ประสิทธิภาพของผักตบชวาและจอกในการบำบัดน้ำเสียชุมชนด้วยระบบการปลูกแบบไร้ดินจำลอง

Main Article Content

รวินิภา ศรีมูล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของผักตบชวาและจอกในการบำบัดน้ำเสียชุมชนด้วยการปลูกแบบไร้ดินจำลอง ผลการศึกษาพบว่า ผักตบชวาและจอกซึ่งเป็นพืชลอยน้ำสามารถบำบัดน้ำเสียชุมชนได้ดี โดยเฉพาะความกระด้าง แอมโมเนียไนโตรเจน ฟอสเฟตฟอสฟอรัส ของแข็งละลายน้ำทั้งหมด ของแข็งทั้งหมด ของแข็งแขวนลอยทั้งหมด บีโอดี ไขมันและน้ำมัน แบคทีเรียทั้งหมด และออกซิเจนละลายน้ำ (p<0.05) เนื่องจากเป็นพืชลอยน้ำมีระบบรากแขนงและรากฝอยจำนวนมากเปรียบเหมือนวัสดุกรองของแข็งและสารแขวนลอย พืชลอยน้ำยังมีการดูดซึมธาตุอาหารและแร่ธาตุต่างๆ ทำให้แอมโมเนียไนโตรเจน ฟอสเฟตฟอสฟอรัส และความกระด้างลดลง และยังพบว่าพืชลำเลียงออกซิเจนจากบรรยากาศและออกซิเจนที่เกิดจากการสังเคราะห์แสงผ่านลำต้นลงสู่รากปล่อยออกสู่น้ำ ทำให้ปริมาณออกซิเจนละลายน้ำเพิ่มขึ้น ค่าบีโอดีจึงลดลง แต่จากการทดลองพบว่าอุณหภูมิและความเป็นกรดด่างของน้ำไม่แตกต่างกัน (p>0.05) เนื่องจากสถานที่ทำการทดลองอยู่ในโรงเรือนจึงทำให้อุณหภูมิไม่เปลี่ยนแปลงไปมาก รวมทั้งความเป็นกรดด่างของน้ำเสียที่บำบัดแล้วอยู่ในช่วง 6.8-7.0 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานน้ำทิ้งชุมชน จากผลการวิจัยนี้สรุปได้ว่าการใช้ผักตบชวาและจอกสามารถบำบัดน้ำเสียชุมชนได้ดีจึงเป็นประโยชน์ในการนำระบบการปลูกพืชแบบไร้ดินไปใช้บำบัดน้ำเสียภายในชุมชนได้

Article Details

บท
Original Articles

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2545). พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 กฎ ประกาศและระเบียบที่เกี่ยวข้องด้านการควบคุมมลพิษ. พิมพ์ครั้งที่ 5 (แก้ไขเพิ่มเติม). โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก. กรุงเทพมหานคร. 1,069 หน้า.
ลลินี ทับทิมทอง และ มณฑล ฐานุตตมวงศ์. (2554). การบำบัดน้ำเสียจากหอพักนิสิตด้วยระบบบึงประดิษฐ์. วิศวกรรมสาร มก, 24(77), 47-57.
ศุวศา กานตวนิชกูร. (2544). การกำจัดไนโตรเจนโดยระบบ Combined Constructed Wetland ในเขตอากาศร้อน. ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุชาดา ศรีเพ็ญ. (2542). พรรณไม้น้ำในประเทศไทย. โรงพิมพ์อมรินทร์พรินติงแอนด์พับลิชชิง, กรุงเทพ. 312 หน้า.
Keller, R. (2005). Hydroponic cultivation of lettuce (Lactuca sativa) using effluents from primary, secondary and tertiary+UV treatments. Water Science and Technology: Water Supply, 5(1), 95-100.
Wada, T., (2019). Chapter 1.1-Theory and technology to control the nutrient solution of hydroponics: In Anpo, M., Fukuda, H. and Wada, T., (Eds.). Plant Factory Using Artificial Light, Elsevier. Japan.
Xiuxiu, R., Wei, E.Y., Jianwei, Z., Hua, C., Liangwen, W., Guang, R.Q. and Ray, L. (2016). Hydroponic removal of organic contaminants from water by using ryegrass and organobentonites simultaneously. Frost Applied Clay Science, 119, 333-337.