ข้อควรพิจารณาในความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่ได้จากการสำรวจตัวอย่าง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
“การสำรวจนั้นมีความน่าเชื่อถือได้ไหม?” คำถามนี้อาจเกิดขึ้นเมื่อท่านได้อ่านผลของการสำรวจต่าง ๆ อันที่จริงแล้วมีปัจจัยอยู่หลายปัจจัยที่ควรพิจารณาเมื่ออ่านผลของการสำรวจ เช่น การสำรวจนั้นมีวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างไร มีวิธีการเก็บข้อมูลด้วยวิธีและคำถามไหน หรือมีวิธีการถ่วงน้ำหนักตอนรายงานตัวเลขสถิติหรือไม่ บทความนี้จะนำเสนอข้อควรพิจารณาเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของผลการสำรวจตัวอย่างในหลายประเด็นดังนี้ ข้อแรก คือ กรอบตัวอย่างที่ใช้ในการเลือกตัวอย่างสามารถสะท้อนประชากรได้แค่ไหน ข้อที่สอง คือ วิธีการเลือกตัวอย่างใช้วิธีอะไร ตัวอย่างที่เลือกมานั้นสามารถเป็นตัวแทนที่ดีของประชากรได้หรือไม่ ข้อที่สาม คือ เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลมีความน่าเชื่อถือหรือไม่ หรือคำถามในแบบสอบถามนั้นสมเหตุสมผลหรือไม่ ข้อที่สี่ คือ วิธีการเก็บข้อมูลภาคสนามนั้นมีปัญหาในทางปฏิบัติอะไรบ้าง ข้อที่ห้า คือ การถ่วงน้ำหนักของผลการสำรวจในแต่ละหน่วยเนื่องจากว่าแต่ละหน่วยในประชากรที่ให้ข้อมูลในการสำรวจนั้นอาจมีโอกาสในการถูกเลือกมาเป็นตัวอย่างที่ไม่เท่ากันก็ได้ และข้อสุดท้าย คือ การแปรผลและสรุปผลของการสำรวจ ปัจจัยหรือข้อคำนึงด้านต่าง ๆ เหล่านี้จะสามารถช่วยให้ผู้อ่านสามารถตัดสินใจได้ว่าข้อมูลที่ได้จากการสำรวจนั้นมีความน่าเชื่อถือหรือไม่
คำสำคัญ : การสำรวจตัวอย่าง; ความน่าเชื่อถือ; การสุ่มตัวอย่าง; แบบสอบถาม
Article Details
References
[2] Dillman, D., 2008, The Logic and Psychology of Constructing Questionnaires, pp.161-175, In de Leeuw, D., Hox, J. and Dillman, D. (Eds.), International Handbook of Survey Methodology, CRC Press, Florida.
[3] Blumberg, S.J. and Luke, J.V., 2016, Wireless Substitution: Early Release of Estimates from the National Health Interview Survey, January-June 2016, National Center for Health Statistics, Available Source: https://www.cdc.gov/nchs/data/nhis/earlyrelease/wireless201612.pdf, December 15, 2017.
[4] Kennedy, C., Blumenthal, M., Clement, S., Clinton, J.D., Durand, C., Franklin, C., McGeeney, K., Miringoff, L., Olson, K., Rivers, D., Saad, L., Witt, E. and Wlezien, C., 2016, An Evaluation of 2016 Election Polls in the U.S., Available Source: http://www.aapor.org/Education-Resources/Rep orts/An-Evaluation-of-2016-Election-Polls -in-the-U-S.aspx, December 12, 2017.
[5] Benjamin, L.M. and Dillman, D.A., 2011, Surveying the general public over the internet using address-based sampling and mail contact procedures, Publ. Opin. Quart. 75: 429-457.
[6] Dillman, D.A., Smyth, J.D. and Christian, L.M., 2014, Internet, Mail and Mixed-Mode Surveys: The Tailored Design Method, John Wiley & Sons, Inc., New Jersey.
[7] Kish, L., 1965, Survey Sampling, Wiley, New York.
[8] บีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์, เจาะข่าวเด่น 2 มุมมอง : ธุดงค์ ธรรมกาย ตอน 1, แหล่งที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=dnEFGdsqaLk, 2 กันยายน 2558.
[9] Huff, D., 1954, How to Lie with Statistics (illust. I. Geis), Norton, New York.
[10] อัจฉราวรรณ งามญาณ, 2554, อันเนื่องมาแต่สูตรของยามาเน่, ว.บริหารธุรกิจ 34(131): 46-60.
[11] Meager, N., 2016, Making sense of Brexit: How Brexit may change the shape of U.K. social research, SRA Research Matters, September, 2016: 1.
[12] Fowler, F.J., 1995, Improving survey questions: Design and evaluation, Sage Publications, Sage Publications, California.
[13] Kane, E. and Macaulay, L., 1993, Interviewer gender and gender attitudes, Publ. Opin. Quart. 57: 1-28.
[14] Tourangeau, R., Rips, L.J. and Rasinski, K., 2000, The Psychology of Survey Response, Cambridge University Press, Cambridge.
[15] Jans, M.E., 2010, Verbal Paradata and Survey Error: Respondent Speech, Voice, and Question-Answering Behavior can Predict Income Item Nonresponse, Ph.D. Dissertation, The University of Michigan, Michigan.
[16] Bowling, A., 2005, Mode of questionnaire administration can have serious effects on data quality, J. Publ. Health 27: 281-291.
[17] กรุงเทพธุรกิจ, เปิดผลโพลรัฐบาล ผ่านนโยบายคุมสลาก, แหล่งที่มา : http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/679698, 23 ธันวาคม 2558.