ชนิดอาหารและสมบัติทางกายภาพต่อการเจริญเติบโตของปลาไหลนาในท่อซีเมนต์

Main Article Content

นิชาภา เฉตระการ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เพื่อศึกษาประเมินชนิดอาหารปลาไหลและสมบัติทางกายภาพต่อท่อซีเมนต์ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของปลาไหล อาหารปลาไหลมี 3 ชนิด คือ หอยเชอรี่สด (กลุ่มควบคุม) อาหารเลี้ยงกุ้ง และอาหารเลี้ยงปลาดุก แบ่งให้ 3 วันต่อครั้ง (15กรัม/ครั้ง) ใช้ปลาไหลและดินจากแหล่งปลาไหลชุกชุม อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์เพื่อเลี้ยงในท่อซีเมนต์ แต่ละท่อซีเมนต์ใช้ปลาไหล 4 ตัว น้ำหนักระหว่าง 220.83±4.27 กรัม ก่อนทำการทดลอง ทำการปรับค่าความเป็นกรด-ด่าง ของท่อซีเมนต์ให้อยู่ในช่วง 6-9 และใช้ระยะเวลาปรับท่อซีเมนต์ 14 วัน จากการทดลอง พบว่าอุณหภูมิภายนอกท่อซีเมนต์ของแต่ละเดือนจะเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อมของอากาศ การเก็บข้อมูลอุณหภูมิภายนอกบ่อ ของเดือนกุมภาพันธ์-เดือนกรกฎาคม อยู่ในช่วง 29 -34 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิภายในท่อของแต่ละเดือนจะแปรผันตามอุณหภูมิภายนอก ผลการวิเคราะห์สมบัติทางกายภาพของในบ่อซีเมนต์พบว่า สีของดินส่วนใหญ่เป็นสีน้ำตาลเข้ม เนื้อดินส่วนใหญ่เป็นดินเหนียวโดยมีปริมาณ ทราย, ดินเหนียว และ ดินทรายแป้ง เฉลี่ยก่อนเลี้ยงอยู่ในช่วง 20.8,56.9 และ 22.3 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ค่าเฉลี่ยหลังเลี้ยง 20.8,61.43 และ17.6 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ ปริมาณความชื้นและความหนาแน่นของดินก่อนเลี้ยงโดยเฉลี่ย 11.51,18.89 และ17.93 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ เฉลี่ย 18.32,15.5 เปอร์เซ็นต์  ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ของดิน ก่อนและหลังเลี้ยงเป็น 6.76 และ 7.53 ตามลำดับ ส่วนค่าอินทรียวัตถุ (OM) ก่อนเลี้ยงและหลังเลี้ยงมีค่า ต่ำถึงต่ำมาก ค่า Do และค่า BOD ของน้ำก่อนเลี้ยงคือ 7.29,3.50 และ5.30 ตามลำดับและหลังเลี้ยง คือ 7.66,3.70และ 6.70 ตามลำดับ  หลังจากทำการเลี้ยงปลาไหลนาได้ระยะเวลา 2 เดือน ค่า pHของดิน ในบ่อมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยบ่อที่เลี้ยงด้วยหอยเชอรี่มีค่า pH มากที่สุด แต่ ค่า pH ในบ่อจะลดลงในเดือนที่ 1 และ 2 ซึ่งค่า pH ในบ่อที่เลี้ยงด้วยหอยเชอรี่จะอยู่ในช่วง (ค่า pH ) 7.36 โดยปลาไหลที่เลี้ยงด้วยหอยเชอรี่จะเจริญเติบโตได้ดีที่สุดซึ่งน้ำหนักเฉลี่ย 416.25±2.13 กรัม

Article Details

บท
Original Articles

References

1. วิไลลักษณ์ กิจนะพานิช,(2531)คู่มือวิเคราะห์น้ำและน้ำเสีย.130 หน้า
2. ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดปัตตานี. 2554. องค์ความรู้ปลาไหลนา.
[ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.fisheries.go.th/ifpattani/web2/images/downloads/eelkm. pdf (19 สิงหาคม2562)
3. สุวรรณดี ขวัญเมือง บุษราคัม หมื่นสา จีรนันท์ อัจนากิตติ และสุชาติ รัตนเรืองสี. การศึกษาเบื้องต้น ทางชีววิทยาบางประการ และการทดลองเพาะพันธุ์ปลาไหลนา. เอกสารวิชาการ ฉบับที่ 54/2536. กองประมงน้ำจืด, กรมประมง;2536.
4. จอมสุดา ดวงวงษาการเลี้ยงปลาไหลเพศเดี่ยวเพื่อผลประโยชนทางการค้า คณะเทคโนโลยีประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้เชียงใหม่;2557.
5. นิชาภา เฉตระการและนันทิญา มณีโชติ. คู่มือการเลี้ยงปลาไหลในบ่อซีเมนต์. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์; 2562.
6. บุญเพ็ง คำเลิศ. การเลี้ยงปลาไหลนา. 2553 [ออนไลน์]. ได้จาก : http : //www. Rakbankerd.com.January 16 2019.
7. ฐิติมา จิโนวัฒน์.การจัดการบ่อการจัดการบ่อบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ มีนาคม (7) : 2560ได้จาก: https HYPERLINK "https://www.youtube.com/%20watch?v=s6oV8G1we4c":// HYPERLINKJune 20 2019.
8. สำเนาว์ เสาวกูล หทัยรัตน์ เสาวกูล กิติกรจินดาพล อาภาภรณ์ ผดดุงพจน์ และประหยัด หวังเป็น. การศึกษาการเพาะและการอนุบาลปลาไหลนาและการศึกษาอัตราความหนาแน่นของการเลี้ยงในบ่อคอนกรีตกลม สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์;2543.
9. ไมตรี ดวงสวัสดิ์.เกณฑ์คุณภาพน้ำเพื่อการคุ้มครองทรัพยากรน้ำจืด.เอกสารวิชาการ2530;75(1):104-7.
10. p. H.M.Smith 1965. The FreshWater Fishes of Siam T.F.H. Publication Inc. USA.
11. Karel F. Liem 1963 Sex Reversal as a Natural Process in The Synbranchi form fish Monopterus Albus Copeia. No 2, 303-312
12. อลงกลด แทนออมทอง.พันธุศาสตร์ของเซลล์. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.2554
13. เกษมศรี ซับซ้อน. ปฐพีวิทยา กรุงเทพฯ:นานาสิ่งพิมพ์.2541. หน้า 43