Adding value to corn and purple rice through production of homemade soft drink Adding value to corn and purple rice through production of homemade soft drink

Main Article Content

Nanthavut Niyomvong

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเพิ่มมูลค่าให้กับข้าว และข้าวโพดด้วยกระบวนการผลิตน้ำอัดลมระดับครัวเรือน โดยศึกษาหาอัตราส่วนระหว่างวัตถุดิบที่ใช้ ได้แก่ น้ำข้าวก่ำ และน้ำข้าวโพด ต่อปริมาณน้ำสะอาด ปริมาณของแข็งที่ละลายได้ทั้งหมด และปริมาณความเป็นกรด – ด่างที่เหมาะสม จากการทดสอบโดยกลุ่มอาสาสมัครจำนวน 30 คน ด้วยวิธีการให้คะแนนความชอบแบบ 5 ระดับ พบว่า ในผลิตภัณฑ์น้ำข้าวก่ำอัดแก๊ส ผู้บริโภคให้การยอมรับข้าวก่ำต่อน้ำในอัตราส่วน 1:20 และปริมาณของแข็งที่ละลายได้ทั้งหมดเท่ากับ 10 บริกซ์ (3.26±0.86) มากที่สุด จากการวิเคราะห์ข้อมูลทางโภชนาการไม่พบปริมาณโปรตีน พบไขมัน 0.07 % คาร์โบไฮเดรต 9.95 % สารต้านอนุมูลอิสระ 7.92 % และสารแอนโทไซยานิน 6.18 % ส่วนผลิตภัณฑ์น้ำข้าวโพดอัดแก๊ส ผู้บริโภคให้การยอมรับข้าวโพดต่อน้ำในอัตราส่วน 1:1 ยอมรับต่อปริมาณของแข็งที่ละลายได้ทั้งหมดเท่ากับ 8 บริกซ์ (3.30±0.79) จากการวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการ พบปริมาณโปรตีน 0.86 % ไขมัน 0.35 % คาร์โบไฮเดรต 7.12 % และสารต้านอนุมูลอิสระ 42.06 % จากการจากการตรวจสอบความปลอดภัยทางจุลินทรีย์ในเครื่องดื่มไม่พบเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคในเครื่องดื่มทั้งสองชนิด จากผลวิจัยชี้ให้เห็นว่าวัตถุดิบข้าวก่ำและข้าวโพดสามารถใช้เป็นแนวทางการใช้ประโยชน์จากข้าวและข้าวโพดราคาต่ำเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มอัดแก๊สที่มีคุณค่าทางสารอาหารและสามารถผลิตในครัวเรือนได้

Article Details

บท
Original Articles

References

1] จิราพรรณ คล้ายกิจจา. 2548. สับปะรด. กรุงเทพ ฯ : เกษตรสยามบุ๊คส์. หน้า 96.
[2] จุฑามาศ ถิระสาโรช และ เฉลิมพล ถนอมวงค์. (2553). การผลิตเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพจากข้าวหอม นิล. วารสารวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (ปีที่ 3) : 397–401.
[3] รวมพร เลี่ยมแก้วและเพ็ญขวัญ ชมปรีดา. 2561. การทดสอบการยอมรับทางประสาทสัมผัสของ เครื่องดื่มน้ำนมข้าวโพดผสมธัญพืช. บทความวิจัย สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย.
(ปีที่ 7) : 82-91.
[4] วรวีร์ รายา. 2558. ข้าวลืมผัว. ฝ่ายส่งเสริมและ เผยแพร่สำนักส่งเสริมและฝึกอบรบ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (ปีที่ 2) : 1-15
[5] สวามินี นวลแขกุล . (2546). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ เครื่องดื่มข้าวโพดเสริมเส้นใยอาหารจากกากที่เหลือ
จากการผลิตน้ำนมข้าวโพด. กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย. หน้า 118.
[6] สุรพงษ์ พินิจกลาง. 2561. การผลิตเครื่องด่ืมซุปเปอร์ เบอรี่ท่ีมีสารสกัดแอนโธไซยานินจากข้าวหอมนิล
บนพื้นฐานของการวิเคราะห์ทางด้านประสาทสัมผัส. ว. วิทยาศาสตร์เกษตร. 49 : 25-28.
[7] ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์. 2560. พันธุ์นครสวรรค์ 3 จากต้นน้ำสู่ปลายทางในการประชุมวิชาการ สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน กรมวิชาการ เกษตร ประจำปี 2560. 29-30 สิงหาคม 2560 ณ โรงแรมระยองรีสอร์ท จังหวัดระยอง.
[8] อมรรัตน์ มุขประเสริฐ. 2545. น้ำผลไม้ผสมอัดก๊าซ. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 12 :
50-56.
[9] Centrallabthai. 1998. In-house method TE-CH- 120 based on Bull, Thailand.
[10] Sullivan DM, Carpenter DE. (1993). Methods of analysis for nutrition labeling. AOAC International.
[11] Céccoli, Gabriel & Ortega, Leandro & Gariglio, N. & Favaro, J.C. & Alberto, Carlos & Bouzo, Carlos. (2014). Sweet corn (Zea mays L.) growth and yield are influenced by establishment methods. Bothalia - African Biodiversity and Conservation. 44. 2-12
[12] George W. Latimer, Jr. 2016. Official methods of analysis of AOAC International. Association of officiating analytical chemists Rockville, Maryland.

[13] Kolahdouzan, M., & Hamadeh, M. J. (2017). The neuroprotective effects of caffeine in
neurodegenerative diseases. CNS neuroscience & therapeutics, 23(4), 272–290.
[14] Marriott, B. P., Hunt, K. J., Malek, A. M., & Newman, J. C. (2019). Trends in Intake of Energy and Total Sugar from Sugar-Sweetened Beverages in the United States among Children and Adults. NHANES 2003-2016. Nutrients, 11(9), 2004.
[15] Palungwachira, P., Tancharoen, S., Phruksaniyom, C., Klungsaeng, S., Srichan, R., Kikuchi, K., & Nararatwanchai, T. (2019). Antioxidant and Anti-Inflammatory Properties of Anthocyanins Extracted from Oryza sativa L. in Primary Dermal Fibroblasts. Oxidative medicine and cellular longevity. 2019.
[16] Peerapen, P., & Thongboonkerd, V. (2018). Caffeine in Kidney Stone Disease: Risk or Benefit?. Advances in nutrition (Bethesda, Md.), 9(4) : 419–424.
[17] Ryu, H. K., Kim, Y. D., Heo, S. S., & Kim, S. C. (2018). Effect of carbonated water manufactured by a soda carbonator on etched or sealed enamel. Korean journal of orthodontics, 48(1) : 48–56.
[18] Wan, C., Yu, Y., Zhou, S., Liu, W., Tian, S., & Cao, S. (2011). Antioxidant activity and free radical-scavenging capacity of Gynura divaricata leaf extracts at different temperatures. Pharmacognosy magazine, 7(25), 40–45. https://doi.org/10.4103/0973- 1296.75900