ชนิดและการแพร่กระจายของหอยน้ำพริกสกุล Nerita (Neritidae; Gastropoda) ในระบบนิเวศหาดหิน จังหวัดภูเก็ต
Main Article Content
บทคัดย่อ
ศึกษาชนิด การแพร่กระจาย และการปรับตัวของหอยน้ำพริกสกุล Nerita ในระบบนิเวศหาดหินชายฝั่งทะเลจังหวัดภูเก็ต เก็บข้อมูลหอยน้ำพริกใน 5 พื้นที่ ได้แก่ หาดปลื้มสุข หาดในยาง อ่าวปอ หาดบางเทา และอ่าวยน ระหว่างเดือน ตุลาคม 2561 ถึง มกราคม 2562 โดยวางแนวเส้นสำรวจตั้งฉากกับชายฝั่ง สุ่มตัวอย่างหอยโดยใช้กรอบนับประชากรขนาด 50x50 เซนติเมตร จำนวน 3 กรอบ ในทุกๆ 2 เมตรของเส้นสำรวจ บันทึกข้อมูลชนิด จำนวน และตำแหน่งที่พบหอยตลอดแนวเส้นสำรวจ การวิจัยครั้งนี้พบหอยน้ำพริกสกุล Nerita ทั้งสิ้น 6 ชนิด ได้แก่ N. albicilla, N. alveolus, N. chamealeon, N. costata, N. histrio และ N. polita พื้นที่ศึกษาที่มีค่าดัชนีความหลากหลายของ Shannon (H’) สูงที่สุด คือ หาดในยาง (H’ = 1.01) และน้อยที่สุด คือ หาดปลื้มสุข (H’ = 0.62) หอยชนิดที่แพร่กระจายมากที่สุด คือ N. chamealeon พบใน 5 พื้นที่ ขณะที่ชนิดที่แพร่กระจายน้อยที่สุด คือ N. histrio พบใน 1 พื้นที่ การศึกษาแพร่กระจายของหอยน้ำพริกในแต่ละพื้นที่ศึกษาพบว่า ชนิดที่พบใกล้กับระดับน้ำขึ้นสูงสุดมากที่สุด คือ N. alveolus พบในช่วง 0-16 เมตร ชนิดที่พบห่างจากชายฝั่งออกมา คือ N. chamealeon และ N. polita พบในช่วง 2-26 เมตร (ยกเว้นอ่าวปอ) ชนิดที่พบห่างจากชายฝั่งมากที่สุด คือ N. albicilla พบตั้งแต่ระยะ 14 เมตรจนถึงระดับน้ำทะเลต่ำสุด ส่วนชนิดอื่น ๆ พบจำนวนน้อยและไม่ปรากฏรูปแบบการแพร่กระจายที่ชัดเจน
Article Details
References
2. Nabhitabhata J. Checklist of Mollusca Fauna in Thailand. Bangkok: Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning; 2009.
3. กรรณิการ์ ศรีอินทร์. หอยน้ำพริก (ออนไลน์) ได้จากhttp://www.nicaonline.com/
index.php?option=com_content&view=article&id=585:2012-02-22-07-11-01&catid=38:2012-02-20-02-58-39&Itemid=120 Accessed 28 Nov, 2019.
4. Sanpanich K, Duangdee T. The biodiversity of marine gastropods of Thailand in the late decade. Malaysian Journal of Science. 2013; 32(SCS Sp Issue): 47-64. https://www.researchgate.net/publication/261474468_The_Biodiversity_of_Marine_Gastropods_of_Thailand_in_the_Late_Decade
5. ศิริพร บุตร์นิล. ความหลากหลายชนิดพันธุ์และการติดเชื้อพยาธิใบไม้ของหอยฝาเดียวและหอยสองฝาบริเวณชายฝั่งทะเลอันดามันในประเทศไทย; 2557. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยศิลปากร. http://www.thapra.lib.su.ac.th/thesis/showthesis_th.asp?id=0000012036
6. สหัส ราชเมืองขวาง. สัตว์น้ำไม่มีกระดูกสันหลังในระบบนิเวศชายฝั่ง อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนองและบริเวณใกล้เคียง. สถานีวิจัยเพื่อการพัฒนาชายฝั่งอันดามัน คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2558.
7. Magurran AE. Measuring biological diversity. UK: Blackwell Science Ltd.; 2004.
8. Poutiers JM. Gastropods. Ln: Carpenter KE, Niem VH, editors. The living marine resources of the Western Central Pacific. Volume 1. Seaweeds, corals, bivalves, and gastropods. Rome: FAO; 1998. P. 420-430.
9. Tan SK, Clements R. Taxonomy and distribution of the Neritidae (Mollusca: Gastropoda) in Singapore. Zoological Studies. 2008; 47(4): 481-494. https://www.researchgate.net/publication/215781674_Taxonomy_and_distribution_of_the_Neritidae_Mollusca_Gastropoda_in_Singapore