การผลิตปุ๋ยหมักจากกากขี้แป้งน้ำยางข้นเพื่อเป็นวัสดุปรับปรุงดิน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมและศึกษาสมบัติของปุ๋ยหมักที่อัตราส่วนผสมแตกต่างกัน 4 ชุดการทดลอง ที่อัตราส่วยผสมกากขี้แป้ง : ยูเรีย : มูลวัว เท่ากับ 3.0:0:0 2.0:0.5:0.5 2.0:1.0:0 และ 2.0: 0:1.0 โดยศึกษาสมบัติของปุ๋ยหมักระหว่างการหมัก ได้แก่ ค่าอุณหภูมิ ค่าความชื้น ค่าความเป็นกรด-ด่าง ค่าการนำไฟฟ้า และค่าอินทรียวัตถุ ผลการศึกษาพบว่า ปุ๋ยหมักกากขี้แป้งโรงงานน้ำยางข้นใช้ระยะเวลากระบวนการหมักสมบูรณ์เป็น ระยะเวลา 50 วัน มีค่าเฉลี่ยอุณหภูมิเฉลี่ย 29.80-38.06 องศาเซลเซียส มีค่าเฉลี่ยความชื้น 78.92 – 81.82 เปอร์เซ็นต์ มีค่าเฉลี่ยความเป็นกรด-ด่าง 8.34 – 8.48 มีค่าเฉลี่ยการนำไฟฟ้า 3.18 – 6.13 เดซิซีเมนต่อเมตร และมีค่าเฉลี่ยอินทรียวัตถุ 38.51-42.71 สำหรับธาตุอาหารหลักของปุ๋ยหมักกากขี้แป้งและความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ผลตอบแทนจากการลงทุนพบว่าชุดการทดลองที่ 2 มีความเหมาะสมมากที่สุด เนื่องจากชุดการทดลองที่ 2 มีปริมาณธาตุอาหารหลักรวมมากที่สุด โดยมีค่าธาตุไนโตรเจนร้อยละ 4 มีค่าฟอสฟอรัส (P2O5) ร้อยละ 0.95 และ มีค่าโพแทสเซียม (K2O) ร้อยละ 0.39 เมื่อนำปุ๋ยหมักกากขี้แป้งมาประเมินความคุ้มค่าทางศรษฐศาสตร์ผลตอบแทนจากการลงทุน เท่ากับ 48.47 เปอร์เซ็นต์ มีกำไรสุทธิเฉลี่ย เท่ากับ 1,537.60 บาทต่อรอบการผลิต ซึ่งการทำปุ๋ยหมักจากกากขี้แป้งน้ำยางข้นมีธาตุอาหารที่พืชต้องการต่อการเจริญเติบโตของพืชได้
Article Details
References
กรมวิชาการเกษตร. (2548). วิธีวิเคราะห์ปุ๋ยอินทรีย์. แหล่งที่มา: http://lib.doa.go.th/multim/e-book/EB00061.pdf. (10 กันยายน 2566)
กรมวิชาการเกษตร (2557). ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง มาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์. https://doi.nrct.go.th.
ณิชาภา มินาบูลย์ ประพัฒน์ สีใส และ อภิเสฏฐ์ สุวรรณสะอาด. (2565). การพัฒนาชั้นรองพื้นทางบดอัดจากกากขี้แป้งยางผสมซีเมนต์และกระดาษหนังสือพิมพ์เพื่อการเพิ่มมูลค่าของเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมน้ำยางข้น. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีรัตนโกสินทร์, 4(2): 53-64.
ณัฐพล ศรีเมือง. (2553) การเปลี่ยนแปลงทางเคมี กายภาพ และจุลชีววิทยาในการหมักปุ๋ยผักตบชวา. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาสงขลานครินทร์.
ธเรศ ศรีสถิต. (2553). วิศวกรรมการจัดการมูลฝอยชุมชน. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นภารัตน์ ไวยเจริญ สมทิพย์ ด่านธีรวนิชย์. (2566) การใช้ประโยชน์จากกากขี้แป้งจากโรงงานน้ำยางข้นเพื่อผลิตปุ๋ยสำหรับในการปลูกหญ้านวลน้อย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 4(2): 53-64.
นภารัตน์ ไวยเจริญ. (2554). การทำปุ๋ยหมักของมูลฝอยจากตลาดสดในเขตเทศบาลหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
บัญชา รัตนีทู. (2565). ผลของการใช้ปุ๋ยหมักจากวัสดุอินทรีย์ผลพลอยได้จากโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักคะน้า. วารสารแก่นเกษตร (ฉบับพิเศษ 1): 463 - 467.
ประชาชาติธุรกิจ. (2564). ไทยแชมป์โลกผลิตน้ำยางจ่อตั้ง ตลาดล่วงหน้า กำหนดราคา. ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.prachachat.net/.
(10 กันยายน 2566)
ประไพพรรณ จันทร์ทิพย์. (2559). การทำปุ๋ยหมักผักตบชวาร่วมกับกากตะกอนส่วนเกินจากระบบบำบัดน้ำเสียของโรงงานน้ำยางข้นและกากตะกอนจากโรงงานยางแท่ง STR 20 .วิทยาศาสตรบัณฑิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ภิรมย์ขวัญ ชิณวงศิ์ เกริกชัย ธนรักษ์ และ อรวรรณ ศิริรัตน์พิริยะ (2557). ผลของการใช้กากขี้แป้งเป็นแหล่งแมกนีเซียมเพื่อการเติบโตของปาล์มนํ้ามันระยะอนุบาลหลัก.ใน การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาครั้งที่ 14 (น. 776-782). วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วลัยพร ผ่อนผัน. (2547). การใช้ประโยชน์กากขี้แป้งจากโรงงานผลิตน้ำยางข้นในรูปสารบำรุงดิน. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 31(2): 53-70.
วิจิตรา นามจิตร. (2563) การปรับปรุงคุณภาพและการทดสอบประสิทธิภาพของ ปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดที่มีส่วนผสมของแร่ลีโอนาร์ไดต์ต่อการเจริญเติบโตและผลิตของข้าวโพดหวาน. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยพะเยา.
ศิรินทรา วันดี. (2552). การศึกษาการนำของเสียโรงงานผลิตยางแท่ง (STR20) มาหมักปุ๋ย. วิทยานิพนธ์, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
เสาวนีย์ ก่อวุฒิกุลรังษี ยุพดี ชัยสุขสันต์ สมพร ประเสริฐส่งสกุล และ สะเราะ นิยมเดชา. (2553). การแปรสภาพกากขี้แป้งจากอุตสาหกรรมน้ำยางข้นและการใช้ประโยชน์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
สถาบันพลาสติก. (2559). รายงานการศึกษาเชิงลึกเรื่อง ความเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมน้ำยางข้นและผลิตภัณฑ์จากน้ำยางข้นของไทย. https://rubber.oie.go.th/ArticleCategory.aspx?acid=3016.
Ameen, A.; Ahmad, J. & Raza, S. (2016). Effect of pH and moisture content on composting of Municipal solid waste. Int. J. Sci. Res. Publ. 2016, 6, 35–37.
AOAC. (2000). Official Methods of Analysis. 17th. Gaithersburg, MD, Maryland, USA, AOAC International. Garcia Gomez A. Roiang
Astari Dewi Hutami & Dwi Indrawati, Ratnaningsih. (2020). Bioconversion of cow dung and aassava peels with the vermicomposting method. International journal of scientific and technology research. volume 9(1), 2277-8616.
Jutarut Iewkittayakorn Juntima Chungsiriporn & Nirattisai Rakmak. (2018). Utilization of waste from concentrated rubber latex industryfor composting with addition of natural activators. Songklanakarin J. Sci. Technol. 40 (1), 114-120.
Chennaou, M.; Salama, Y.; Aouinty, B.; Mountadar, M. & Assobhei, O. (2018) Evolution of bacterial and fungal flora during In-Vessel composting of organic household waste under air pressure. J. mater. Environ. Sci. 9, 680–68
Garciaa, M. Raesb, D. Jacobsen, S. (2003). Evapotranspiration analysis and irrigation requirements of quinoa (Chenopodium quinoa) in the bolivian highlands. agricultural water management, 60 (2003), 119–134.
Hafeez, M.; Gupta, P.; Gupta, Y.P. (2018) Rapid Composting of Different Wastes with Yash Activator Plus. Int. J. Life Sci. Sci. Res. 2018, 4, 1670–1674.
Huang, G.F., Wong, J.W.C., Wu, Q.T. & Nagar, B.B. (2004). Effect of CN on Composting of pig manure with sawdust. waste management, 24,: 805-813.
Wanseng, W., Danteravanich, S., & Chevakidagarn, P. 2017, Investigation of excess sludge generated from activated sludge treatment plant of concentrated latex factories: An investigative case study in Southern Thailand, Environment and Natural Resources J.,15(2),:51-61