การประเมินความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของพืชครามสกุล Indigofera ด้วยเทคนิคแฮตอาร์เอพีดี
Main Article Content
บทคัดย่อ
พืชครามสกุล Indigofera เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กซึ่งภายในลำต้นและใบมีสารอินดิแคน (indican) ที่ใช้ทำสีย้อมผ้าธรรมชาติด้วยกระบวนการแช่น้ำ และใช้เป็นสมุนไพร งานวิจัยนี้ได้ประเมินความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของพืชครามสกุล Indigofera 15 ตัวอย่าง ด้วยเทคนิคแฮตอาร์เอพีดี เมื่อเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอด้วยไพรเมอร์แบบสุ่ม 72 ชนิด พบว่าไพรเมอร์ 12 ชนิด เพิ่มปริมาณดีเอ็นเอได้อย่างชัดเจน ปรากฏแถบดีเอ็นเอรวมทั้งหมด 204 แถบ ขนาด 330-3,000 คู่เบส โดยเป็นแถบดีเอ็นเอที่ให้ความหลากรูปทั้งหมด (100 เปอร์เซ็นต์) เมื่อสร้างแผนภูมิความสัมพันธ์ด้วยโปรแกรม NTSYS-pc รุ่น 2.01e โดยเลือกวิธีการจัดกลุ่มแบบ UPGMA พบว่ามีค่าดัชนีความเหมือน 0.24-0.69 และสามารถจัดพืชครามสกุล Indigofera 15 ตัวอย่าง เป็น 7 กลุ่ม ซึ่งผลการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้ในการวางแผนการอนุรักษ์และปรับปรุงพันธุ์ต่อไป
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ข้อความที่ปรากฏในแต่ละเรื่องของวารสารเล่มนี้เป็นเพียงความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่มีความเกี่ยวข้องกับคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือคณาจารย์ท่านอื่นในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เขียนต้องยืนยันว่าความรับผิดชอบต่อทุกข้อความที่นำเสนอไว้ในบทความของตน หากมีข้อผิดพลาดหรือความไม่ถูกต้องใด ๆ
References
จาตุรงค์ สัมฤทธิ์, ธีระชัย ธนานันต์ และนฤมล ธนานันต์, 2557, การจำแนกพันธุ์และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของข้าวมีสีด้วยเทคนิคแฮตอาร์เอพีดีและไอเอสเอสอาร์, Thai J. Sci. Technol. 3(2): 113-122.
จินต์ ทองสม, ธีระชัย ธนานันต์, นฤมล ธนานันต์, 2558, ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของกล้วยไม้สกุลแวนด้าหมู่เข็มด้วยแฮตอาร์เอพีดีและไอเอสเอสอาร์, ว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 23(3): 475-484.
ฐิติพร โท้มโสภา, ธีระชัย ธนานันต์ และนฤมล ธนานันต์, 2557, การจำแนกพันธุ์และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของกล้วยไม้สกุลหวายกลุ่มเอื้องสายด้วยเทคนิคแฮตอาร์เอพีดีและไอเอสเอสอาร์, Thai J. Sci. Technol. 3(2): 82-91.
นรารัตน์ วัฒนาพันธ์ และวุฒิชัย ศรีช่วย, 2561, การประเมินความหลากหลายทางพันธุกรรมของข้าวพื้นเมืองในจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยใช้เทคนิค RAPD และเทคนิค HAT-RAPD, ว.มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 10(3): 206-217.
นฤมล ธนานันต์, วิภาวรรณ ประสิทธิ์ และธีระชัย ธนานันต์, 2555, การจำแนกข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และพันธุ์ปรับปรุงจากพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ด้วยเทคนิคแฮตอาร์เอพีดี, Thai J. Sci. Technol. 1(3): 169-179.
นิ่มนวล จันทรุญ, 2560, คราม : สีย้อมธรรมชาติ, แหล่งที่มา : http://research.msu.ac.th/artcul ture/?p=540, 24 กุมภาพันธ์ 2560.
พีรศักดิ์ วรสุนทโรสถ, 2544, โครงการทรัพยากรพืชในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, พิมพ์ครั้งที่ 1, ห้างหุ้นส่วนจำกัดชวนพิมพ์, กรุงเทพฯ.
วริสรา แทนสง่า, ธีระชัย ธนานันต์ และนฤมล ธนานันต์, 2557, การจำแนกพันธุ์และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของกล้วยไม้สกุลกุหลาบ (Aerides) ด้วยเทคนิคแฮตอาร์เอพีดีและไอเอสเอสอาร์, Thai J. Sci. Technol. 3(2): 102-112.
วริสรา แทนสง่า, ธีระชัย ธนานันต์, บุญหงษ์ จงคิด และนฤมล ธนานันต์, 2557, การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมและการจำแนกขมิ้นด้วยเทคนิคแฮตอาร์เอพีดี, Thai J. Sci. Technol. 3(1): 29-35.
ศิริญยา คาชิมา, ธีระชัย ธนานันต์, และยงศักดิ์ ขจรผดุงกิตติ, 2562, การประเมินความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของกล้วยจีโนม AAA ด้วยเทคนิคแฮตอาร์เอพีดี, Thai J. Sci. Technol. 8(3): 300-308.
สุรินทร์ ปิยะโชคณากุล, 2552, เครื่องหมายดีเอ็นเอ : จากพื้นฐานสู่การประยุกต์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
Anuntalabhochai, S., Chundet, R., Chiangda, J. and Apavatjrut, P., 2002, Genetic diversity within Lychee (LitchiI Chinensis Sonn.), based on RAPD analysis, Int. Soc. Hort. Sci. 575: 253-259.
Collard, B.C.Y. and Mackill, D.J., 2009, Conserved DNA-derived polymorphism (CDDP): A simple and novel method for generating DNA markers in plants, Plant Mol. Biol. Rep. 27: 558-562.
Doyle, J.J. and Doyle, J.L. 1987, A rapid DNA isolation procedure for small quantities of fresh leaf tissue, Phytochem. Bull. 19: 11-15.
Leinemann, L., Kleinschmit, J., Fussi, B., Hosius. B., Kuchma, O., Arenhövel, W., Lemmen, P., Kätzel, R., Rogge, M. and Finkeldey, R., 2014, Genetic composition and differentiation of sloe (Prunus spinosa L.) populations in Germany with respect to the tracing of reproductive plant material, Plant Syst. Evol. 300: 2115-2125.
Mattagajasingh, I., Acharya L., Mukherjee, A.K., Panda, P.C. and Das, P., 2006, Genetic relationships among nine cultivated taxa of Calliandra Benth. (Leguminosae: Mimosoi deae) using random amplified polymorphic DNA (RAPD) markers, Sci. Hort. 110: 98-103.
Mattapha, S. and Chantaranothai, P., 2012, The genus Indigofera L. (Legumimosae) in Thailand, Trop. Nat. Hist. 12: 207-244.
Meesangiem, T., Damrianant, S., Thanananta, T. and Thanananta, N., 2018, Genetic relationship among Paphiopedilum subgenus Brachypetalum section Brachypetalum using HAT-RAPD markers, Thai J. Sci. Technol. 7(1): 99-105.
Rohlf, F.J., 2002, NTSYS-pc Numerical Taxonomy and Multivariate Analysis System, Applied Biostatistics, New York.
Siritheptawee, P., Damrianant, S., Thanananta, T. and Thanananta, N., 2018, Genetic relationship assessment and identification of strap-leaf Paphiopedilum using HAT-RAPD markers, Sci. Technol. Asia 23(1): 16-21.
Srivastava, R., Shukla, S., Soni, A. and Kumar, A., 2009, RAPD-based genetic relationships in different Bougainvillea cultivars, Crop Breed. Appl. Biotechnol. 9: 154-163.
Suksathan, R., Anuntalabhochai, S., Jampeetong, A., Sookkhee, S. and Chansakaow, S., 2013, A phylogenetic analysis of Thai hedychium (Zingiberaceae) and development of SCAR marker for Hedychium flavescens Carey ex Roscoe, Chiang Mai J. Sci. 41: 286-297.
Williams, J.G.K., Kubelik, A.R., Livak K.J., Rafalski, J.A. and Tingey. S.U., 1990, DNA polymorphisms amplified by arbitrary primers are useful as genetic markers, Nucl. Acids Res. 8: 6531-6535.
Zhang, F., Lv, Y., Dong, H. and Guo, S., 2010, Analysis of genetic stability through intersimple sequence repeats molecular markers in micropropagated plantlets of Anoectochilus formosanus Hayata, a medicinal plant, Biol. Pharm. Bull. 33: 384-388.