ผลของโปรแกรมส่งเสริมโภชนาการเพื่อลดความชุกของเด็กวัยเรียนที่มีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน: กรณีศึกษา

Main Article Content

เฉลิมพร นามโยธา

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


ภาวะน้ำหนักเกินและอ้วนเป็นภัยคุกคามด้านสุขภาพในเด็กอย่างมากส่งผลต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดความชุกของเด็กวัยเรียนที่มีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน ศึกษาใน 2 โรงเรียน จากเด็กวัยเรียน อายุ 6 -12 ปี ที่มีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน (+2SD to >+3SD) จำนวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน ดำเนินการส่งเสริมสุขภาพ 3 เดือน โดยกลุ่มทดลองได้รับชุดโปรแกรมส่งเสริมโภชนาการและการส่งเสริมสุขภาพขั้นพื้นฐาน ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับชุดโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพขั้นพื้นฐาน และติดตามผลการศึกษา 3 เดือน เก็บข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์การบริโภคอาหารย้อนหลัง 24 ชั่วโมง และแบบประเมินภาวะโภชนาการ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติที่ใช้เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยปริมาณพลังงานที่เด็กวัยเรียนได้รับ (กิโลแคลลอรี) คือ Analysis of covariance; ANCOVA วิเคราะห์ภายใต้วิธีการทางสถิติ General estimating equations models (GEE) ผลการศึกษาพบว่า เมื่อสิ้นสุดการทดลองกลุ่มทดลองบริโภคอาหารลดลงแตกต่างจากกลุ่มควบคุม 323.33 กิโลแคลลอรี (95% CI = 215.00 to 421.23, p-value < 0.001) มีเด็กวัยเรียนที่สามารถควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ภาวะโภชนาการปกติได้ (>-1.5 S.D. to +1.5 S.D.) กลุ่มทดลอง 8 คน และกลุ่มควบคุม 4 คน คิดเป็น 40% และ 20% ตามลำดับ โปรแกรมนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมสุขภาพได้


 

Article Details

บท
Original Articles

References

1. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2561). รายงานประจำปี กรมอนามัย 2560. กรุงเทพฯ; สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.
2. จตุพร จำรองเพ็ง, จีราภรณ์ กรรมบุตร, ณัฐพัชร์ บัวบุญ. (2562). ผลของโปรแกรมควบคุมน้ำหนักต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหาร พฤติกรรมการมีกิจกรรมทางกายและน้ำหนักตัวของเด็กวัยเรียนตอนปลายที่มีภาวะน้ำหนักเกิน. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ;13(1), 1-10.
3. ประไพ เดชคํารณ. โรคอ้วนในเด็ก. [Online], 2 สิงหาคม 2559. https://www.chiangmaihealth.go.th/ cmpho_web/document/160817147141801012.pdf.
4. ปุลวิชช์ ทองแตง และจันทร์จิรา สีสว่าง. (2555). ภาวะน้ำหนักเกินในเด็กไทย. รามาธิบดีพยาบาลสาร;18(3): 287-297.
5. รังสรรค์ ตั้งตรงจิต และเบ็ญจลักษณ์ ผลรัตน์. (2550). โรคอ้วนการเปลี่ยนแปลงทางด้านโภชนาการและชีวเคมี. กรุงเทพฯ : เจริญดีมั่นคงการพิมพ์, 1-36.
6. ลัดดา เหมาะสุวรรณ. (2553). โภชนาการในเด็กไทย. สงขลา: ชานเมืองการพิมพ์.
7. สาธิต เมืองสมบูรณ์, ทวีศักดิ์ เตชะเกรียงไกร, พรทิพย์ พสุกมลเศรษฐ์, อาพร แจ่มผล, ปาริสุทธิ์ เฉลิมชัยวัฒน์, ฤทัย เรืองธรรมสิงห์, และคณะ. (2562). ผลของตำรับอาหารไทยมื้อกลางวันที่มีต่อภาวะโภชนาการของเด็กวัยเรียน : กรณีศึกษาโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี; 13(1), 284-301.
8. สุนทรี รัตนชูเอก, พัชราภา ทวีกุล, อรวรรณ เอี่ยมโอภาส, และอุมาพร สุทัศน์วรวุฒิ. (2557). แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันและรักษาโรคอ้วนในเด็ก. กรุงเทพฯ: ชมรมโภชนาการเด็กแห่งประเทศไทย, ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย.
9. สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2558). คู่มือการจัดการอาหารกลางวันนักเรียน ตามมาตรฐานโภชนาการ สุขาภิบาลอาหารและอาหารปลอดภัย สำหรับโรงเรียนประถมศึกษา. กรุงเทพฯ.
10. สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2561). แนวทางการจัดอาหารกลางวัน “เด็กวัยเรียน”. กรุงเทพฯ.
11. Bareu of Nutrition. Department of Health. (2014). Guidelines for the control and prevention of overweight students.5th ed.Bangkok: Veterans Publishing.
12. Demir D. & Bektas M. (2021). The effect of an obesity prevention program on children's eating behaviors, food addiction, physical activity, and obesity status.Journal of Pediatric Nursing; 61: 355-363
13. Eric AF, Olga AK, Hope T, Justin GT, Liping P, Bettylou S, et al,. (2012). Obesity and severe obesity forecasts through 2030. American Journal of Preventive Medicine. 42(6): 563-570.
14. Janssen L. & LeBlanc A.G. (2010). Review Systematic review of the health benefits of physical activity and fitness in school-aged children and youth. International Journal of Behavioral Nutrition and Physical Activity; 7(40): 1-16.
15. Mo-suwan L, Lebel L, Puetpaiboon A, Junjana C. (1999). School performance and weight status of children and young adolescents in a transitional society in Thailand. International journal of obesity and related metabolic disorders; 23(3): 272-277.
16. Robinson TN, Matheson D, Desai M, Weintraub DL, Banda JA, McClain A. et al,. (2021). A community-based, multi-level, multi-setting, multi-component intervention to reduce weight gain among low socioeconomic status Latinx children with overweight or obesity: The Stanford GOALS randomised controlled trial. The Lancet Diabetes & Endocrinology; 9(6): 336-349.
17. World Health Organization. (2000).Obesity: preventing and managing the global epidemic : report of a WHO consultation. https://apps.who.int/iris/handle/10665/42330.