ความหลากหลายทางสัณฐานวิทยาของกระท่อม (Mitragyna speciosa (Korth) Havil) ระดับประชากรในภาคใต้ของประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากหลายของประชากรย่อยของกระท่อมในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทยโดยใช้ลักษณะทางสัณฐานวิทยาในการจำแนก ทำการศึกษาตัวอย่างต้นกระท่อมในพื้นที่ 9 จังหวัด ได้แก่ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง พัทลุง กระบี่ พังงา ชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ และระนอง บันทึกวิสัยถิ่นที่อยู่ และลักษณะสัณฐานวิทยาต่าง ๆ วิเคราะห์ข้อมูลและสร้างแผนภูมิแสดงค่าความสัมพันธ์ลักษณะสัณฐานวิทยาของใบด้วยเทคนิค UPGMA พบว่าสามารถจำแนกกระท่อมออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มกระท่อมก้านเขียว มีสีก้านใบประกอบด้วย สีเขียว เขียวอมเหลือง และเหลืองอมเขียว และกลุ่มกระท่อมก้านแดง มีสีก้านใบประกอบด้วย สีแดง แดงอมส้ม และส้มอมชมพู ลักษณะรูปร่างใบจำแนกได้ 3 แบบ คือ ใบรูปหอก (lanceolate) ใบรูปไข่ (ovate) และใบรูปไข่กลับ (obovate) ลักษณะโคนใบ (leaf base) จำแนกได้ 3 แบบ คือ โคนใบแหลมรูปลิ่ม (cuneate) โคนใบมน (obtuse) และโคนใบเว้ารูปหัวใจ (cordate) ลักษณะปลายใบ (leaf apex) จำแนกได้ 2 แบบ คือ ปลายใบเรียวแหลม (acuminate) และปลายใบปลายเป็นติ่งแหลม (cuspidate) ลักษณะขอบใบ จำแนกได้ 2 กลุ่ม คือ ขอบใบเรียบ (entire) และขอบใบหยักซี่ฟัน (dentate) ลักษณะสีหูใบ (stipule color) จำแนกได้ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มสีเขียวและสีเขียวอมเหลือง กลุ่มสีชมพูอมส้มและสีส้มอมชมพู และกลุ่มสีแดงอมส้มและสีแดง ดังนั้น จึงบ่งชี้ได้ว่าพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทยมีความหลากหลายของประชากรย่อยของกระท่อม โดยมีความแตกต่างของลักษณะทางสัณฐานวิทยาที่ชัดเจน
Article Details
References
สำนักงานหอพรรณไม้. (2559). คู่มือจำแนกพรรณไม้. สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช. กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. ห้างหุ้นส่วนจำกัด สิทธิโชค พริ้นติ้ง. กรุงเทพฯ: 240 หน้า.
ธนัช นาคะพันธ์. (2559). การศึกษาการใช้ประโยชน์จากกระท่อม ในการรักษาโรคของหมอพื้นบ้านภาคใต้. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก, 14(3), 274-285.
Asanakornchai, S., Saingam, D., Siriwong, A., & Wungsintaweekul, J. (2015). Conclusion of kratom plant. Charansanitwong Publisher.
Caliskan, M.E., Sogut, T., Boydak, E. & Arioglu, H. (2007). Genotype x environment interaction and stability analysis of sweetpotato (Ipomoea batatas) genotypes, New Zealand. Journal of Crop and Horticultural Science, 35(1), 87-99, https://10.1080/01140670709510172
Chittrakarn, S., Sawangjaroen, K., Prasettho, S., Janchawee, B. & Keawpradub, N. (2008). Inhibitory effects of kratom leaf extract (Mitragyna speciosa Korth.) on the rat gastrointestinal tract. J. Ethnopharmacol., 116(1), 173-178.
Chittrakarn, S., Radenahmad, N., Kaewsara, S., Udomuksorn, W., Keawpradub, N., & Phukpattaranont, P. (2018). Gastroprotective effects of methanolic extract of kratom leaves on gastric ulcer and reflux esophagitis in rats. Songklanakarin J. Sci. Technol., 40(2), 258-273.
Collins, W.W., Wilson, L.G., Arrendell, S., & Dickey, L.F. (1987). Genotype × environment Interactions in sweet potato yield and quality factors. Journal of the American Society for Horticultural Science, 112(3), 579-583. https://doi.org/10.21273/ JASHS.112.3.579
Hemby, S.E., McIntosh, S., Leon, F., Cutler, S.J., & McCurdy, C.R. (2019). Abuse liability and therapeutic potential of the Mitragyna speciosa (kratom) alkaloids mitragynine and 7-hydroxymitragynine. Addiction Biology, 24(5), 874–885. https://doi.org/10.1111/adb.12639
Houghton, P.J., Latiff, A., & Said, I. M. (1991). Alkaloids from Mitragyna speciosa. Phytochemistry, 30 (1), 347–350. https://doi.org/10.1016/0031-9422(91)84152-I
Kumarnsit, E., Keawpradub, N. & Nuankaew, W. (2006). Acute and long-term effects of alkaloid extract of Mitragyna speciosa on food and water intake and body weight in rats. Fitoterapia, 77, 339-345.
Meepong, R., & Sooksawate, T. (2019). Mitragynine reduced morphine-induced conditioned place preference and withdrawal in rodents. Thai Journal of Pharmaceutical Sciences (TJPS), 43(1), 21-29.
Rohlf, F.J. (1997). NTSYS-Pc. Numerical taxonomy and multivariate analysis system version 2.2e. Exeter Software.
Sneath, P.H. & Sokal, R.R. (1973). Numerical taxonomy: The principles and practice of numerical classification. W. H. Freeman.