ความหลากหลายของพืชในป่าชุมชนโคกสำโรง อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การที่ทรัพยากรพืชในป่าชุมชนโคกหนองสำโรงลดลงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากขาดฐานข้อมูลในการสร้างความรู้ความเข้าใจด้านการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรท้องถิ่นของชุมชน และการบริหารจัดการพื้นที่ป่าเพื่อการอนุรักษ์ การวิจัยจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากหลายพืชในป่าชุมชนโคกสำโรง อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา ด้วยการวางแปลงตัวอย่างจำนวน 14 แปลง ขนาด 20´20 เมตร และ 5´5 เมตร เพื่อสำรวจไม้ต้นและไม้พื้นล่าง ตามลำดับ พบพรรณไม้จำนวน 49 วงศ์ 111 สกุล 125 ชนิด ไม้ต้นที่มีค่าดัชนีความสำคัญสูงที่สุด คือ พลองเหมือด (Memecylon edule Roxb.) รองลงมาคือ อ้อยช้าง (Lannea coromandelica (Houtt.) Merr.) มะค่าแต้ (Sindora siamensis Teijsm. ex Miq.) และเสี้ยวป่า (Bauhinia saccocalyx Pierre) ไม้พื้นล่างที่มีค่าดัชนีความสำคัญสูงที่สุด คือ พลองเหมือด รองลงมาคือ เพ็ก (Vietnamosasa pusilla (A. Chev. & A. Camus) T. Q. Nguyen) พังคี (Croton crassifolius Geiseler) และมะแปบป่า (Rhynchosia bracteata Benth. ex Baker) ตามลำดับ ค่าดัชนีความหลากหลายของไม้ต้นและไม้พื้นล่าง มีค่าเท่ากับ 3.0471 และ 3.4000 แสดงให้เห็นว่าในพื้นที่มีความหลากหลายของพรรณพืชค่อนข้างสูง ค่าความสม่ำเสมอในการกระจายตัว มีค่าเท่ากับ 0.7570 และ 0.7575 ตามลำดับ วงศ์ที่พบมากที่สุด คือ วงศ์ถั่ว (Fabaceae) จำนวน 17 ชนิด รองลงมา คือ วงศ์มะขามป้อม (Phyllanthaceae) และวงศ์หญ้า (Poaceae) จำนวนวงศ์ละ 6 ชนิด วงศ์ลั่นทม (Apocynaceae) วงศ์กะเพรา (Lamiaceae) วงศ์ชบา (Malvaceae) และวงศ์เข็ม (Rubiaceae) จำนวนวงศ์ละ 5 ชนิด พบพืชเฉพาะถิ่นของไทย 1 ชนิด คือ ไส้ไก่ (Jasminum siamense Craib) ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการวางแนวทางอนุรักษ์ทรัพยากรท้องถิ่นในพื้นที่ปกปักทรัพยากรต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรย. นี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรย. หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรย. ก่อนเท่านั้น
References
Chayamarit, K. & Chamchumroon, V. (2016). Manual of Plant Classification. Bangkok: Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation. (in Thai)
Choopan, T. (2016). Plant Diversity in Conservation Community Forest, Mueang Mai Kokkruat Subdistrict Municipality, Mueang District, Nakhon Ratchasima Province. Thai Journal of Botany, 8(2),213-229. (in Thai)
Choopan, T. (2019). Plants in Phu Pra Du Community Forest, Khon Buri District, Nakhon Ratchasima Province. KKU Science Journal, 47(4), 673-690. (in Thai)
Choopan, T., Wadee, N., Klahan, S., Yimlamai, S. & Udomsub, S. (2020). Plant Diversity in Khao Khong Kha Forest Monastery, Khon Buri District, Nakhon Ratchasima Province. PSRU Journal of Science and Technolog, 5(3), 74-96. (in Thai)
Forest and Plant Conservation Research Office. (2019). Invasive Plants in Protected Area. Bangkok: Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation. (in Thai)
Forest Herbarium. (2017). Threatened plants in Thailand. Bangkok: Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation.
Junsongduang, A., Siriart, R., Hodee, P. & Nanthasit, P. (2018). Species Diversity of Trees and the Usage of the Forest Area Community of the Tai-Lao Conservation of Wat Prum Pra Tan, Ban Nam Kam, Tambon Non Chai Si, Phon Thong District, Roi Et Province. Rajabhat Chiang Mai Research Journal, 19(1), 65-80. (in Thai)
Marod, D. (2011). Sampling Technique and Plant Community analysis. Bangkok: Forestry Department, Kasetsart University. (in Thai)
Nakawong, S., Chatan, W. & Promprom, W. (2017). Study of Plant Community and Utilization in the Ban Chan Public Cemetery Forest at Thung Kula Subdistrict Municipality, Suwannaphum District, Roi Et Province. SDU Research Journal, 10(1), 93-120. (in Thai)
Phetphrom, J., Munkep, P. & Mekhora, T. (2013). Plant diversity, Utilization and economic value from Don Yang Community forest, Lakmueang Subdistrict, Kamalasai District, Kalasin Province. King Mongkut’s Agricultural Journal, 31(2), 37-46. (in Thai)
Phromprasit, P., Pramoonsin, T., Jantoe, S. & Tokaew, W. (2019). Diversity and Utilization of Plants in Ban Non Sad Community Forest, Tha Lat Subdistrict, Chum Phung District, Nakhon Ratchasima Province. PSRU Journal of Science and Technology, 4(3), 37-47. (in Thai)
Pooma, R., & Suddee, S. (eds). (2014). Thai plant names: Tem Smitinand (rev. ed. 2014). Bangkok: Forest Herbarium, Forest and Plant Conservation Research Office, Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation. (in Thai)
Santisuk, T. (2012). Forest of Thailand. Bangkok: Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation. (in Thai)
Sunthonwong, S. (2014). Community forest and Thai society [online]. Retrieved June 14, 2021, from: https://archive.recoftc.org/country/thailand/basic-page/ (in Thai)