ผลของมวลรวมหยาบที่ใช้กรวดแม่น้ำโขงต่อคุณสมบัติของคอนกรีต

Main Article Content

สิทธิรักษ์ แจ่มใส

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณสมบัติของคอนกรีตที่ใช้กรวดแม่น้ำโขงเป็นมวลรวมหยาบ ผลการศึกษาคุณสมบัติของกรวดพบว่า ค่าดัชนีความแบน ค่าดัชนีความยาว และกำลังต้านทานการสึกกร่อน อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานสำหรับคอนกรีตทั่วไปและคอนกรีตที่ทนต่อการขัดสี ผลการทดสอบกำลังอัดประลัยของคอนกรีตพบว่า การใช้กรวดเป็นมวลรวมหยาบแทนหินปูนทำให้กำลังอัดประลัยของคอนกรีตลดลงร้อยละ 7 และร้อยละ 4 สำหรับคอนกรีตที่ใช้ในงานโครงสร้างทั่วไปและใช้ในงานคอนกรีตอัดแรง ตามลำดับ ผลการทดสอบกำลังต้านทานแรงเฉือนพบว่า คอนกรีตที่ใช้กรวดเป็นมวลรวมหยาบแทนหินปูนจะส่งผลให้กำลังต้านทานแรงเฉือนลดลงร้อยละ 27 และร้อยละ 30 สำหรับคอนกรีตที่ใช้ในงานโครงสร้างทั่วไปและใช้ในงานคอนกรีตอัดแรง ตามลำดับ ซึ่งเป็นผลมาจากแรงต้านการเฉือนจากการขัดกันของมวลรวมที่ใช้กรวดต่ำกว่ากรณีที่ใช้หินปูนเป็นมวลรวมหยาบเพราะมีพื้นผิวที่เรียบกว่า อย่างไรก็ตาม คอนกรีตที่ใช้กรวดเป็นมวลรวมหยาบยังมีกำลังต้านทานแรงเฉือนมากกว่าค่ากำลังต้านทานแรงเฉือนของคอนกรีตที่ต้องการในการออกแบบองค์อาคารคอนกรีตที่ไม่อัดแรงประมาณ 3 เท่า

Article Details

บท
Original Articles

References

1. ดนุพล ตันนโยภาส, ธีรยุทธ ว่องวิริยะสกุล, วัลลภ แซ่ท่อย และชิตพล เอียดปาน. อิทธิพลของชนิดมวลรวมหยาบที่มีต่อสมบัติของคอนกรีต. ใน: การประชุมวิชาการทางวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ครั้งที่ 6; 2551. 68-73.
2. สุมิตร ประทุมวงศ์, ศักดิ์ศรี กลิ่นประเสริฐ และสมคเนย์ ชันชะรุ. การสำรวจแหล่งผลิตทรายและกรวด และทดสอบคุณสมบัติในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. รายงานการวิจัยปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต, ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2528.
3. Jaap Weerheijm. Understanding the tensile properties of concrete. First Published. UK: Woodhead Publishing Limited; 2013.
4. บวร อิศรางกูร ณ อยุธยา. คุณสมบัติและพฤติกรรมการรับแรงของคอนกรีต. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2553.
5. Neville A.M. Properties of Concrete. 3rd Edition. Singapore: Longman Singapore Publishers Pte Ltd.; 1981.
6. วินิต ช่อวิเชียร. การออกแบบโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กโดยวิธีกำลัง. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ป.สัมพันธ์พาณิชย์; 2545.
7. อัศวิน คุณาแจ่มจรัส. การใช้กรวดทดแทนหินในงานคอนกรีตบดอัด. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโยธา. บัณฑิตวิทยาลัย. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ; 2549.
8. รพีพัฒน์ โชควิวัฒนวนิช. การใช้กรวดสำหรับคอนกรีตกำลังสูง. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรม-ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโยธา. สำนักวิทยบริการ. มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2540.
9. ธนบดี อินทรเพชร และชูชัย สุจิวรกุล. การพัฒนาคอนกรีตกำลังสูงเร็วและคอนกรีตกำลังสูงสำหรับใช้งานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. ใน: การประชุมวิชาการคอนกรีตประจำปี ครั้งที่ 6. สมาคมคอนกรีตแห่งประเทศไทย; 2553. 427-434.
10. ดำรงค์ หอมดี. การศึกษาคอนกรีตกำลังสูงที่ใช้กรวดและหินย่อยเป็นมวลรวมหยาบ. ใน: การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 8. ขอนแก่น; 2545.
11. British Standard (BS 812-105.1:1989). Testing aggregates - Part 105: Methods for determination of particle shape - Section 105.1 Flakiness index. BSI publications, UK; 1989.
12. British Standard (BS 812-105.2:1990). Testing aggregates - Part 105: Methods for determination of particle shape - Section 105.2 Elongation index of coarse aggregate. BSI publications, UK; 1990.
13. ASTM C 131. Standard test method for resistance to degradation of small-size coarse aggregate by abrasion and impact in the los angeles machine. West Conshohocken, United States; 2001.
14. บริษัท ผลิตภัณฑ์และวัสดุก่อสร้าง จำกัด (CPAC). คู่มือการทดสอบหิน ทราย และคอนกรีต. บางซื่อ, กรุงเทพฯ; 2000.
15. ASTM C 192. Standard method of making and curing concretes test specimens in the laboratory. West Conshohocken, United States; 2002.
16. นเรศ พันธราธร. การออกแบบคอนกรีตอัดแรง. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ไลบรารี่ นาย; 2543.
17. ภาคิณ ลอยเจริญ. พฤติกรรมรอยต่อแบบเปียกของคานคอนกรีตเสริมเหล็กสำเร็จรูป. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโยธา. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี; 2544.
18. ACI Committee 318-19. Building Code Requirements for Structural Concrete. American Concrete Institute, Farmington Hills, MI, USA.; 2019. 404-408.
19. British Standards Institution. BS 882- Specification for Aggregates from natural sources for concrete. BSI publications, UK; 1992.
20. ASTM C 33. Standard Specification for Concrete Aggregates. West Conshohocken, United States; 2003.
21. สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มวลรวมผสมคอนกรีต มอก. 566. กลุ่มพัฒนาระบบสารสนเทศ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.); 2562.