ผลของรังสีแกมมาแบบเฉียบพลันต่อการเปลี่ยนแปลงลักษณะสัณฐานของต้นแววมยุราพันธุ์พื้นเมือง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การศึกษาผลของรังสีแกมมาต่อการเปลี่ยนแปลงลักษณะสัณฐานของต้นแววมยุรา โดยใช้ส่วนใบแววมยุรามาฉายรังสีแกมมาแบบเฉียบพลันที่ปริมาณ 0, 20, 40, 60, 80, 100 เกรย์ หลังจากนั้นนำไปปักชำนาน 60 วัน นับจำนวนใบที่รอดชีวิต พบว่าเมื่อปริมาณรังสีเพิ่มมากขึ้นมีผลทำให้เปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตลดลง หาความสัมพันธ์ของปริมาณรังสีที่ทำให้แววมยุรารอดชีวิตที่ 50 เปอร์เซ็นต์ (LD50(60)) มีค่า 51 เกรย์ และนับจำนวนยอดที่แตกใหม่จากใบแววมยุรา พบว่าใบที่ได้รับปริมาณรังสี 60, 80 และ 100 เกรย์มีจำนวนยอดที่แตกใหม่น้อยกว่าใบที่ไม่ได้รับรังสี แต่ใบที่ได้รับปริมาณรังสี 20 เกรย์ พบว่ามียอดที่แตกใหม่มากที่สุดถึง 5 ยอด นำต้นที่รอดย้ายปลูกในกระถางนาน 60 วัน ได้ต้นอ่อนอายุ 120 วัน วัดการเจริญเติบโตของต้นทางด้านความสูง ขนาดทรงพุ่ม พบว่าเมื่อปริมาณรังสีเพิ่มมากขึ้นทำให้การเจริญเติบโตของต้นลดลง ส่วนลักษณะสัณฐานหลังจากได้รับรังสี พบว่าที่ปริมาณรังสี 40 เกรย์ ทำให้ใบมีลักษณะกลม ความยาวใบสั้น และหยักของขอบใบบางส่วนมีลักษณะมน เมื่อเทียบกับใบปกติ นอกจากนี้พบว่าต้นที่ได้รับรังสีที่ปริมาณต่าง ๆ มีใบที่มีลักษณะเซลล์คุมและเซลล์ข้างเคียงผิดปกติไปจากต้นควบคุม และจำนวนเซลล์คุมที่ผิดปกติมีมากขึ้นเมื่อได้รับปริมาณรังสีเพิ่มมากขึ้น
คำสำคัญ : เปอร์เซ็นต์การรอดชีวิต; การฉายรังสีแกมมาแบบเฉียบพลัน; เซลล์คุม; การปักชำใบ
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ข้อความที่ปรากฏในแต่ละเรื่องของวารสารเล่มนี้เป็นเพียงความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่มีความเกี่ยวข้องกับคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือคณาจารย์ท่านอื่นในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เขียนต้องยืนยันว่าความรับผิดชอบต่อทุกข้อความที่นำเสนอไว้ในบทความของตน หากมีข้อผิดพลาดหรือความไม่ถูกต้องใด ๆ
References
จิราภรณ์ จิรานภาพันธุ์, 2554, การชักนำให้เกิด โพลีพลอยด์ในแววมยุราพันธุ์ลูกผสม (Torenia fournieri x Torenia baillonii) และแววมยุราพันธุ์กลายดอกสีเหลืองด้วยการใช้สารโคลซิชีนชนิดเม็ด, วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ธัญญะ เตชะศีลพิทักษ์, 2545, เขียนเรื่องดอกไม้ไว้อ่านเล่น 3 : จากฟาแลนนอพซิสถึงสแตติส,สายธุรกิจโรงพิมพ์ / บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิซซิ่ง, กรุงเทพฯ.
ยงศักดิ์ ขจรผดุงกิตติ และอัญชลี จาละ, 2558, รังสีแกมมาแบบเฉียบพลันที่มีผลต่อเนื้อเยื่อหน้าวัวในสภาพปลอดเชื้อ, Thai J. Sci. Technol. 4(2): 177-184.
ศรัญญู ถนิมลักษณ์, ธัญญะ เตชะศีลพิทักษ์, พัฒนา สุขประเสริฐ, พีรนุช จอมพุก และอนันต์ พิริยะภัทรกิจ, 2561, การชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ในบานไม่รู้โรยลูกผสมพันธุ์กลายโดยการฉายรังสีแกมมา, Thai J. Sci. Technol. 7(1): 48-57.
สุพิชชา สิทธินิสัยสุข, ธัญญะ เตชะศีลพิทักษ์, พีรนุช จอมพุก และณัฐพงค์ จันจุฬา, 2561, ผลของรังสีแกมมาแบบเฉียบพลันต่อต้นลินเดอร์เนียในสภาพปลอดเชื้อ, Thai J. Sci. Technol. 7(2): 158-168.
อรุณี วงศ์ปิยะสถิตย์, 2530, วิธีการปรับปรุงพันธุ์โดยการกลายพันธุ์, เอกสารการสอนการใช้รังสีและไอโซโทป, ภาควิชารังสีประยุกต์และไอโซโทป คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
อัญชลี จาละ, 2554, รังสีแกมมาระดับต่าง ๆ มีผลต่อจำนวนเซลล์คุมและปริมาณคลอโรฟิลล์ของใบอัญชัน (Clitoria ternatea L.), ว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 19(4): 61-69.
Chanchula, N., 2015, Biotechnological Techniques for improvement of native torenia and their hybrids, Ph.D. Thesis, Kasetsart University, Bangkok.
Taychasinpitak, T., Kikuchi, S., Jala, A., Thanananta, T. and Chanchula, N., 2016, Mutation Breeding of Thai Native Torenia (Torenia fournieri Lind.) by -ray irradiation, Thai J. Sci. Technol. 5(2): 190-199.