การทำนายปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางสังคมออนไลน์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการทำนายปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางสังคมออนไลน์ ในเขตกรุงเทพมหานคร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณมีรูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจโดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นพฤติกรรมผู้บริโภคในการซื้อสินค้าผ่านทางสังคมออนไลน์ จำนวน 400 ตัวอย่าง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งมีตัวแปรอิสระที่เป็นปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 7Ps ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ปัจจัยด้านราคา ปัจจัยด้านการจัดจำหน่าย ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด ปัจจัยด้านบุคลากร ปัจจัยด้านกระบวนการให้บริการ และปัจจัยด้านลักษณะทางกายภาพ ส่วนตัวแปรตามคือการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางสังคมออนไลน์ ซึ่งงานวิจัยนี้ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่างด้วยสถิติพรรณนาประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนสถิติอนุมานประกอบด้วย เทคนิคการวิเคราะห์ปัจจัย (Factor Analysis) และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยการทำนายปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางสังคมออนไลน์มีทั้งหมด 5 ปัจจัย ได้แก่ 1) ปัจจัยด้านข้อมูลร้านค้า ข้อมูลสินค้าและกระบวนการให้บริการ 2) ปัจจัยด้านบุคลากรและคุณภาพของสินค้า 3) ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด 4) ปัจจัยด้านด้านราคา และ 5) ปัจจัยด้านภาพลักษณ์ของสินค้าและร้านค้า
ผลการศึกษาการทำนายปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางสังคมออนไลน์ในครั้งนี้ พบว่าปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาด ได้แก่ ด้านข้อมูลร้านค้า ข้อมูลสินค้าและกระบวนการให้บริการ ด้านบุคลากรและคุณภาพของสินค้า ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านด้านราคา และด้านภาพลักษณ์ของสินค้าและร้านค้า ทุกปัจจัยส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางสังคมออนไลน์
Article Details
References
ตัวแปร. พิมพ์ครั้งที่ 3. ภาควิชาสถิติคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
เกรียง กิจบำรุงรัตน์. (256/).หลักสถิติเพื่อการวิเคราะห์
ข้อมูลทั่วไป พิมพ์ครั้งที่ 2. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ.
เกรียง กิจบำรุงรัตน์. (2564). การทำนายปัจจัยของ
ผู้บริโภคที่มีอิทธิผลต่อการซื้อสินค้าผ่านทางแอพพลิเคชั่นออนไลน์.KKU SCIENCE JOURNAL. Khon Kaen University. Vol. 49 No.1 January - March 2021. pp 72 – 84.
เกรียง กิจบำรุงรัตน์. (2564).การทำนายปัจจัยที่มีอิทธิ
พลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านเฟซบุ๊กและและอินสตาแกรม.Journal of Science and Technology Mahasarakham University. Vol.40 No.3 May-June 2021. pp 260-271
กันตพล บันทัดทอง, (2557) พฤติกรรมการใช้เครือข่าย
สังคมออนไลน์และความพึงพอใจของกลุ่มคนผู้สูงอายุ ในเขตกรุงเทพมหานคร หลักสูตรนิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ชัยวัฒน์ พิทักษ์รักธรรม. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์
ต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภค.
(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร,คณะบริหารธุรกิจ.
ธนพร วัฒนวนิชชกร. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการ
เลือกใช้บริการเว็บไซต์รับจองห้องพักออนไลน์.
(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี.
เมธชนัน สุขประเสริฐ. (2559). ปัจจัยจากการใช้สื่อ
ออนไลน์ยูทูปที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้า
ของผู้บริโภคในประเทศไทย กรณีบิวตี้บล็อก
เกอร์.(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,คณะพาณิชยศาสตร์
และการบัญชี.
วิภาวรรณ มโนปราโมทย์. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ
การตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านสังคมออนไลน์
(อินสตาแกรม) ของประชากรในกรุงเทพ มหา
นคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, คณะบริหารธุรกิจ.
สิงหะ ฉวีสุข และ สุนันทา วงศ์จตุรภัทร. (2553). ทฤษฎี
การยอมรับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ. วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศลาดกระบัง, 1(1), 1-20.
สุภาพร ชุ่มสกุล. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อสินค้า
และบริการผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ของนักศึกษาระดับปริญญาโท
มหาวิทยาลัยศิลปากร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, สาขาการประกอบการ.
สุภาวรรณ ชัยทวีวุฒิกุล. (2555).พฤติกรรมการซื้อสินค้า
และบริการออนไลน์แบบรวมกลุ่มกันซื้อบนเว็บไซต์ Ensogo ของลูกค้าในเขตกรุงเทพ มหานคร. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร,
คณะบริหารธุรกิจ, สาขาการตลาด.
อดุลย์ จาตุรงคกุล. (2543). กลยุทธ์การตลาด.กรุงเทพฯ:
โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อาภาภรณ์ วัธนกุล. (2555). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อ
พฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้บริโภคผ่านทาง
เว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ยอดนิยมของประเทศไทย. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, คณะบริหารธุรกิจ, สาขาการตลาด
Armstrong, G., & Kotler, P. (2003). Marketing and
introduction (6th ed.). New Jersey: Pearson
Education.
B. Schmitt. (2009), The concept of brandexperience.
Journal of Brand Management, 16 (2009),
pp. 417-419.
G. Biedenbach and A. Marell. (2010). The impact of
customer experience on brand equity in a
business-to-business services setting. Journal of Brand Management, 17 (2010), pp.446-458.
J.E. Escalas. (2004). Narrative processing: Building
consumer connections to brands. Journal of Consumer Psychology, 14 (2004), pp. 168-180
K. Fog, C.,Budtz and B. Yakaboylu (2005).
Storytelling: Branding in Practice. Springer,
Berlin (2005)
M. Fetscherin and J.C.Usunier (2012). Corporate
branding: an interdisciplinary literature review European Journal of Marketing, 46 (2012),
pp. 733-753,
Oliver, R. L., and Shor, M. (2003). Digital
Redemption of Coupons: Satisfying and Dissatisfying Effects of Promotion Codes. Journal of Product & Brand Management, 12(2), pp.121-134. DOI