ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรากฏขึ้นของไมคอร์ไรซา และเห็ดกินได้ในแปลงปลูกไม้วงศ์ Dipterocapeceae ในจังหวัดสุรินทร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
ไม้วงศ์ยางเป็นไม้มีค่าทางเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่งของไทย และเป็นพรรณไม้ที่มีภาวะอยู่ร่วมกันแบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันระหว่างรากไม้กับเห็ดป่าไมคอร์ไรซา ไม้วงศ์ยางจึงมีความสำคัญต่อการชักนำการเกิดเห็ดได้เป็นอย่างดี งานวิจัยนี้จึงวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจชนิดเห็ดป่าไมคอร์ไรซา เห็ดกินได้ และศึกษาปัจจัยแวดล้อมบางประการต่อการปรากฏของเห็ดป่าไมคอร์ไรซาและเห็ดกินได้ในแปลงปลูกไม้วงศ์ยาง จำนวน 5 แปลง ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอเมือง อำเภอศีขรภูมิ และอำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ โดยสำรวจรูปแบบการปลูก ชนิดไม้วงศ์ยางที่ปลูก ชนิดเห็ดป่าไมคอร์ไรซาและเห็ดป่ากินได้ที่พบ พร้อมเก็บตัวอย่างดินเพื่อวิเคราะห์ระดับธาตุอาหาร ความเป็นกรด-ด่าง และปริมาณอินทรียวัตถุ รวมถึงเก็บข้อมูลความเข้มแสง ความชื้นสัมพัทธ์อากาศ อุณหภูมิอากาศ และความชื้นดิน ด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง โดยเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงธันวาคม พ.ศ. 2565 ผลการสำรวจพบว่า การปลูกไม้วงศ์ยางของเกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกในรูปแบบสวนป่า ชนิดไม้ที่นิยมปลูกมากที่สุดคือ ยางนา รองลงมาคือ ตะเคียนทอง และพะยอม ตามลำดับ ไม้ในทั้ง 5 แปลง มีอายุการปลูกตั้งแต่ 1-27 ปี ผลการสำรวจพบเห็ดป่าไมคอร์ไรซาทั้งหมด 4 ชนิด จัดอยู่ใน 3 สกุล 3 วงศ์ เห็ดป่ากินได้ทั้งหมด 3 ชนิด 2 สกุล 2 วงศ์ โดยในแปลงปลูกไม้วงศ์ยางแปลงที่ 1 พบเห็ดป่าไมคอร์ไรซาสกุล Amanita มีความถี่การปรากฏมากที่สุดตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนกรกฎาคม รองลงมาพบสกุล Russula ในแปลงปลูกไม้วงศ์ยางแปลงที่ 4 ปรากฏตั้งแต่เดือนเมษายนถึงพฤษภาคม และพบเห็ดป่ากินได้สกุล Termitomyces มีความถี่การปรากฏมากที่สุดในแปลงปลูกไม้วงศ์ยางแปลงที่ 3 ตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึงกันยายน สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างเห็ดป่าที่พบในแปลงกับปัจจัยแวดล้อม โดยวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบ Pearson’s Correlation Analysis แสดงให้เห็นว่าความเข้มแสง ความชื้นดิน อินทรียวัตถุ และความชื้นสัมพัทธ์อากาศ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการปรากฏเห็ดป่าไมคอร์ไรซา ในขณะที่ปริมาณอินทรียวัตถุ ความชื้นดิน และความชื้นสัมพัทธ์อากาศ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการปรากฏเห็ดป่ากินได้ นอกจากนี้ยังพบว่า อายุไม้วงศ์ยาง และการปฏิบัติดูแลแปลงของเกษตรกร เช่น การเติมเชื้อเห็ดอย่างต่อเนื่อง มีส่วนสำคัญในการปรากฏของเห็ดป่าไมคอร์ไรซาและเห็ดป่ากินได้อีกด้วย
Article Details
References
กรมป่าไม้. (2556). คู่มือรูปแบบการปลูกไม้ป่าโดยระบบวนเกษตร. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://www. forest.go.th/community/wp-content/uploads/sites/ 16/2020/01/รูปแบบการปลูกไม้ป่าโดยระบบวนเกษตร.pdf สืบค้น วันที่ 4 มีนาคม 2565.
กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2553). คู่มือการปฏิบัติงานกระบวนการวิเคราะห์ตรวจสอบดินทางเคมี. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จากhttps://www. ldd.go.th/PMQA/2553/Manual/OSD-03.pdf. สืบค้น วันที่ 15 มกราคม 2565.
กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (ม.ป.ป). ดินดีคลินิก. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จากhttp:// osl101.ldd.go.th/web_soil_clinic/about_clinic2.htm สืบค้น วันที่ 15 มกราคม 2565.
กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช. (2554). คู่มือการสำรวจความหลากหลายเห็ด (Mushrooms). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://biodi.dnp.go.th/wp-content/uploads/2021/11/mushroom_2812564. pdf สืบค้นวันที่ 5 มีนาคม 2565.
กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช. (2554). คู่มือการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ไม้วงศ์ยาง. [ออนไลน์]. เข้าถึง ได้จาก https://www.dnp.go.th/ DNPResearch1 /Files/Publication/Book/เนื้อในไม้วงศ์ยาง.pdf สืบค้น วันที่ 4 มีนาคม 2565.
นิวัฒ เสนาะเมือง. (2553). เห็ดป่าเมืองไทย: ความหลากหลายและการใช้ประโยชน์. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
บารมี สกลรักษ์ กิตติมา ด้วงแค วินันท์ดา หิมะมาน จันจิรา อายะวงศ์ และกฤษณา พงษ์พานิช. (2560). คู่มือการศึกษาความหลากหลายเห็ด. กรุงเทพฯ: สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอทุยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช.
ยุพเยาว์ โตคีรี, น้องนุช สารภี, ดวงตา โนวาเชค และชวนพิศ จารัตน์. (2562). การศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพการกักเก็บคาร์บอนของไม้ยืนต้น และการพึ่งพิงผลผลิตที่มิใช่เนื้อไม้ในระบบนิเวศป่าชุมชน จังหวัดสุรินทร์. สุรินทร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.
ศุทธินี ไชยแก้ว, ธารรัตน์ แก้วกระจ่าง และอุทัยวรรณ แสงวณิช. (2563). ความหลากชนิดของเห็ดป่าและอิทธิพลของปัจจัยแวดล้อมบางประการต่อการปรากฏของเห็ดป่าในสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราชจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 28(11), 1987-1999.
สำนักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน กรมที่ดิน. (2547). คู่มือการวิเคราะห์ตัวอย่าง ดิน น้ำ ปุ๋ย พืช วัสดุปรับปรุงดินและการวิเคราะห์เพื่อตรวจรับรองมาตรฐานสินค้า.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://oer.learn.in.th/ebook/result/113553/176834#page/1. สืบค้น วันที่ 15 มกราคม 2565.
อนันตพร ขันถม. 28 เมษายน 2565. เกษตรกรเจ้าของแปลงปลูกไม้วงศ์ยางแปลงที่ 1. สัมภาษณ์.
Anders, T., Dimitrios, F. and Michiel. (2022). Decomposition of soil organic matter by ectomycorrhizal fungi: Mechanisms and consequences for organic nitrogen uptake and soil carbon stabilization. Front. For. Glob. 5, 1-9.
Erlandson, S. R., Savage, J. A., Cavender-Bares, J. M. and Peay, K. G. (2016). Soil moisture and chemistry influence diversity of ectomycorrhizal fungal communities associating with willow along a hydrologic gradient. FEMS Microbiology Ecology, 92(1), 1-9.
Kennedy, P.G and Peay, K.G. (2007). Different soil moisture conditions change the outcome of the ectomycorrhizal symbiosis between Rhizopogon species and Pinus muricata. Plant Soil, 291, 55-65.
Lennon, J.T., Aanderud, Z.T., Lehmkuhl, B.K. (2012). Mapping the niche space of soil microorganisms using taxonomy and traits. Ecology. 93, 1867-79.
Lindahl, B. D., Kyaschenko, J., Varenius, K., Clemmensen, K. E., Dahlberg, A., Karltun, E. and Stendahl, J. (2021). A group of ectomycorrhizal fungi restricts organic matter accumulation in boreal forest. Ecology
Letters, 24, 1341-1351.
Martín-Pinto, P., Oria-de-Rueda, J.A., Dejene, T., Mediavilla, O., Hernández Rodríguez, M. Reque, J.A., Sanz-Benito, I. Santos, M. and Geml, J. (2022). Influence of stand age and site conditions on ectomycorrhizal fungal dynamics in Cistus ladanifer-dominated scrubland ecosystems. ForEcol Manag, 519, 1-11.
Navarro-Ródenas, A., Ruíz-Lozano, J. M., Kaldenhoff, R. and Morte, A. (2012). The aquaporin TcAQP1 of the desert truffle Terfezia claveryi is a membrane pore for water and CO2 transport. Mol. Plant Microbe Int, 25, 259-266.
Nipada, R. D., Sunadda, Y., Prakitsin, S. and Jittra, P. (2016). Community structure and dynamics of ectomycorrhizal fungi in a dipterocarp forest fragment and plantation in Thailand. Plant Ecology & Diversity, 9(5-6), 577-588.
Jang, S.K. and Hur, T.C. (2011). Relationship between climatic factors and the distribution of higher fungi in Byeonsanbando National Park, Korea, Mycobiology, 42, 27-33.
Policelli, N., Horton, T. R., Hudon, A. T., Patterson, T. R., Bhatnagar, J.M. (2020). The Role of Ectomycorrhizal Fungi in Boreal and Temperate Forest Restoration. Frontiers in Forests and Global Change, 3, 1-15.
Thomas, P. W. (2021). Ectomycorrhiza resilience and recovery to extreme flood events in Tuber aestivum and Quercus robur. Mycorrhiza, 31(4), 511-517.
Trappe, J. M. (2005). A.B. Frank and mycorrhizae: The challenge to evolutionary and ecologic theory. Mycorrhiza, 15(4), 277-81.