กลุ่มอาการที่เกิดต่อร่างกายจากการใช้คอมพิวเตอร์ในการปฏิบัติงานของบุคลากร คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้คอมพิวเตอร์ กลุ่มอาการและการรับรู้ถึงที่เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์ในการปฏิบัติงานของบุคลากรคณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากรของคณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา ทั้งสายอาจารย์ และสายสนับสนุน จากการรวบรวมข้อมูล ได้ข้อมูลจากตัวอย่างทั้งสิ้น 44 คน จากจำนวนทั้งหมด 48 คน คิดเป็นร้อยละ 91.66 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม ซึ่งมีความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม (α-Coefficient = 0.948) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างใช้คอมพิวเตอร์ในการปฏิบัติงาน 5 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 56.8 มีระยะการใช้คอมพิวเตอร์ในแต่ละวัน อยู่ในช่วง 6-9 ชั่วโมงต่อวัน ร้อยละ 47.7 ระยะเวลาการการพักอยู่ในช่วง 30 นาที-1 ชั่วโมง ร้อยละ 65.9 ประเภทการหยุดพัก ลุกจากที่นั่ง สลับงานอื่น มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 65.9 ใช้สายตาในการเล่นโทรศัพท์มือถือ ร้อยละ 100 อยู่ในช่วง 1-2 ชั่วโมง ร้อยละ 54.5
กลุ่มตัวอย่างมีกลุ่มอาการทางกล้ามเนื้อและกระดูกที่เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์ ได้แก่ หลังส่วนล่างด้านซ้ายและขวา ร้อยละ 75 ไหล่ด้านซ้าย ร้อยละ 68.2 และ บริเวณ ท้ายทอย คอ ไหล่ขวา หลังส่วนบนซ้าย ร้อยละ 65.9 บริเวณที่มีอาการปวดเมื่อยตลอดเวลาต้องกินยา คือ ท้ายทอย คอ หลังส่วนบนซ้าย ร้อยละ 4.5 ปวดเมื่อยหยุดพักอาการไม่หาย ไหล่ซ้าย ร้อยละ 22.7 ปวดเมื่อยแต่หยุดพักงานอาการก็หาย หลังส่วนล่างซ้ายและขวา ร้อยละ 38.6 กลุ่มดวงตาและระบบการมองเห็น อาการแสบตา ร้อยละ 88.5 กลุ่มอาการที่เป็นประจำ อาการปวดตามากที่สุดร้อยละ 11.4 กลุ่มอาการที่เป็นเกือบทุกครั้ง อาการแสบตา และตาสู้แสงไม่ได้ ร้อยละ 4.5 กลุ่มอาการที่เป็นบ่อย พบว่า อาการแสบตามากที่สุด ร้อยละ 29.5
Article Details
References
2. กลุ่มอาชีวอนามัย สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค .(2560). แนวทางการจัดบริการอาชีวอมัยให้กับแรงงานในชุมชนด้านการยศาสตร์ สาหรับเจ้าหน้าที่หน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิ,กันยายน 2560.
3. กิตติ อินทรานนท์. (2548).การยศาสตร์.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
4. คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล (2557). สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2563, จาก ,https://www.dek-d.com/nugirl/33768/.
5. คณะแพทย์ รพ.รามาฯ (2557).ภัยเงียบจากการใช้คอมพิวเตอร์. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2563,จากhttps://www.thairath.co.th/content/399914.
6. จันทณี นิลเลิศ.(2560). การนั่งตามหลักการยศาสตร์,เวชบันทึกศิริราช ปีที่ 10, ฉบับที่ 1, มกราคม - เมษายน 2560.
7. ชนนท์ กองกมล (2560) เอกสาร power point “การป้องกันการบาดเจ็บจากการทำงาน ด้วย Ergonomics”หน่วยอาชีวอนามัย ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชนคณะแพทยศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์.
8. ธันยวงศ์ เศรษฐ์พิทักษ์. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลให้พนักงานออฟฟิศทางานติดต่อกันเป็นระยะเวลานานและเป็นโรคคอมพิวเตอร์ซินโดรม,คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
9. นรากร พลหาญและคณะ.(2557). กลุ่มอาการที่เกิดต่อร่างกายจากการใช้คอมพิวเตอร์ในการปฏิบัติงานของ บุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยนครพนม,วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) , ปีที่ 6 ฉบับที่ 12, กรกฎาคม - ธันวาคม 2557.
10. นริศ เจริญพร. การยศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2543.
11. ปาจรา โพธิหัง,(2559).ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดกลุ่มอาการจอภาพคอมพิวเตอร์ในกลุ่มวัยทำงานไทย: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ, วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, ปีที่ 24 ฉบับที่ 4 ตุลาคม - ธันวาคม 2559
12. เมธินี ครุสันธิ์. (2557). อาการปวดไหล่และการประเมินความเสี่ยงต่ออาการปวดไหล่ของพนักงานสำนักงานผู้ใช้คอมพิวเตอร์ในมหาวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
13. เมธินี ครุสันธิ์,สุนิสา ชายเกลี้ยง.(2557).การประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ในพนักงานสำนักงานมหาวิทยาลัย,วารสารวิจัย มข,, ปีที่ 19 ฉบับที่ 5, เลขหน้า 696-707.
14. (ร่าง)มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมการจัดสภาพการทำงานตามหลักการยศาสตร์:การทำงานกับคอมพิวเตอร์ .(2556) สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2563, จากhttps://www.dropbox.com/s/ioinn7kz0l5z8c5/FDNS-VDT-FDNS-20NOV2013.pdf
15. รัตนาภรณ์ อมรรัตนไพจิตร และสุดธิดา กรุงไกรวงศ์. (2544). การยศาสตร์ในสถานที่ทำงาน. กรุงเทพฯ : บริษัท เรียงสาม กราฟฟิค ดีไซน์ จำกัด.
16. ไวยวิทย์ ไวยกาญจน์, นันทกฤษณ์ ยอดพิจิตร และสรรพสิทธิ์ ลิ่มนรรัตน์. (2555). การประเมินทางการยศาสตร์สำหรับงานยกในโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์.
17. สุนิสา ชายเกลี้ยง. (2552).วารสารวิจัยคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ปีที่ 2 ฉบับที่ 3, กันยายน - ธันวาคม 2552.
18. อมร โฆษิดาพันธุ์, อริสา สารอง, และ สุทธิ์ ศรีบูรพา. (2559). ความเสี่ยงทางการยศาสตร์และอาการปวดที่ส่งผลต่อความบกพร่องของรยางค์แขน ของพนักงานสำนักงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงาน, การประชุมวิชาการการยศาสตร์ 2559 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
19. อนามัย (ธีรวิโรจน์) เทศกะทึก. (2555). การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.