วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรย. เป็นเอกสารวิชาการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม และเผยแพร่ผลงานทางวิชาการที่มีคุณภาพ ในลักษณะของบทความวิจัย บทความวิชาการ และบทวิจารณ์หนังสือ ในสาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ (เคมี  ฟิสิกส์) วิทยาศาสตร์ชีวภาพ (ชีววิทยา จุลชีววิทยา เทคโนโลยีการอาหาร) เกษตรศาสตร์ (พืชศาสตร์ สัตวศาสตร์ วาริชศาสตร์ การจัดการศัตรูพืช) และสิ่งแวดล้อม บทความทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญ จำนวน 2 หรือ 3 คน (ขึ้นกับความประสงค์ของผู้นิพนธ์) โดยประเมินแบบ Double-Blinded review เผยแพร่แบบออนไลน์ (ISSN: 2985-1416 Online) ปีละ 3 ฉบับ (ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคม และฉบับที่ 3 ประจำเดือนกันยายนถึงเดือนธันวาคม) 

การส่งบทความและค่าธรรมเนียมวารสาร

2023-07-26

กรุณาอ่านคำชี้แจงก่อนส่งบทความ

1. กำหนดส่งเอกสารเพื่อประกอบการพิจารณาลงตีพิมพ์ ดังนี้

ไฟล์บทความ

          - บทความวิจัย/บทความวิชาการ/บทวิจารณ์หนังสือ ในรูปแบบไฟล์ Word       1 ไฟล์

          - บทความวิจัย/บทความวิชาการ/บทวิจารณ์หนังสือ ในรูปแบบไฟล์ PDF         1 ไฟล์

ไฟล์อื่น ๆ

          - แบบฟอร์มส่งบทความเพื่อรับการพิจารณาลงตีพิมพ์ลงในวารสาร              1 ฉบับ

          - หนังสือรับรองการส่งบทความ (สำหรับบทความที่มีผู้แต่งมากกว่า 1 ท่าน)     1 ฉบับ 

          - หนังสือรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ หรือสัตว์ทดลอง (ถ้ามี)              1 ฉบับ

*วารสารจะไม่ดำเนินการตรวจสอบและจะปฏิเสธการรับพิจารณาทันที หากพบว่าส่งเอกสารไม่ครบตามที่กำหนดไว้ *

ดาวน์โหลดเอกสารที่เกี่ยวข้อง ที่นี่>>> download.png

2. กรุณาเตรียมบทความให้ถูกต้องตามเอกสารคำแนะนำจากทางวารสาร และตรวจสอบจาก Checklist ก่อนส่งเข้ารับการพิจารณาลงตีพิมพ์ เพื่อความรวดเร็วในการดำเนินการขั้นถัดไป หากเตรียมไม่ถูกต้อง ทางวารสารจะตัดสิทธิ์การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการลงตีพิมพ์ทันที

3. ค่าธรรมเนียมวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรย. มีรายละเอียดดังนี้

twDg524098.jpg

ค่าธรรมเนียมการตรวจประเมินคุณภาพบทความ เรียกเก็บเมื่อบทความของท่าน ผ่านเข้าสู่กระบวนการประเมินคุณภาพบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิ

ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความ เรียกเก็บเมื่อบทความของท่าน ได้รับการพิจารณาจากบรรณาธิการให้สามารถลงตีพิมพ์ในวารสารได้

(เจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ทราบก่อนเรียกเก็บค่าธรรมเนียมทุกรายการ)

ช่องทางการชำระค่าธรรมเนียม

          กำหนดให้โอนเงินค่าธรรมเนียมผ่านทางบัญชีธนาคาร ดังนี้

                   ชื่อบัญชี      Yala Rajabhat University 

                    ธนาคาร      กรุงไทย สาขายะลา  

                    เลขที่บัญชี   909-1-09959-3  

****ให้ชำระเงินค่าธรรมเนียมทุกรายการหลังจากได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่เท่านั้น****

หมายเหตุ:

- การชำระค่าธรรมเนียมทุกรายการตามตารางข้างต้นนี้ "ไม่ได้การันตีว่าว่าบทความของท่านจะได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรย. " เนื่องจากบทความจะต้องผ่านกระบวนการประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิ อย่างน้อย 2 คน และบรรณาธิการก่อน จึงจะสามารถแจ้งผลการพิจารณาว่า บทความของท่านผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิและบรรณาธิการให้สามารถลงตีพิมพ์เผยแพร่ได้หรือไม่

- หากบทความของท่าน"ถูกปฏิเสธการลงตีพิมพ์" จากผู้ทรงคุณวุฒิ หรือบรรณาธิการ ทางวารสารจะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมให้กับผู้นิพนธ์ทุกกรณี (เนื่องจากค่าธรรมเนียมที่ท่านชำระ จะเป็นค่าตอบแทนผู้ทรงคุณวุฒิที่ประเมินบทความของท่าน) จึงขอให้ท่านรับทราบ ก่อนการส่งบทความลงตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรย.

- สำหรับค่าธรรมเนียมของบุคคลภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จะต้องเป็นผู้นิพนธ์ชื่อแรกเท่านั้น จึงจะจ่ายค่าธรรมเนียมในราคาบุคคลภายใน แต่ถ้าไม่ได้เป็นผู้นิพนธ์ชื่อแรก จะถือว่าเป็นบุคคลภายนอก

4. ระยะเวลาของกระบวนการปกติใช้เวลาประมาณ 4-5 เดือน * นับเวลาตั้งแต่ทางผู้นิพนธ์ชำระค่าธรรมเนียมการตรวจประเมินคุณภาพบทความเรียบร้อยแล้ว (ทางวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ไม่รับบทความที่ต้องการลัดคิว หรือเร่งกระบวนให้สั้นลงกว่านี้)

5. กรุณาชำระเงินค่าธรรมเนียมทุกรายการภายในระยะเวลา1 สัปดาห์ หลังได้รับการแจ้งจากเจ้าหน้าที่ หากไม่ชำระตามเวลาดังกล่าว ทางวารสารอาจตัดสิทธิ์การพิจารณาลงตีพิมพ์ทันที

6. หลังจากชำระค่าธรรมเนียมแล้ว ให้ส่งหลักฐานการชำระค่าธรรมเนียมผ่านทางระบบ ThaiJo เมื่อได้รับหลักฐานการชำระเงิน ทางวารสารจะดำเนินการในขั้นตอนต่อไป

7. กรณีที่ผู้ทรงคุณวุฒิเห็นควรให้ปรับแก้บทความ ผู้นิพนธ์ต้องมีหน้าที่รับผิดชอบในการแก้ไขบทความนั้น ทั้งนี้ ให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับจากวันที่ได้รับแจ้งให้แก้ไขมิฉะนั้นอาจไม่ได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์

8. ผู้นิพนธ์จะต้องปรับแก้บทความตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิและบรรณาธิการ หากไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิหรือบรรณาธิการ ผู้นิพนธ์สามารถชี้แจงให้บรรณาธิการพิจารณาอีกครั้ง ทั้งนี้ การตัดสินใจของบรรณาธิการถือเป็นที่สิ้นสุด

9. หากมีการนำระบบ AI เข้ามาใช้ในส่วนใดส่วนหนึ่งของบทความ จะต้องแจ้งให้ทางวารสารทราบ หากมีการตรวจพบการใช้ AI ในบางส่วนของบทความ และไม่ได้มีการปรับปรุงและไม่ได้แจ้งไว้ แม้บทความจะได้รับการตอบรับ ลงตีพิมพ์หรือได้รับการเผยแพร่เรียบร้อยแล้ว ทางวารสารจะดำเนินการถอดบทความนั้นออกจากการเผยแพร่ทันที

-------------------------------------------------------------------------------------------------

หมายเหตุ ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความประมาณ 1 เดือน นอกนั้นขึ้นอยู่กับเวลาในเตรียมบทความ และการปรับแก้บทความของผู้นิพนธ์ด้วย

* เริ่มนับเวลาตั้งแต่บทความผ่านเข้าสู่กระบวนการประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิ

-------------------------------------------------------------------------------------------------

ปีที่ 9 ฉบับที่ 3 (2024): กันยายน-ธันวาคม

วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรย. เป็นเอกสารวิชาการ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม และเผยแพร่ผลงานทางวิชาการที่มีคุณภาพ ในลักษณะของบทความวิชาการ (Acadamic Article) บทความวิจัย (Research article) บทความปริทัศน์ (Review article) และบทวิจารณ์หนังสือ (Book Review) ในสาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ (เคมี  ฟิสิกส์) วิทยาศาสตร์ชีวภาพ (ชีววิทยา จุลชีววิทยา เทคโนโลยีการอาหาร ) เกษตรศาสตร์ (พืชศาสตร์ สัตวศาสตร์ วาริชศาสตร์) และสิ่งแวดล้อม จัดพิมพ์และออกเผยแพร่ปีละ 3 ฉบับ (ฉบับแรกประจำเดือนมกราคม ถึงเดือนเมษายน ฉบับที่สองประจำเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนสิงหาคม และฉบับที่สามประจำเดือนกันยายน ถึงเดือนธันวาคม)

เผยแพร่แล้ว: 20-09-2024

พารามิเตอร์ทางพันธุกรรมของลักษณะซากในไก่เบตง

กนก เชาวภาษี, นิรันดร หนักแดง, สุนีย์ ตรีมณี

1-9

ผลของระยะเวลาบ่มกล้วยหินและสภาวะการอบต่อคุณภาพของกล้วยอบม้วน

ภัทรวดี เอียดเต็ม, นูรีดา กะมานิ๊, สุธีรา ศรีสุข, กิตติ สุวรรณบรรดิษฐ์, ภารดี พละไชย, พุฒิยา รัตนศิริวัฒน์

10-21

ผลของการใช้จิ้งหรีดทองแดงลาย (Acheta domestica) ต่อสมรรถภาพการผลิต คุณภาพไข่ และค่าชีวเคมีในเลือดของนกกระทาญี่ปุ่น

ภาคภูมิ ซอหนองบัว, เสาวลักษณ์ คิอินธิ, กนกพร สายธิไชย, วรินทร ศรีนาม, จักรพรรดิ์ ประชาชิต

22-30

การใช้วัสดุกรองชีวภาพและแบคทีเรีย Bacillus thuringiensis var. kurstaki ต่อการเจริญเติบโตของผักน้ำในระบบอควาโปนิกส์

ดาริกา คาวิจิตร, พัฒนสุดา ศิรินุพงศ์, พิณทิพย์ จันทรเทพ, มนูญ ศิรินุพงศ์

31-39

การปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์แกงไตปลาแห้งจากข่าตาแดงของวิสาหกิจชุมชนบ้านเลียบ จังหวัดสงขลา

วรรณนิสา เภาพันธ์, อัฏฐชัย ถาวรสุวรรณ, นรินทร์ภพ ช่วยการ, พงษ์เทพ เกิดเนตร, โกสินทร์ ทีปรักษพันธ์, อดิศักดิ์ จิตภูษา, ธันยพร บุญศิริ

40-51

ดูทุกฉบับ