การพัฒนาระบบควบคุมอัจฉริยะสำหรับโรงเรือนอนุบาลต้นกล้าเมล่อนญี่ปุ่น สายพันธุ์ออเร้นจ์แมน บนแพลตฟอร์มอินเทอร์เน็ตประสานสรรพสิ่ง

Main Article Content

ลัญฉกร นิลทรัตน์
สมศักดิ์ อรรคทิมากูล
ศรัณย์ ณรงค์กูล

บทคัดย่อ

   บทความวิจัยนี้นำเสนอระบบควบคุมอัจฉริยะสำหรับโรงเรือนอนุบาลต้นกล้าเมล่อนญี่ปุ่นสายพันธุ์ออเร้นจ์แมน บนแพลตฟอร์มอินเทอร์เน็ตประสานสรรพสิ่ง (internet of things) สถานที่วิจัย ณ ออร์แกนิค คอมพลีทฟาร์ม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างระบบควบคุมอัจฉริยะและควบคุมสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติให้มีความเหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของต้นกล้า และเพิ่มประสิทธิภาพในการต้านทานโรคพืชก่อนนำต้นกล้าลงปลูกในโรงเรือน การออกแบบโครงสร้างโรงเรือนอนุบาลต้นกล้าสามารถรองรับการเพาะเลี้ยงได้สูงสุด 360 ต้น เพื่อให้ได้ต้นอ่อนเมล่อนที่สมบูรณ์สำหรับนำไปปลูกต่อในโรงเรือนระบบปิด ขนาด 600 ´1800 ´300 ซม. โดยระบบที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 5 ส่วนได้แก่ 1) การออกแบบโรงเรือนอนุบาลต้นกล้า 2) การออกแบบวงจรควบคุม 3) การออกแบบระบบพลังงานแสงอาทิตย์ 4) การออกแบบผังงาน และ 5) การออกแบบส่วนติดต่อผู้ใช้งานด้วยแพลตฟอร์มบริงไอโอที (Blynk IoT platform) เวอร์ชัน (version) 2.0 เพื่อแสดงผลบนเว็บแอปพลิเคชัน (web application) และบนโมบายแอปพลิเคชัน (mobile application) ผลการทดสอบพบว่าระบบที่พัฒนาขึ้นสามารถแสดงผลและควบคุมการทำงานได้อย่างแม่นยำ ระบบควบคุมอัตโนมัติทำงานถูกต้องตามเงื่อนไข นอกจากนี้พบว่าระบบสามารถเพิ่มอัตราการงอกและประสิทธิภาพในการเจริญเติบโตของต้นกล้า เมล่อนญี่ปุ่นได้สูงขึ้น มีอัตราการงอกสมบูรณ์ร้อยละ 93.33 เมื่อเทียบกับการอนุบาลปลูกแบบดั้งเดิม ด้านความสูงพบว่าต้นกล้าที่ปลูกผ่านระบบมีความสูงเฉลี่ย 6.5 ซม. เมื่อเทียบกับการปลูกแบบดั้งเดิมมีอัตราการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 54.76 ซึ่งเห็นได้ว่าระบบที่พัฒนาขึ้นสามารถเพิ่มอัตราการงอกและลดความเสียหายของต้นกล้าเมล่อนญี่ปุ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กันตภณ มะหาหมัด,ศรีวรรณ ขำตรี,สุวลี ชูวาณิชย์. (2022). การประยุกต์ใช้ระบบสมาร์ตฟาร์มสำหรับการผลิตเห็ดแครง.วารสารวิชาการปทุมวัน Pathumwan Academic Journal, 12(33), 56-74.

นิพนธ์ พัวพงศกร, กัมพล ปั้นตะกั่ว และณัฐธิดา วิวัฒน์วิชา. (2563). นโยบายเทคโนโลยีการเกษตร 4.0. สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.

ภาวิณี เหลืองประเสริฐ , วันวิสา กริมรัมย์,สุพรรณี คาผุย, เลิศภูมิ จันทรเพ็ญกุล (2562). ผลการใช้อุณหภูมิและฮอร์โมนเร่งรากต่ออัตราการงอกเมล็ดออร์เร้นเน็ตเมล่อนและกรีนเน็ตเมล่อน.

ลัญฉกร นิลทรัตน์,ศรัณย์ ณรงค์กูล,สมศักดิ์ อรรคทิมากูล. (2023).การพัฒนาต้นแบบอุปกรณ์ควบคุมอัจฉริยะต้นทุนต่ำสำหรับโรงเรือนเพาะปลูก. การประชุมวิชาการงานวิจัยและพัฒนาเชิงประยุกต์ครั้งที่15 (pp.343-347).

ศุภัครชา อภิรติกร, คริษฐ์สพล หนูพรหม,ศุจิรัตน์สร ประสิทธิ์. (2020). การเจริญเติบโตและผลผลิตของเมล่อน 4 พันธุ์ที่ปลูกภายใต้โรงเรือนในจังหวัดสงขลา.Thai Science and Technology Journal, 1450-1461.

สหพงศ์ สมวงค์, ฐานวิทย์ แนมใส , อธิโรจน์ มะโน. (2022). การพัฒนาโรงเรือนอนุบาลต้นกล้าอัจฉริยะสำหรับการอนุบาลปลูกแบบเกษตรอินทรีย์ วิสาหกิจชุมชน ต.ท่าข้าม อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา. Ladkrabang Engineering Journal, 39.

อัคคพล เสนาณรงค์. (2563). โรงเรือนอีแวปอัจฉริยะ. น.ส.พ. กสิกร, 93 (5) ,29-32.

Akkas, M. A., & Sokullu, R. (2017). An IoT-based greenhouse monitoring system with Micaz motes. Procedia Computer Science, 113, 603–608.

Elijah, O., Rahman, T. A., Orikumhi, I., Leow, C. Y., & Hindia, M. N. (2018). An overview of internet of things (IoT) and data analytics in agriculture: benefits and challenges. IEEE Internet of Things Journal, 5, 3758–3773.

Dagar, R., Som, S., & Khatri, S. K. (2018). Smart Farming – IoT in Agriculture. 2018 International Conference on Inventive Research in Computing Applications (ICIRCA), 1052–1056