การผลิตถ่านชีวภาพและเชื้อเพลิงเขียวจากเปลือกทุเรียน

Main Article Content

Panjai - Saueprasearsit

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการผลิตถ่านชีวภาพและเชื้อเพลิงเขียวจากเปลือกทุเรียน โดยในขั้นตอนการทดลองเปลือกทุเรียนที่ถูกเตรียมเป็นถ่านเปลือกทุเรียน (DPC) และเปลือกทุเรียน (DP) จะถูกบดและผสมกับตัวประสาน คือ กากไขมัน (WG) ที่อัตราส่วนโดยมวล 1:1, 2:1, 3:1 จนถึงอัตราส่วนที่ไม่สามารถขึ้นรูปได้ ทำการศึกษาอัตราส่วนผสมที่เหมาะสมจากการพิจารณาค่าความสามารถในการขึ้นรูป และคุณสมบัติทางกายภาพของถ่านชีวภาพและเชื้อเพลิงเขียวที่ผลิตได้ จากนั้นทำการศึกษาคุณสมบัติการเป็นเชื้อเพลิงและประสิทธิภาพการใช้งานความร้อนของเชื้อเพลิงทั้งสองที่อัตราส่วนที่เหมาะสม และเปรียบเทียบกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนถ่านอัดแท่ง (มผช.238/2547) ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าอัตราส่วนผสมที่เหมาะสมระหว่าง ถ่านเปลือกทุเรียน : กากไขมัน และเปลือกทุเรียน : กากไขมัน มีค่าเท่ากับ 3: 1 และ 5: 1 ที่อัตราส่วนดังกล่าวค่าความร้อนของเชื้อเพลิงมีค่าเท่ากับ 25,996 กิโลจูลต่อกิโลกรัม และ 21,655 กิโลจูลต่อกิโลกรัม และประสิทธิภาพการใช้งานความร้อนมีค่าเท่ากับร้อยละ 20.14 และร้อยละ 16.94 คุณสมบัติการเป็นเชื้อเพลิงทั้งหมดผ่านเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนถ่านอัดแท่ง โดยราคาต้นทุนการผลิตถ่านชีวภาพเท่ากับ 8.14 บาทต่อกิโลกรัม และราคาต้นทุนการผลิตเชื้อเพลิงเขียวเท่ากับ 24.54 บาทต่อกิโลกรัม จึงสามารถสรุปได้ว่า ถ่านชีวภาพและเชื้อเพลิงเขียวจากเปลือกทุเรียนจัดเป็นพลังงานทางเลือกที่น่าสนใจ นอกจากนี้ การใช้ประโยชน์จากเปลือกทุเรียนจัดเป็นการใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือทิ้งและเป็นการจัดการวัสดุเหลือทิ้ง ซึ่งจัดเป็นแนวทางที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกแนวทางหนึ่ง

Article Details

บท
Original Articles

References

[1] สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน. รายงานสถิติพลังงานของประเทศไทย 2561. 364 หน้า.
[2] มณฑาสินี หอมหวาน. พลังงานทดแทน พลังงานทางเลือกใหม่สำหรับอนาคต. ได้จาก: URL: https://www.bu.ac.th/knowledgecenter/execute_journal/jan_mar_12/pdf/aw014.pdf [31 สิงหาคม 2562]
[3] เทคโนโลยีชาวบ้านออนไลน์. เปลือกทุเรียนมีค่า อย่าทิ้ง เปลี่ยนโฉมใหม่เป็น “พลาสติกชีวภาพ” สร้างรายได้มหาศาล. ได้จาก: URL: https://www.technologychaoban.com/agricultural-technology/article_60898
[31 สิงหาคม 2562]
[4] ชิตชเนตร บุญเฉลียว และ สุธาทิพย์ จั่นศิริ. การผลิตแผ่นฉนวนกันความร้อนจากเปลือกทุเรียน โดยใช้วัสดุเหลือใช้เป็นตัวประสาน. [ปัญหาพิเศษวิทยาศาสตรบัณฑิต]. มหาสารคาม: สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2559.
[5] นภัทร ตั้งมั่นคงวรกูล. การผลิตแท่งเชื้อเพลิงจากวัสดุเหลือใช้ในอุตสาหกรรมการเกษตรและครัวเรือน. วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) 2557;6(11):66-77.
[6] สายบัว วงษ์แสง และกิตติชัย มีทอง. การผลิต ถ่านชีวภาพจากเหง้ามันสำปะหลัง. [ปัญหาพิเศษวิทยาศาสตรบัณฑิต]. มหาสารคาม: สาขาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2554.
[7] อัจฉรา อัศวรุจิกุลชัย. การนำเปลือกทุเรียนและ ใช้ในรูปแบบเชื้อเพลิง [ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: ภาควิชาสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2554.
[8] ณัฐ เจียมเรืองจรัส และธิดารัตน์ พิลาภ. การผลิตถ่านชีวภาพจากต้นฝ้าย. [ปัญหาพิเศษสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม]. มหาสารคาม: คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2546. 98 น.
[9] ประทีป ปิ่นท้วม. การศึกษาการนำขี้เลื่อยที่เหลือหลังจากการเพาะเห็ดมาใช้ในการแปรรูปเชื้อเพลิงอัดแท่ง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2538. 75 น.
[10] มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนถ่านอัดแท่ง (มผช.238/2547). ได้จาก: URL: https://tcps.tisi.go.th/pub/tcps238_47.pdf
[31 สิงหาคม 2562].
[11] THAI SUMI CO., LTD. การวิเคราะห์ค่าความร้อน ค่าคงตัวของถ่าน ค่าของสารระเหย ค่ากำมะถันของวัสดุต่างๆ. ได้จาก: URL: https://www.charcoal.snmcenter.com/charcoalthai/hot.php [10 May, 2020]