- การผลิตเม็ดดินเผาน้ำหนักเบาจากดินตะกอนประปาและกากมันสำปะหลัง

Main Article Content

Panjai - Saueprasearsit

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการผลิตเม็ดดินเผาน้ำหนักเบาจากดินตะกอนประปาและกากมันสำปะหลังด้วยวิธีการเผาให้ความร้อน ปัจจัยที่สำคัญ ประกอบด้วย อัตราส่วนระหว่างดินตะกอนประปาและกากมันสำปะหลัง (100:0, 90:10 และ 80:20 โดยน้ำหนัก) อุณหภูมิการเผา (800, 900 และ 1,000 องศาเซลเซียส) และระยะเวลาการเผา (30, 60 และ 120 นาที) โดยคุณสมบัติทางกายภาพและเคมีของเม็ดดินเผาที่ผลิตได้จะถูกทำการศึกษาเพื่อหาสภาวะที่เหมาะสม ผลจากการศึกษา พบว่า สภาวะที่เหมาะสมในการผลิตเม็ดดินเผาน้ำหนักเบา คือ ที่อัตราส่วนระหว่างดินตะกอนประปาและกากมันสำปะหลัง  80:20 โดยน้ำหนัก อุณหภูมิการเผา 800 องศาเซลเซียส และระยะเวลาการเผา 60 นาที  โดยเม็ดดินเผาน้ำหนักเบาที่ผลิตได้ในสภาวะดังกล่าว มีค่าความหนาแน่นรวมเท่ากับ 0.75 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ความพรุนตัวปรากฏร้อยละ 64.44 การดูดซึมน้ำร้อยละ 64.82 ค่าความเป็นกรด-ด่าง 6.77 และค่าการนำไฟฟ้า 176.63 ไมโครซีเมนต์ต่อเซนติเมตร จากผลการศึกษาทั้งหมดสรุปได้ว่า เม็ดดินเผาน้ำหนักเบาที่ผลิตได้สามารถประยุกต์ใช้เป็นวัสดุดูดความชื้นในกิจกรรมด้านการเกษตรได้ นอกจากนี้ การใช้ดินตะกอนประปาและกากมันสำปะหลังนั้นจัดว่าเป็นการใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือทิ้งและการจัดการวัสดุเหลือทิ้ง อันเป็นแนวทางที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกแนวทางหนึ่ง

Article Details

บท
Original Articles

References

1. การประปาส่วนภูมิภาค. ขั้นตอนการผลิตน้ำประปาของการประปาส่วนภูมิภาค.ได้จาก: URL: https://www.pwa.co.th/contents/service/treatment Accessed: April 3, 2019.
2. ดวงกมล สุริยฉัตร, ภาสันต์ วิชิตอมรพันธ์, วรรธนะ เรืองสำเร็จ. การประยุกต์ใช้ตะกอนดินจากน้ำประปา. กรุงเทพฯ : กลุ่มเทคโนโลยีโลหวิทยา สำนักอุตสาหกรรมพื้นฐาน กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่; 2547. 43 หน้า
3. ภาสันต์ ศารทูลทัล และธีร์ หะวานนท์. การเจริญเติบโตของทานตะวันกระถางที่ปลูกในวัสดุผสมตะกอนดินน้ำประปา. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 2555; 43(2):329-332.
4. ณิชาดา ฉัตรสถาปัตยกุล. มณฑล วังเวียง, ภัทรา เพ่งธรรมกีรติ. ความเป็นไปได้ของการใช้กากตะกอนเคมีจากการผลิตน้ำประปาร่วมกับปูนซีเมนต์ในซีเมนต์ มอร์ต้าและอิฐบล็อกประสาน. Rajabhat Journal of Sciences, Hunanities  Social Sciences 2555; 13(1):48-54.
5. มนทิรา ไชยตะญากูร. การศึกษาการผลิตเม็ดดินเผาเป็นวัสดุปลูกผักไฮโดรโปรนิกส์. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 2551;39(3):400-403.
6. จิรประภา ขจรบุญ. การเตรียมเม็ดดินเผาสำหรับใช้ เป็นวัสดุปลูก. ได้จาก: URL: https://library.dip.go.th/
multim6/ebook/2559/DIP%20กสอ5%20จ571.pdf Accessed: April 3, 2019.
7. รัฐพล สมนา, เกียรติสุดา สมนา. วัสดุประสานที่ได้จากกากแคลเซียมคาร์ไบด์และตะกอนประปา. ใน: เอกสารงานประชุมวิชาการคอนกรีตประจำปี ครั้งที่ 10, เชียงราย; 2557. หน้า ENV-33 – ENV-38.
8. ASTM C 373 -88 (Reapproved 2006), Standard Test Method for Water Absorption, Bulk Density, Apparent Porosity, and Apparent Specific Gravity of Fired Whiteware Products1, United; ASTM, 2009.
9. กรมพัฒนาที่ดิน. คู่มือการปฏิบัติงานกระบวนการวิเคราะห์ตรวจสอบดินทางเคมี. ได้จาก: URL: https://www.ldd.go.th/PMQA/2553/Manual/OSD-03.pdf
Accessed: April 3, 2019.
10. Salomao R, Villas B, Mariana OC, Pandolfelli VC. Porous Alumina-Spinel Ceramics for High Temperature Application. Ceramic International 2001; 37(4):1393-1399.
11.คชินท์ สายอินทวงศ์. ออกซิเจน องค์ประกอบที่สำคัญสำหรับการเผา. ได้จาก URL: https://www.thaiceramicsociety.com/pc_burn_oxygen.php. [3 มกราคม 2562]
12. ราเชนทร์และคณะ. เทคโนโลยีการปลูกพืชไร้ดิน (Soiless Culture). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย; 2548.
13. อิทธิสุนทร นันทกิจ. การปลูกพืชไม่ใช้ดิน (Hydroponic). กรุงเทพฯ: ภาควิชาปฐพีวิทยา
คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง; 2549.