การใช้มาตรฐาน มอก 2677-2558 ประเมินความเสี่ยงของเสียอันตรายสำหรับการยกระดับความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการเคมีพื้นฐาน

Main Article Content

kowit Piyamongkala

บทคัดย่อ

ห้องปฏิบัติการเคมีพื้นฐาน ภาควิชาเคมีอุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มีของเสียอันตราย ส่วนใหญ่เกิดจากสารเคมี การจัดการของเสียอันตรายได้นำมาตรฐาน มอก 2677-2558 มาใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ ก่อนการดำเนินงาน มีข้อบกพร่องจำนวน 31 รายการ ที่มีความเสี่ยงในระดับสูงต่อการเกิดอุบัติเหตุ จึงได้รวบรวมข้อมูลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ จำแนกประเภทของเสียอันตราย เคลื่อนย้ายสถานที่จัดเก็บของเสียอันตราย เปลี่ยนภาชนะบรรจุ และติดป้ายฉลากระบุประเภทของเสียอันตราย จัดทำระบบบันทึกข้อมูลของเสียอันตราย และรายงานความเคลื่อนไหวของเสียอันตรายก่อนส่งกำจัด หลังจากการแก้ไขปรับปรุง สามารถลดข้อบกพร่องเหลือ 5 รายการ อย่างไรก็ตาม ผลการปรับปรุงก่อให้เกิดความปลอดภัยต่อบุคลากรและนักศึกษา ที่ใช้งานห้องปฏิบัติการพื้นฐานเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. วรพจน์ กนกกันฑพงษ์. การจัดการของเสียอันตรายในห้องปฏิบัติการ. วารสาร มฉก.วิชาการ 2550; 11(21): 95-102
2. กรมควบคุมมลพิษ. คู่มือการจัดการของเสียของห้องปฏิบัติการสิ่งแวดล้อม. 2547
3. พรเพ็ญ ก๋ำนารายณ์.ผลการสำรวจชี้บ่งอันตรายและวิเคราะห์ความเสี่ยงในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์การแพทย์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2558; 23(4): 667-681
4. ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 4699 (พ.ศ. 2558) เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ระบบการจัดการด้านความปลอดภัย ของห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี เล่ม 1. ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 132 ตอนพิเศษ 229 ง ลงวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2558
5. ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 4700 (พ.ศ. 2558) เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมระบบการจัดการด้านความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับสารเคมี เล่ม 2. ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 132 ตอนพิเศษ 229 ง ลงวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2558
6. นันทวรรณ จินากุล. การประเมินความเสี่ยงด้านระบบการจัดการของเสียอันตรายจากสารเคมีในห้องปฏิบัติการ จุลชีววิทยา. บูรพาเวชสาร. 2561; 5(1): 36-51