ผลิตภัณฑ์ขนมไทยจากแป้งเมล็ดทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองในจังหวัดอุตรดิตถ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสนองพระราชดำริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดําริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อผลิตแป้งและเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์จากแป้งเมล็ดทุเรียนพันธุ์พื้นเมือง นําเมล็ดทุเรียนที่แยกเปลือกเมล็ดออกมาผลิตแป้งจากเมล็ดทุเรียน ตรวจวิเคราะห์คุณสมบัติและคุณค่าทางโภชนาการของแป้งและนําแป้งมาศึกษาตํารับในการทําเป็นผลิตภัณฑ์ขนมครองแครงทุเรียนและทองพับทุเรียน จากการศึกษาพบเม็ดแป้งเมล็ดทุเรียนมีรูปร่างเหลี่ยม ผิวขรุขระ ขนาดประมาณ 3-10 มีคุณค่าทางโภชนาการ ปริมาณอะไมโลส 20 เปอร์เซ็นต์และไม่พบกลูเตน นอกจากนี้อัตราส่วนปริมาณแป้งทุเรียนและเนื้อทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองที่เหมาะสมในการผสมในขนมครองแครงและทองพับ คือ อัตราส่วน 20 กรัม : 20 กรัม โดยแสดงค่าเฉลี่ยคะแนนความชอบตํารับขนมอยู่ในช่วงคะแนนความชอบมาก งานวิจัยนี้จึงแสดงให้เห็นประโยชน์ของทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองนำไปสู่การตระหนักถึงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชท้องถิ่นต่อไป
Article Details
References
[2] สุธีร์ สัตยาภรณ์. การทำการเกษตรแบบยั่งยืนของเกษตรกรในอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ [ วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2544.
[3] คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณีและเครือข่ายนักวิจัยสาขาพืชในจังหวัดจันทรบุรี. ทุเรียน: ผลไม้วัฒนธรรมอาเซียน. คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี และเครือข่ายนักวิจัยสาขาพืชในจังหวัดจันทรบุรี; 2556.
[4] สิรินาถ ตันฑเกษม. สมบัติของแป้งจากเมล็ดทุเรียนและการนำไปใช้ประโยชน์. [รายงานการวิจัย]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย; 2544.
[5] วริศชนม์ นิลลลท์, ประมวล ศรีกาหลง. การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารจากแป้งเมล็ดทุเรียน. มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2557 (Thailand Research Expo 2014); 7-11 ส.ค. 2557; โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ; 2557.
[6] อุบล ดีสวัสดิ์. สร้างความร่ำรวยด้วยอาหาร OTOP. กรุงเทพฯ: บริษัทสถาพรบุ๊คส์ จำกัด; 2547.
[7] จริยา เดชกุญชร. ขนมไทย เล่ม 1.กรุงเทพฯ: บริษัทสถาพรบุ๊คส์ จำกัด; 2549ก.
[8] ขนมอบ ขนมทอด . กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์แสงแดด จำกัด; 2554.
[9] จริยา เดชกุญชร. ขนมไทย เล่ม 2. กรุงเทพฯ: บริษัทสถาพรบุ๊คส์ จำกัด; 2549ข.
[10] อภิญญา มานะโรจน์. ทองม้วน ทองพับ. กรุงเทพฯ: แม่บ้าน พิมพ์, ม.ป.ป.
[11] กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. ตารางแสดงคุณค่าทางโภชนาการของอาหาร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การทหารผ่านศึก; 2544.
[12] ดุษฎี อุตภาพ. เทคโนโลยีของคาร์โบไฮเดรท (Carbohydrate Technology) [อินเทอร์เน็ต]; 2561 [เข้าถึงเมื่อ 10 ธ.ค. 2561]. เข้าถึงได้จาก: https://eu.lib.kmutt.ac.th/ elearning/Courseware/BCT611/index.html.
[13] United States Department of Agriculture. National Nutrient Database for Standard Reference Release 28 [cite 2016 Mar 16]. Available from: https://ndb.nal.usda.gov/ndb/ search/list.
[14] กิตตยา สมยาภักดี, โสบุญชัย กิตติเสรีบุตร. อาหารแช่เย็น. โครงการศูนย์บริการข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยในการบริโภคอาหาร (E-Center For Food Safety) มหาสารคาม: ภาควิชาเทคโนโลยีการอาหารและโภชนศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2545.