การผลิตแผ่นฉนวนกันความร้อนจากเปลือกทุเรียน

Main Article Content

Panjai Saueprasearsit

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการผลิตแผ่นฉนวนกันความร้อนจากเปลือกทุเรียนโดยใช้น้ำยางพาราเข้มข้นร้อยละ 60 เป็นตัวประสาน ซึ่งปัจจัยที่ทำการศึกษา คือ อัตราส่วนระหว่างเปลือกทุเรียนและน้ำยางพารา ทำการศึกษาโดยการขึ้นรูปแผ่นฉนวนกันความร้อนที่อัตราส่วน 1:4, 1:3, 1:2 และ 1:1  โดยปริมาตร จากนั้นทำการศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพและทางกลของแผ่นฉนวนกันความร้อนเปรียบเทียบกับมาตรฐานอุตสาหกรรมแผ่นชิ้นไม้อัดชนิดราบ (มอก.876-2547) เพื่อหาอัตราส่วนที่เหมาะสม และนำแผ่นฉนวนกันความร้อนที่ผลิตได้ที่อัตราส่วนที่เหมาะสมมาวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์การนำความร้อน เพื่อประเมินศักยภาพการป้องกันความความร้อน


            จากผลการศึกษาพบว่า อัตราส่วนที่เหมาะสม คือ อัตราส่วน 1:3  โดยคุณสมบัติของแผ่นฉนวนกันความร้อนที่ผลิตได้จากที่อัตราส่วนนี้  ประกอบด้วย ค่าความหนาแน่น 571.33 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ค่าความชื้นร้อยละ 8.23 ค่าการพองตัวตามความหนาร้อยละ 6.38 ค่าความต้านทานแรงดัด 13.99 เมกกะพาสคัล ค่าโมดูลัสยืดหยุ่น 44.85 * 103 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว และค่าความต้านทานแรงดึงตั้งฉากกับผิวหน้า 0.33 กิโลกรัมต่อตารางเมตร โดยคุณสมบัติทางกายภาพและทางกลทั้งหมดผ่านเกณฑ์มาตรฐานอุตสาหกรรมแผ่นชิ้นไม้อัดชนิดอัดราบ แผ่นฉนวนกันความร้อนดังกล่าวมีค่าสัมประสิทธิ์การนำความร้อนเท่ากับ 0.1227 วัตต์ต่อเมตร-เคลวิน  จากผลการศึกษาทั้งหมดสามารถสรุปได้ว่า ฉนวนกันความร้อนจากเปลือกทุเรียนสามารถใช้ควบคู่กับไม้อัดราบหรือใช้ทดแทนไม้อัดราบได้

Article Details

บท
Original Articles

References

1. กรองทิพย์ เติมเกาะ. การทดสอบสภาพนำความร้อนของฉนวนกันความร้อนคอมโพสิท.
วารสาร กรมวิทยาศาสตร์บริการ 2551; 60(190): 9-11.
2. จุฑารัตน์ แซ่ปิง, อมรเทพ เตียเจริญภักดี และภวิตรา ภาวะโคตร. การศึกษากำลังรับแรงอัด ค่าการไหล
และระยะเวลาการก่อตัวของจีโอโพลิเมอร์มอร์ต้าร์ผสมวัสดุนำกลับมาใช้ [วิทยานิพนธ์ ปริญญามหา
บัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2556.
3. กรมโรงงานอุตสาหกรรม. คู่มือการจัดการสารเคมี. ได้จาก URL: http://php.diw.go.th/safety/wp-
content/uploads/2015/01/formaldehyde.pdf [1 มีนาคม 2563]
4. บุญญารัตน์ พิมพรม, ปีย์วรา แดงนา และปานใจ สื่อประเสริฐสิทธิ์. การพัฒนาฉนวนกันความร้อนจาก
ฟางข้าว. ใน: เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาสารคามวิจัย ครั้งที่ 13.
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม; 2560. หน้า 358-367.
5. สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม. มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
แผ่นชิ้นไม้อัดชนิดอัดราบ.มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม.
ได้จาก URL: http://research.rid.go.th/Vijais/moa/fulltext/TIS876-2547.pdf
[1 มีนาคม 2563]
6. กระทรวงพลังงาน. บทที่ 4 หลักการเบื้องต้นของการถ่ายเทความร้อน. ตำราฝึกอบรมผู้รับผิดชอบ
ด้านพลังงาน (ผชพ) ด้านความร้อน. ได้จาก URL:
http://www2.dede.go.th/bhrd/old/Download/file_handbook/Pre_Heat/pre_heat_4.pdf
[1 มีนาคม 2563]
7. ธนัญชัย ปคุณวรกิจ, พันธุดา พุฒิไพโรจน์, วรธรรม อุ่นจิตติชัย และพรรณจิรา ทิศาวิภาต.
ประสิทธิภาพการป้องกันความร้อนของฉนวนอาคารจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร. Journal of
Achitectural/Planning Research and Studies 2006; 4: 3-13.
8. ฐิติวัลคุ์ เลื่อมกาญจนพันธ์. การศึกษาสมบัติเชิงกายภาพ สมบัติเชิงกล และสมบัติเชิงความร้อนของ
ฉนวนกันความร้อนจากเส้นใยกกช้าง [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์;
2555.
9. ปราโมทย์ วีรานุกูล, จักรวัมน์ เรืองแรงสกูล, สัจจะชาญ พรัตมะลิ และประชุม คำพุม. การใช้กากมะพร้าว
ต้นข้าวโพดและเปลือกทุเรียนเป็นวัสดุประกอบชีวภาพทดแทนไม้ในแผ่นใยไม้อัดความหนาแน่น
ปานกลาง [วิทยานิพนธ์ ปริญญาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร; 2554.
10. ฉันท์ฑิต คำนวณทิพย์ และมนทิพย์ ล้อสุริยนต์. แผ่นอัดจากใยมะพร้าว ชานอ้อย และแกลบ
[วิทยานิพนธ์ปริญญาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี; 2550.
11. กิตติศักดิ์ บัวศรี. การผลิตแผ่นฉนวนความร้อนจากฟางข้าว [วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต].
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี; 2544.
12. อาบีดีน ดะแซสาเมาะ, อิรฟาน ยุโซะ, อีเลียส มูยา อีเลียส มูยา, อนันท์ ดอเลาะ และคอดีเยาะ เจ๊ะและ.
การพัฒนาอุปกรณ์วัดค่าสัมประสิทธิ์การนำความร้อนสำหรับวัสดุก่อสร้าง. ได้จาก URL:
http://qa.yru.ac.th/cheqa/qadoc/Science/school%20year_2556/elements-4/indicat-
5/sci_5-7.pdf [1 มีนาคม 2563]
13. Cetiner, I. and Shea, A. D. Wood waste as an alternative thermal insulation for
buildings. Energy & Buildings, 2018; 168: 374-384.