หุ่นยนต์อัตโนมัติดูแลพืชไฮโดรโปรนิกส์

Main Article Content

หทัยเทพ วงศ์สุวรรณ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการทำงานของระบบอัตโนมัติ รวมถึงการออกแบบหุ่นยนต์ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางด้านการเกษตร โดยเฉพาะพืชที่ปลูกแบบไฮโดรโปนิกส์ โดยประยุกต์ใช้ความรู้ในการเขียนโปรแกรม มาทำระบบประมวลผลภาพเพื่อนำมาวิเคราะห์การเจริญเติบโตของพืชในแปลงไฮโดรโปนิกส์ การวิเคราะห์โรคที่เกิดขึ้นกับพืชไฮโดรโปนิกส์ รวมถึงใช้ความสามารถทางด้านการออกแบบตัวหุ่นให้ทำงานได้อย่างเหมาะสม ต้นทุนต่ำ มีอายุการใช้งานยาวนาน ดูแลรักษาง่าย และอะไหล่สามารถหาซื้อได้ทั่วไปตามท้องตลาด


ผู้ดำเนินงานได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อประกอบการวิเคราะห์การเจริญเติบโตโดยเทียบเป็นเปอร์เซนต์ต่อพื้นที่ที่กล้องสามารถจับภาพได้ รวมถึงพิจารณาความคุ้มค่าที่ได้เมื่อใช้ทดแทนแรงงานมนุษย์ โดยหุ่นยนต์ดูแลพืชไฮโดรโปนิกส์สามารถทำงานแทนแรงงานมนุษย์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อรองรับปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่มีแนวโน้มลดลงในทุกๆปี ซึ่งอาจก่อให้เกิดสินค้าทางการเกษตรขาดตลาดเนื่องจากคุณภาพที่ไม่ได้มาตรฐาน ส่งผลให้พืชมีราคาสูงซึ่งเป็นไปตามกลไกการตลาดเนื่องจากถูกคัดทิ้ง


ผลการทดสอบจะเห็นได้ว่าหุ่นยนต์ทำงานช้ากว่ามนุษย์ประมาณ 29.55% (เปรียบเทียบกับการเดินดูพืชรอบแปลงของมนุษย์) แต่สามารถดูแลพืชได้ละเอียดและทั่วถึงมากกว่า โดยทดลองกับพืชบนรางเพียง 3 ตำแหน่ง วิ่งไปกลับระยะทางรวม 0.65 เมตร สามารถประมวลผลการเจริญเติบโตของพืชได้อย่างแม่นยำเฉลี่ย 86.67% (ทดลองในผักแคล) โดยใช้เวลาในการเคลื่อนที่บนรางในห้องปฏิบัติการเฉลี่ย 3 นาที 19 วินาที หรือความเร็วเฉลี่ย 0.392 เมตร/นาที(Abstract)

Article Details

บท
Original Articles

References

ศุภกานต์ จันทร์เสรีวิทยา, ปิยวัฒน์ ปาระมี, ศุภณัฐ เอี่ยม

ผ่องใส(2562), หุ่นยนต์เก็บเกี่ยวผักไฮโดรโปนิค

อัตโนมัติ, วารสารสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่ง

ประเทศไทย, ปีที่ 25 ฉบับที่ 1 (2562) หน้า 56-63.

Iron Ox ผุดไอเดียล้ำ ใช้หุ่นยนต์ทำฟาร์ม รับเกษตรกรรม

ยุคใหม่. [ออนไลน์, จาก

https://www.smethailandclub.com/technology-

-id.html

PimDeed. (2562). การ contours โดยใช้ python colab.

[ออนไลน์] , จาก

https://medium.com/@phimwadi0033/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3-contours-%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%A2%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89-python-colab-81240a1af3e1

เริ่มต้นปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ต้องรู้จักระบบน้ำกัน

หน่อย(2563) [ออนไลน์] , จาก

https://www.baanlaesuan.com/100198/ideas/garden-ideas/hydroponics#)

F. Jaimes, B. Collazos, E. Arce and M. Chauca.

(2019), Hydroponic System with Automated

Hydrolysis Using Renewable Energy Self-

Sustainable, MATEC Web of Conferences 256, 0

(2019), 6 pp.

I. L. Alejandro, M. M. Julia and R. Humberto (2019),

Automation and Robotics Used in

Hydroponic System, In book: Hydrocultural

and Hydroponics Systems, December 2019,

IntechOpen,

J. Bourcier, O. Barais, N. Harrand, A. Rio , B.

Combemale (2018), Farmbot, a Small Scale

Autonomous Farming Machine: Software

Challenges, Computational Methods in Water

Resources XXII Bridging gaps between data,

models, and predictions, June 3-7, 2018, Saint-

Malo, France , 2p.

M. Mehra, S. Saxena, S. Sankaranarayanan, R. J.

Tom and M. Veeramanikandan(2018), IoT based

hydroponics system using Deep Neural

Networks, Computers and Electronics in

Agriculture, Vol. 155, December 2018, Pages

-486

Niels T., Guoming A. L., Dhruv A., Abhinav V. and

George A. K.(2012), Automation of

Hydroponic Installations using a Robot with

Position Based Visual Feedback, Proceedings

of 3rd International Conference of Agricultural

Engineering (CIGR '12), July, 2012, 6 pp.

P. Hemalatha K, Dhanalakshmi, S. Matilda and M.

Bala Anand(2018), Farmbot-a Smart Agriculture

Assistor Using Internet of Things, International

Journal of Pure and Applied Mathematics, Volume

No. 10 2018, 557-566.