การคัดแยกแบคทีเรียที่ผลิตเอนไซม์เซลลูเลสและปริมาณธาตุอาหารหลัก ในวัสดุเลี้ยงด้วงมะพร้าว

Main Article Content

พรชนก บุญลับ
นภัสสร วงเปรียว
กิตติ ตันเมืองปัก

บทคัดย่อ

    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดแยกแบคทีเรียที่สามารถผลิตเอนไซม์เซลลูเลส และศึกษาปริมาณธาตุอาหารสำคัญในวัสดุเลี้ยงด้วงมะพร้าว 5 ตัวอย่าง สามารถคัดแยกแบคทีเรียได้ 108 ไอโซเลท และพบว่าสามารถผลิตเอนไซม์เซลลูเลสได้ 22 ไอโซเลท โดยมีแบคทีเรียจำนวน 15 ไอโซเลท (ร้อยละ 13.89) ที่มีประสิทธิภาพในการสร้างเอนไซม์อยู่ในระดับสูง มีค่า HC value เท่ากับ 2.01-3.00 โดยไอโซเลท SA05 ซึ่งเป็นแบคทีเรียแกรมบวก รูปท่อน มีประสิทธิภาพในการผลิตเอนไซม์สูงที่สุดมีค่า HC value เท่ากับ 3.00 และเมื่อนำวัสดุเลี้ยงด้วงมะพร้าวไปศึกษาปริมาณธาตุอาหารหลัก ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม พบว่าตัวอย่าง SA มีปริมาณไนโตรเจนและโพแทสเซียมสูงที่สุด เท่ากับ 2.20 ± 0.00 mg/kg และ 30.59 ± 2.70 mg/kg ตามลำดับ ในขณะที่ตัวอย่าง SB มีปริมาณฟอสฟอรัสสูงที่สุด เท่ากับ 319.48 ± 0.00 mg/kg ผลจากการวิจัยนี้พบว่าวัสดุเหลือใช้จากการเลี้ยงด้วงมะพร้าวพบแบคทีเรียที่มีความสามารถในการผลิตเอนไซม์เซลลูเลสที่ย่อยเซลลูโลส และเป็นแหล่งของธาตุอาหารหลักโดยเฉพาะอย่างยิ่งฟอสฟอรัสให้กับพืชได้ แต่อย่างไรก็ตามควรมีการศึกษาเพิ่มเติม เพื่อพัฒนาต่อยอดในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ด้วงมะพร้าวจากวัสดุเหลือใช้จากการเลี้ยงด้วงมะพร้าวต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาที่ดิน. (2553). ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช. http://oss101.ldd. go.th/web_soils_for_youth/s_prop_nutri02.htm

ชนิดาภา ธนะศรีรางกูร, เพชรดา ปินใจ, และพิลานี ไวถนอมสัตย์ (2561). การคัดเลือกแบคทีเรียผลิตเอนไซม์เซลลูเลสและประสิทธิภาพในการย่อยสลายวัสดุลิกโนเซลลูโลส. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, 36(3), 1-12.

ทิพวรรณ นิ่งน้อย. (2549). แนวปฏิบัติการทดสอบความถูกต้องของวิธีวิเคราะห์ทางเคมีโดยห้องปฏิบัติการเดียว (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์.

นงลักษณ์ สุวรรณพินิจ และปรีชา สุวรรณพินิจ. (2541). จุลชีววิทยาทั่วไป. (พิมพ์ครั้งที่ 3). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรัชวนี พิบำรุง (2565). ผลการใช้ปุ๋ยหมักมูลจิ้งหรีดและมูลหนอนนกอัดเม็ดต่อสมบัติดินและผลผลิตข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร, 39(1), 52-64.

ปรีชา ยอดยิ่ง, ศิริณา ทองดอนน้อย, และสิรินภา ช่วงโอกาส (2562). การคัดแยกแบคทีเรียย่อยสลายเซลลูโลสและประสิทธิภาพของการย่อยสลายซังข้าวโพดและผักตบชวาที่ใช้เป็นซับสเตรต. แก่นเกษตร, 47(1), 177-186.

พิมพ์ชนา วงศ์พิศาล, พรศิลป์ สีเผือก, ชัยสิทธิ์ ปรีชา และวุฒิชัย สีเผือก. (2559). การคัดเลือกเชื้อราที่ผลิตเอนไซม์เซลลูเลสและไซแลนเนสจากซากปาล์มน้ำมัน (Elaeis guineensis Jac.). แก่นเกษตร, 44(1), 948-952.

วัลลีย์ อมรพล, พินิจ กัลยาศิลปิน, ศุภกาญจน์ ล้วนมณี, ศรีสุดา ทิพยรักษ์, และกอบเกียรติ ไพศาลเจริญ. (2555). การจัดการธาตุอาหารพืชที่เหมาะสมเพื่อการผลิตอ้อยในดินทรายภาคตะวันออก. แก่นเกษตร, 40(3), 141-148.

โสภณ คงสำราญ, อรอนงค์ พริ้งศุลกะ, และนงลักษณ์ สุวรรณพินิจ. (2524). แบคทีเรียทางการแพทย์ (พิมพ์ครั้งที่ 1). โรงพิมพ์พิฆเณศ.

สำนักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน. (2547). คู่มือการวิเคราะห์ตัวอย่างดิน น้ำ ปุ๋ย พืช วัสดุปรับปรุงดินและการวิเคราะห์ เพื่อตรวจรับรองมาตรฐานสินค้า (พิมพ์ครั้งที่ 1). ดับบลิว.เจ พร็อพเพอตี้ จำกัด.

AOAC. (2002). AOAC guidelines for single laboratory validation of chemical methods for dietary supplements and botanicals. Official Analytical Chemists, Arlington.

Bray, R.H., & Kurtz, L.T. (1945). Determination of total organic and available forms of phosphorus in soils. Soil Science, 59(1), 39-45.

Deka, D., Bhargav, P., Sharma, A., Goyal, D., Jawed, M., & Goyal, A. (2011). Enhancement of cellulase activity from a new strain of Bacillus subtilis by medium optimization and analysis with various cellulosic substrates. Enzyme Research, 2011, 1-8.

Farah N., R., Shafinaz, M. N., & Wahida, O. (2018). Preliminary study of gut bacterial abundance in Rhynchophorus ferrugineus (Coleoptera: Dryophthoridae) fed on different diets. Serangga, 23(1), 126-138.

ICH. (2005). Harmonized tripartite guideline validation of analytical procedures: text and methodology Q2(R1). https://database.ich.org/sites/ default/files/Q2%28R1%29%20Guideline.pdf

Kasana, R.C., Salwan, R., Dhar, H., Dutt, S., & Gulati, A. (2008). A rapid and easy method for the detection of microbial cellulases on agar plates using gram's iodine. Current Microbiology, 57(5), 503-507.

Meenu, K., Singh, G., & Vishwakarma, R.A. (2014). Chapter 12: Molecular mechanism of cellulase production systems in Trichoderma. In Vijai K. Gupta V.K., Schmoll, M., Herrera-Estrella, A., Upadhyay, R.S., Druzhinina, I., and Tuohy M. (Eds.), Biotechnology and Biology of Trichoderma (pp. 319-324). Elsevier.

Muhammad, A., Fang, Y., Hou, Y., & Shi, Z. (2017). The gut entomotype of red palm weevil Rhynchophorus ferrugineus Olivier (Coleoptera: Dryophthoridae) and their effect on host nutrition metabolism. Frontiers in Microbiology, 8, 1-15.

Sadhu, S., & Maiti, T. K. (2013). Cellulase production by bacteria: A review. Microbiology Research Journal International, 3(3), 235–258.

Sakka, K., Kimura, T., Karita, S., & Ohmiya, K. (2000). Molecular breeding of cellulolytic microbes, plants, and animals for biomass utilization. Journal of Bioscience and Bioengineering, 90, 227–233.

Suwannarong, S. (2004). Analysis of plant nutrient (2nd ed.). Kasetsart University.