศด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (National Conference on Information Technology: NCIT) ครั้งที่ 7. ภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. กรุงเทพฯ; 2558. หน้า 363-8.
8. รุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล, น้ำทิพย์ วิภาวิน. การวิเคราะห์เครือข่ายทางสังคมกับงานวิจัยทางสารสนเทศศาสตร์. บรรณสารมศว. 2555;5(2): 126-40.
9. ชนนิกานต์ รอดมรณ์, มธุรส ผ่านเมือง. การวิเคราะห์เครือข่ายทางสังคมโดยทฤษฎีกราฟ กรณีศึกษา คณาจารย์คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี. ใน: เอกสารงานประชุมวิชาการ NCCIT2014. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. กรุงเทพฯ; 2557. หน้า 731-6.
10. Mohammed J. Zaki, Wagner Meira. Data Mining and Analysis: Fundamental Concepts and Algorithms. UK: Cambridge University Press; 2014.
11. Mrutyunjaya P., Satchidananda D., Gi-Nam W. Social Networking: Mining, Visualization, and Security. Switzerland: Springer International Publishing; 2014.
12. ลิขิต น้อยจ่ายสิน. การประยุกต์ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อประเมินพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วมในจังหวัดสระแก้ว. วิทยาศาสตร์บูรพา. 2559;21(1): 51-63.
13. พรชัย เอกศิริพงษ์, สุเพชร จิรขจรกุล. การประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วมในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่. Thai Journal of Science and Technology. 2557;3(3): 148-59.
14. จุฑาศินี ธัญปราณีตกุล, รัชพล สัมพุทธานนท์, พรชัย ตระกูลวรานนท์. การประยุกต์ใช้โปรแกรมกูเกิลเอิร์ทเพื่อการเฝ้าระวังภัยพิบัติ : กรณีตัวอย่างน้าท่วมในนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง ปี พ.ศ. 2554. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2558;23(3): 396-417.
15. นรเทพ ศักดิ์เพชร. การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนเว็บเชิงพื้นที่เพื่อสนับสนุนการเตือนภัยพิบัติน้ำท่วมเมืองหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. 2559;11(2): 102-16.
16. สุภาพร เกิดกิจ, ลวัณกร สร้อยมาต, สุนันฑา สดสี., การวิเคราะห์การเชื่อมต่อระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยทฤษฎีกราฟ กรณีศึกษาวิทยาลัยพณิชยการธนบุรี. ใน; เอกสารงานประชุมวิชาการ NCCIT2014. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. กรุงเทพฯ; 2557, หน้า 725-30.
17. พรคิด อั้นขาว. รายงานการวิจัย การวิเคราะห์เครือข่ายการท่องเที่ยวของกลุ่มจังหวัดภาคกลางในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร; 2559.
18. ธนพล พุกเส็ง, สุนันฑา สีสด. การวิเคราะห์โครงข่ายเส้นทางสถานที่ท่องเที่ยวด้วยทฤษฎีกราฟ : กรณีศึกษาการจัดตั้งจุดประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวในเขตจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. 2557; 53-64.
19. พฤฒิพงศ์ เพ็งศิริ, สุริยะ พินิจการ, สุนันฑา สดสี. การวิเคราะห์การระบายน้ำโดยใช้ทฤษฎีกราฟ กรณีศึกษาเขตพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ใน: เอกสารการประชุมวิชาการระดับชาติด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ 6. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. กรุงเทพฯ; 2557. หน้า 310-4.
20. พฤฒิพงศ์ เพ็งศิริ, สุนันฑา สดสี, พยุง มีสัจ. การวิเคราะห์โครงข่ายประตูระบายน้ำด้วยความเป็นศูนย์กลางระหว่างความสัมพันธ์ร่วมกับกระแสการไหลสูงสุด. Journal of Information Science and Technology. 2016;6(1): 25-33.