การศึกษาปริมาณ และแหล่งที่อยู่อาศัยหอยหลอด (Solen spp.) บริเวณหาดเลนงอกใหม่แหลมผักเบี้ยที่รองรับน้ำทิ้งจากระบบบำบัดน้ำเสียชุมชนเทศบาลเมืองเพชรบุรี โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาปริมาณและแหล่งที่อาศัยหอยหลอด (Solen spp.) บริเวณหาดเลนงอกใหม่แหลมผักเบี้ยที่รองรับน้ำทิ้งจากระบบบำบัดน้ำเสียชุมชนเทศบาลเมืองเพชรบุรีที่ผ่านการบำบัดแล้ว โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี พบว่าหอยหลอดอาศัยฝังตัวในดินตะกอนชนิดดินร่วนปนทรายแป้ง (silt loam) เนื้อดินตะกอนประกอบด้วยดินทราย (sand) 27 เปอร์เซ็นต์ ดินทรายแป้ง (silt) 59 เปอร์เซ็นต์ ดินเหนียว (clay) 14 เปอร์เซ็นต์ ที่ระดับความลึก 15 เซนติเมตร จนกระทั้งความลึกไม่เกิน 30 เซนติเมตร (15-30 เซนติเมตร) หอยหลอดมีอัตราความหนาแน่นค่าเท่ากับ 14.19 ตัว/ตารางเมตร เดือนมิถุนายนพบมากที่สุด 31.60 ตัว/ตารางเมตร ฤดูฝนพบมากที่สุด 21.48 ตัว/ตารางเมตร น้ำหนักรวมทั้งหมดมีค่าเท่ากับ 36.39 ตันต่อปี จำนวนทั้งหมดมีค่าเท่ากับ 511.94 ล้านตัวต่อปี