การเจริญเติบโตและปริมาณสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพภายใต้แสงเทียมและการพัฒนาสารเคลือบบริโภคได้จากสารสกัดกล้วยไม้เหลืองจันทบูร

Main Article Content

พรพรรณ สุขุมพินิจ
หยาดรุ้ง สุวรรณรัตน์
วริศชนม์ นิลนนท์

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเจริญเติบโตและสารออกฤทธิ์กล้วยไม้เหลืองจันทบูรโดยนำกล้วยไม้อายุ 1 ปี มาเลี้ยงภายใต้แสง LEDs ที่แตกต่างกัน จากนั้นนำสารสกัดลำลูกกล้วยกล้วยไม้เหลืองจันทบูรไปศึกษาสารเคลือบบริโภคได้ ผลการศึกษาการเลี้ยงกล้วยไม้เหลืองจันทบูรภายใต้สภาพแสงที่แตกต่างกันเป็นระยะเวลา 6 เดือน พบว่าการเจริญเติบโตทางด้านความสูง และขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของลำลูกกล้วยไม่แตกต่างกันทางสถิติ และเมื่อนำลำลูกกล้วยของกล้วยไม้อายุ 7 เดือน ภายหลังการเลี้ยงด้วยแสงสีต่างๆ มาวิเคราะห์คุณสมบัติของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ พบว่าค่า IC50 ของสารสกัดกล้วยไม้ที่เลี้ยงด้วยแสงสีม่วงมีค่าต่ำกว่าสารสกัดจากกล้วยไม้ที่เลี้ยงด้วยแสงสีอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งสอดคล้องกับปริมาณฟินอลิกรวม และปริมาณฟลาโวนอยด์รวมที่พบปริมาณสูงที่สุดในสารสกัดที่เลี้ยงด้วยแสงสีม่วง แสดงถึงแนวโน้มที่ดีในการเลี้ยงกล้วยไม้ภายใต้แสง LEDs เพื่อควบคุมปริมาณสารออกฤทธิ์ที่ต้องการได้เมื่อเทียบกับการปลูกในธรรมชาติ ส่วนการศึกษาสารเคลือบบริโภคได้จากสารสกัดกล้วยไม้ ทำการศึกษาการชะลอการเปลี่ยนแปลงคุณภาพ และยืดอายุการเก็บรักษาของกล้วยไข่และมะนาว พบว่า การใช้สารเคลือบให้ผลไม่แตกต่างกันทางสถิติ โดยการใช้สารเคลือบมีแนวโน้มช่วยชะลอการเปลี่ยนแปลงสีของกล้วยไข่และมะนาว และมีแนวโน้มช่วยชะลอการเปลี่ยนแปลงความแน่นเนื้อ ความหวาน ความเป็นกรดด่าง และปริมาณกรดของกล้วยไข่ ซึ่งเป็นแนวทางในการพัฒนาสูตรสารเคลือบกล้วยไข่และมะนาวต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิตราพรรณ พิลึก. (2550). การเพาะเมล็ดและเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วยไม้. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ดนัย บุณยเกียรติ. (2547). การสุกของผลไม้ ในสื่อประกอบการเรียนการสอนรายวิชา Postharvest physiology horticultural course. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นิสา จุลโพธิ์. (2559). การทดสอบสารพฤกษเคมี และฤทธิ์ทางชีวภาพของดอกกล้วยไม้สกุลหวาย [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์ และนิธิยา รัตนาปนนท์. (2562). ฟิล์มที่บริโภคได้. https://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/0666/edible-film.

วันทนา สมบูรณ์ทรัพย์, พัชรียา บุญกอแก้ว และพูนพิภพ เกษมทรัพย์. (2558). ผลของไดโอดเปล่งแสงต่อการเพิ่มจำนวนโปรโตคอร์มไลบอดี้ของกล้วยไม้หวายโซเนียเอียสกุล. การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 35 (น. 675-680). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วาสนา ประภาเลิศ, วิมลรัตน์ พจน์ไตรทิพย์ และกิตติศักดิ์ โชติกเดชาณรงค์. (2561). การศึกษาฤทธิ์ของสารพฤกษเคมีในกล้วยไม้ป่าและแนวทางการขยายพันธุ์สำหรับชุมชน. http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1266?locale=th

อบฉันท์ ไทยทอง. (2549). กล้วยไม้เมืองไทย (คร้ังที่ 12). บ้านและสวน.

อนุชา จันทรบูรณ์. (2548). เอกสารประกอบการเรียนการสอนรายวิชาหลักการไม้ผล. คณะวิชาพืชศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตน่าน.

Chidambara M. K.N., Jayaprakasha G.K. & Singh R.P. (2002). Studies on antioxidant activity of pomegranate (Punica granatum) peel extract using in vivo models. Journal of Agricultural and Food Chemistry, 50, 4791-4795.

Hasan, M.M., T. Bashir, R. Ghosh, S.K. Lee, & Bae, H. (2017). An overview of LEDS effects on the production of bioactive compounds and crop quality. Molecules, 22(9), 1420.

Hossain, M.M. (2011). Therapeutic orchids: traditional uses and recent advances-An overview. Fitoterapia, 82, 102-140.

Phanumas, K. & Kamplon, P. (2007). Lighting system for growth enhancement of Thai orchids. Proceeding of the 2007 ECTI International Conference.

Prommajak, T., Surawang, S & Rattanapanone, N. (2014). Ultrasonic-assisted extraction of phenolic and antioxidative compounds from lizard tail (Houttuynia cordata Thunb. Songklanakarin Journal of Science and Technology, 36(1), 65-72.

Rojas-Graü, M. A., Soliva-Fortuny, R., & Martín-Belloso, O. (2009). Edible coatings to incorporate active ingredients to fresh-cut fruits. Trends in Food Science & Technology, 20(10), 438-447.

Singhatong, S., Leelarungrayub, D., & Chaiyasut, C. (2010). Antioxidant and toxicity activities of Artocarpus lakooha Roxb. heartwood extract. Journal of Medicinal Plants Research, 4(10), 947-953.

Trevino-Garza, M. Z., Garcia, S., Flores-González, M.S., & Arévalo-Niño, K. (2015). Edible Active Coatings Based on Pectin, Pullulan, and Chitosan Increase Quality and Shelf Life of Strawberries (Fragaria ananassa). Journal of Food Science, 80(8), 1823-1830.

Yeow, L.C., Chew, B.L., & Sreeramanan, S. (2020). Elevation of secondary metabolites production through light-emitting diodes (LEDs) illumination in protocorm-like bodies (PLBs) of Dendrobium hybrid orchid rich in phytochemicals with therapeutic effects. Biotechnology Reports, 27, 1-5.