การพัฒนาระบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ โรงพยาบาลชินเขต ในกรุงเทพมหานคร Development of a Nursing System for Coronary Artery Disease patient at Chinnakhet Hospital

Main Article Content

สุทัศน์ ศุภนาม

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


          การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจโรงพยาบาลชินเขต โดยใช้กรอบแนวคิดทฤษฏีระบบมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วย กลุ่มตัวอย่างมี 2 กลุ่ม ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพที่ให้การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ จำนวน 15 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง และผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจที่เข้ารับการรักษาใน โรงพยาบาลชินเขต จำนวน 450 คน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ 1) แบบประเมินสมรรถนะการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ 2) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อระบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจของพยาบาลวิชาชีพ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการได้รับระบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการทดสอบที


ผลการวิจัย พบว่าระบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย การจัดตั้งหน่วยผู้ป่วยเฉพาะโรค การจัดเตรียมอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้ป่วย การแต่งตั้งพยาบาลผู้จัดการผู้ป่วยรายกรณี การนำแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจมาใช้ในการพยาบาลผู้ป่วยอย่างเป็นธูปธรรม การพัฒนาสมรรถนะพยาบาลผู้ดูแลอย่างต่อเนื่อง และการประเมินผลการปฏิบัติการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพที่ให้การดูแล ภายหลังการนำระบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจที่พัฒนาไปใช้ พยาบาลวิชาชีพมีสมรรถนะการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจโดยรวมและรายด้านสูงกว่าก่อนการใช้ระบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01) พยาบาลวิชาชีพและผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจมีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลการศึกษาทำให้ได้ระบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจที่สามารถนำไปใช้ได้จริงในบริบทของโรงพยาบาลชินเขต รวมทั้งทำให้เกิดคุณภาพในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ และมีกระบวนการรักษาและการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรมมากขึ้น


คำสำคัญ: ระบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ, ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ

Article Details

บท
Original Articles

References

กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค. (2563). คู่มือสำหรับการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ:

พี.เอ.ลีฟวิ่ง..

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2553). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ไอ อินเตอร์

มีเดีย จำกัด.

นิตยา จันทร์นคร, ทัศนีย์ แดขุนทด, อุไรวรรณ ศรีดามา และปิยนุช บุญกอง. (2563). การพัฒนารูปแบบการประเมินสัญญาณเตือนภาวะวิกฤต สำหรับผู้ป่วยหนักวัยผู้ใหญ่ โรงพยาบาลสกลนคร.

วารสารกองการพยาบาล. 47(1). 39-60.

นิตยา ชนะกอก. (2561). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด STEMI โดยการจัดการผู้ป่วยรายกรณี ในโรงพยาบาลลำพูน. วารสารสาธารณสุขล้านนา.

(2). 37-43.

รัชนี ผิวผ่อง, ธัญสุดา ปลงรัมย์ และวิไลวรรณ เงาศรี. (2564). การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด STEMI ที่ได้รับการเปิดขยายหลอดเลือดหัวใจ

ผ่านสายสวน โรงพยาบาลบุรีรัมย์. วารสารการแพทย์ โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 30(2), 28-38.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2563). สิถิติสาธารณาสุข. กรุงเทพฯ:

ดีไชน์คอนดักชั่น.

เสาวนีย์ เนาวพานิช, บุญทิพย์ สิริธรังสรี, สุพิมพ์ ศรีพันธ์วรสกุล, พิชชุดา วิรัชพินทุ และวันเพ็ญ พิญโญภาสกุล. (2558). การพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพที่ดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจ

และหลอดเลือดในโรพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง. วารสารการพยาบาล. 33(1), 33-41.

แสงอรุณ ใจวงศ์ผาบ, ศรีวรรณ เรืองวัฒนา, ธนิตา จิตนารินทร์ และกนกรัตน์ มัชชะ. (2563). การพัมนาระบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลลำพูน. วารสารพยาบาล. 69(2),

-45.

Ambrose, J., & Singh, M. Pathophysiology of coronary artery disease leading to acute coronary syndromes. F1000 Prime Reports. 2016;7:08.

American Heart Association [AHA]. Epidemiology of coronary heart disease and acute coronary syndrome. Annals of Translational Medicine. 2018;4(13):256.

Amsterdam, E., Wenger, N., Brindis R., Casey D., Ganiats T., & Holmes D. guideline for the management of patients with non-ST-elevation acute coronary

syndromes: executive summary: a report of the American College of Cardiology/American Heart Association Task Force on Practice Guidelines. Circulation.

;130(25):2354-94.

Coventry, L., Bremner, A., Williams, T., Celenza, A., Jacobs, I., & Finn, J. Characteristics and Outcomes of MI Patients with and without Chest Pain: A Cohort Study.

Heart, Lung and Circulation. 2019;24(8):796-805.

Donna, S., & Workman, Y. Prevention of cardiovascular disease in adults. Journal of the American College of Cardiology. 2017;38:1787-821.

El-Toukhy, H., Omar, A., & Abou, M. Effect of acute coronary syndrome patients’ education on adherence to dual antiplatelet therapy. Journal of the Saudi Heart

Association. 2017;29(4):252-8.

Guo, P., & Harris, R. The effectiveness and experience of self-management following acute coronary syndrome: A review of the literature. International journal of

nursing studies. 2016;61:29-51.

Lefort, H., Fradin, J., Blgnand, M., & Tourtier, J. Pre-hospital management of acute coronary syndrome. Soins; la revue de reference infirmiere. 2016;(793):39-43.

Liu, X., Wu, C., Willis, K., Shi, Y., & Johnson, M. The impact of inpatient education on self-management for patients with acute coronary syndrome and type 2

diabetes mellitus: a cross-sectional study in China. Health Education Research. 2018;33(5):

-401.

Kemmis, S., McTaggart, R. (1988). The action research planner. 3 rd edition. Vitoria: Deakin University.

Medical Record of Chinnakhet hospital. (2019).

Sulo, G., Igland, J., Nygard, O., Vollse,t S., Ebbing, M., & Poulter, N. (2017). Prognostic Impact of In-Hospital and Postdischarge Heart Failure in Patients With Acute

Myocardial Infarction: A Nationwide Analysis Using Data From the Cardiovascular Disease in Norway (CVDNOR) Project. Journal of the American Heart

Association. 6(3). 225-236.

Yamane, T., (1970). Taro Statistic : An Introductory Analysis. New York: Harper & row.

World health organization [WHO]. (2020). Cardiovascular Disease (CVDs). Retrieved from http://www.who.int./mediacentre/factsheets

Wright, E., Steinhubl, S., Jones, J., Barua, P., Yan, X., & Van, R. (2017). Medication burden in patients with acute coronary syndromes. The American journal of

managed care. 23(4): 106-112.