ชุดตรวจอากาศอัตโนมัติภาคสนามและระบบสมาร์ทอุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุดตรวจอากาศอัตโนมัติภาคสนามสำหรับติดตั้งในแปลงเกษตรที่มีสภาพอากาศและชนิดพืชแตกต่างกันและแสดงผลการตรวจวัดในระบบสมาร์ทอุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร (Met4Agriculture) โดยออกแบบชุดตรวจอากาศอัตโนมัติให้การทำงานของอุปกรณ์ภายในใช้พลังงานแสงอาทิตย์และประกอบด้วยเซนเซอร์ 5 ชนิด คือ เซนเซอร์ตรวจวัดอุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ ปริมาณฝน ความเข้มแสง ความชื้นในดินที่ระดับความลึกจากผิวดิน 10 เซนติเมตร โดยเซนเซอร์ตรวจวัดอุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ ปริมาณฝน ความชื้นในดินผ่านการสอบเทียบมาตรฐานเครื่องมือจากกรมอุตุนิยมวิทยา และความเข้มแสงผ่านการสอบเทียบมาตรฐานเครื่องมือจากมหาวิทยาลัยศิลปากร ผลการสอบเทียบพบว่าเซนเซอร์ตรวจวัดอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์มีความคลาดเคลื่อนประมาณ 1 องศาเซลเซียส และ 1-3 %RH ตามลำดับ เซนเซอร์วัดปริมาณน้ำฝนมีความคลาดเคลื่อน + 3 มิลลิเมตร เซนเซอร์วัดความเข้มแสงวัดค่าความสว่างน้อยกว่าค่าตรวจวัดจริง 1.17 เท่า เซนเซอร์วัดความชื้นในดินมีค่าความชื้นที่วัดได้กับปริมาณความชื้นในดินที่คำนวณมีแนวโน้มไปในทิศทางเดียวกันและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างค่าทั้งสองเข้าใกล้ 1 นอกจากนี้ได้ออกแบบโปรแกรมทำงานบนลิลี่โก (LILYGO) และพัฒนาโปรแกรม Met4Agriculture โดยระบบจะเชื่อมต่อข้อมูลจากระบบไอโอที เน็ตพาย (IoT NETPIE) เพื่อนำข้อมูลตรวจวัดจากสถานีมาแสดงผล โปรแกรมจะอ้างอิงจุดสถานีตรวจวัดจาก id และ token จากระบบ NETPIE และพัฒนาต่อยอดเป็น Met4Agriculture Application รองรับทุกแพลตฟอร์ม สามารถแสดงค่าข้อมูลที่บันทึกไว้ในอดีตเพื่อวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงในฤดูกาลต่างๆ และกำหนดค่าเทรชโฮลด์ (threshold) ในแต่ละพารามิเตอร์ที่จะมีผลกระทบต่อพืชผลทางการเกษตรในแต่ละช่วงฤดูได้
ผลการวิจัยนี้สามารถพัฒนาชุดตรวจอากาศอัตโนมัติต้นแบบต้นทุนต่ำที่มีความคลาดเคลื่อนในการตรวจวัดไม่แตกต่างจากเครื่องมือมาตรฐานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และเมื่อนำชุดตรวจอากาศอัตโนมัติที่พัฒนาแล้วไปติดตั้งในพื้นที่ทั้ง 5 ภาคของประเทศไทย สามารถรับ-ส่งและแสดงผลข้อมูลการตรวจวัดออนไลน์ผ่านเว็บแอปพลิเคชันและระบบสมาร์ทโฟนที่ใช้ระบบปฏิบัติการไอโอเอสและแอนดรอยด์แบบเรียลไทม์ได้อย่างต่อเนื่อง
Article Details
References
ธิษณิน พจน์พัฒนพล, ศุภกร กตาธิการกุล, มารีนา มะหนิ. (2558) . การพัฒนาเครื่องวัดสภาพอากาศพื้นฐานแบบ อัตโนมัติ. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ, ปีที่ 18 ฉบับที่ 3 , Thaksin.J., Vol.18 (3).
พันกร มนทอง. (2560). การสร้างเครื่องมือวัดพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อเก็บข้อมูลพลังงานแสงอาทิตย์ในจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี .
ภาสกร เดชโค้น. (2558). การพัฒนาระบบสอบเทียบเครื่องวัดรังสีอาทิตย์ตามมาตรฐานขององค์การมาตรฐานสากล. ภาควิชาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สมบูรณ์ มั่นความดี ผจงจิตต์ ศรีสุข และสุภัทตรา
นุชนารถ, การพัฒนาเครื่องวัดความชื้นในดินทดแทนการนําเข้าจากต่างประเทศเพื่อจัดการดินและน้ำชลประทานในดินทรายอย่างมีประสิทธิภาพ, กรมชลประทาน, 2551
อุทัยและคณะ. (2557). เน็ตเวิร์คเซนเซอร์แบบเรียลไทม์เพื่อตรวจสอบความชื้นพืชปาล์มน้ำมันกับผลผลิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
Rajinder Kumar M. Math, Nagaraj V. Dharwadkar. (2018). IoT Based Low-cost Weather Station and Monitoring System for Precision Agriculture in India. 2nd International Conference on I-SMAC, DOI: 10.1109/I-SMAC43168.
Nisakorn Kaewmai และ Anurak Udomvech, The Mini Weather System for Using in a Specific Small Agricultural Area, การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 29 ประจำปี 2565 วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
WMO-No.8Seventh edition 2008. Guide to Meteorological Instruments and Methods of Observation. ISO/IEC 17025:2017 General requirements for the competence of testing and calibration laboratories. (https://www.iasonline.org/wp-content/uploads/2021/02/ISO-IEC-17025-2017-IAS.pdf). Rain Gauge Calibrator (https://novalynx.com/manuals/260-2595-manual.pdf)