ผลการสังเกตเห็นจันทร์เสี้ยวแรกในประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2553-2565

Main Article Content

ฟิรดาว เจ๊ะแต
อารีเฟ็น รัศมีศาสน์
สุกัญญา มัจฉา
นารีมัส เจะและ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลรายงานการสังเกตจันทร์เสี้ยวแรกในประเทศไทยย้อนหลัง 13 ปี จากสำนักจุฬาราชมนตรี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553-2565 เทียบกับแบบจำลองทางดาราศาสตร์ เพื่อหาค่าเฉลี่ยตัวแปรทางดาราศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการสังเกตเห็นจันทร์เสี้ยวแรกในประเทศไทย และเพื่อเปรียบเทียบค่าตัวแปรทางดาราศาสตร์เหล่านั้นกับเกณฑ์การสังเกตจันทร์เสี้ยวแรกรูปแบบต่าง ๆ การศึกษาครั้งนี้ มีข้อมูลผลรายงานการสังเกตเห็นจันทร์เสี้ยวแรกทั้งหมด 72 ครั้ง จาก 153 ข้อมูล และเก็บข้อมูลเพิ่มเติมจากโปรแกรมทางด้านดาราศาสตร์ (Stellarium และ Accurate time) ผลจากการวิเคราะห์พบว่า อายุเฉลี่ยจันทร์เสี้ยวแรกที่สังเกตเห็นได้ในประเทศไทย คือ 16 ± 7 ชั่วโมง โดยมีค่ามุมเงยเฉลี่ย 3.4 ± 2.7 องศา มุมห่างเฉลี่ยระหว่างดวงอาทิตย์และดวงจันทร์มีค่า 8.7 ± 3.8 องศา และค่าความสว่างจันทร์เสี้ยวแรกมีค่าร้อยละ 0.69 ± 0.67 อย่างไรก็ตาม ยังพบข้อมูลการสังเกตเห็นจันทร์เสี้ยวแรกที่ไม่สอดคล้องกับหลักดาราศาสตร์ โดยมีรายงานการสังเกตเห็นจันทร์เสี้ยวแรกในวันที่ดวงจันทร์ตกก่อนดวงอาทิตย์ ข้อมูลที่ผิดปกติคิดเป็นร้อยละ 1 จากข้อมูลทั้งหมด จากการเปรียบเทียบกับเกณฑ์ต่าง ๆ พบว่า จำนวนข้อมูลการสังเกตเห็นจันทร์เสี้ยวแรกในประเทศไทยสอดคล้องกับเกณฑ์ของ Yallop (1997), MABIMS (2016) และ Odeh (2004) คิดเป็นร้อยละ 1 ร้อยละ 39 และร้อยละ 66 ของข้อมูลทั้งหมด ตามลำดับ นอกจากนี้ค่าร้อยละความแตกต่างของความสว่างจันทร์เสี้ยวแรกมีค่าใกล้เคียงกับค่าที่รายงานจากประเทศมาเลเซียคิดเป็นร้อยละ 28 การศึกษาผลการสังเกตจันทร์เสี้ยวแรกในประเทศไทยครั้งนี้สามารถใช้เป็นฐานข้อมูลอ้างอิงเพื่อพัฒนาเกณฑ์การสังเกตเห็นจันทร์เสี้ยวแรกของประเทศไทย และช่วยยกระดับความแม่นยำในการกำหนดวันขึ้นต้นเดือนใหม่สำหรับปฏิทินฮิจเราะห์ศักราช งานวิจัยนี้ถือเป็นงานวิจัยแรกที่รายงานข้อมูลเชิงสถิติของการสังเกตจันทร์เสี้ยวแรกในประเทศไทย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Ahmad, N., Mohd Nawawi, M. S. A., Zainuddin, M. Z., Mohd Nasri, Z., Mohamad Yunus, R. & Mohamed, I. (2020). A New Crescent Moon Visibility Criteria using Circular Regression Model: A Case Study of Teluk Kemang, Malaysia. Sains Malaysiana, 49(4), 859-870.

Ahmed, A. K. & Abdul Aziz, A. H. (2014). Young Moon Visibility Criterion Based on Crescent Illumination and Sky Brightness Contrast Model. Scientific Research, 21(9), 1-4.

Anwar, S., Mohd Omar, K. & Che Awang, M. S. (2016). The Relevance of Using the Moon’s Age as an Alternative in Imkanur Rukyah Criteria. The International Conference on Geomatic and Geospatial Technology, October 3–5, 2016. Kuala Lumpur, Malaysia.

Bentchikou, A., Rasiwala, M. & Patel, A. (2011). On The Visibility of The Earliest Crescent Moon: An Islamic Calendar for Makkah. Selenology Today, 21, 39-58.

Danjon, A. (1936). Le Croissant Lunaire, L’Astronomie, 50, 57-65

Gislén, A. (2018). On Lunisolar Calendars and Intercalation Schemes in Southeast Asia, Journal of Astronomical History and Heritage, 21(1), 2-6.

Hajiwaming, N. (2002). Al-Falak Practical Astronomy for Muslim (1st ed.). Bangkok: Islamic Academy. (in Thai)

Ilyas, M. (1994). Lunar Crescent Visibility Criterion and Islamic Calendar. Quarterly Journal of the Royal Astronomical Society, 35(4), 425-461.

Maskufa, M., Sopa, S., Hidayati, S. & Damanhuri, A. (2022). Implementation of the New MABIMS Crescent Visibility Criteria: Efforts to Unite the Hijriyah Calendar in the Southeast Asian Region, Ahkam: Jurnal Ilmu Syariah 22(1), 209–236.

McNally, D. (1983). The Length of the Lunar Crescent. Quarterly Journal of the Royal Astronomical Society, 24(4), 417-429.

Odeh, M. S. (2004). New Criterion for Lunar Crescent Visibility. Experimental Astronomy, 18, 39-64.

Ozlem A. (2014). A Simplified Crescent Visibility Criterion [Online]. Retrieved on June 29th, 2023, from: http://www.icoproject.org/.

Ridwan, R. & Zain, M. F. (2021). Religious symbol on determining the beginning and end of Ramadan in Indonesia. HTS Teologiese Studies / Theological Studies, 77(4), 1-9.

Schaefer, B. E. (1991). Length of the lunar crescent. Quarterly Journal of the Royal Astronomical Society, 32, 265-277.

Schaefer, B. E. (1996). Lunar Crescent Visibility. Quarterly Journal of Royal Astronomical Society, 37, 759-768.

Wahidi, A., Yasin, N., Kadir, A., Rouf, Abd. & Haq, S. (2020). Implementation of the MABIMS Criteria in Determining the Beginning of Islamic Month in Indonesia and Brunei Darussalam. Atlantis Press., 529, 96-108.

Wahyuni, R., Issaac, G. M., Rachmaputri, G. & Muchtadi-Alamsya, I. (2019) Modelling of Islamic Calendar System based on Moon Phase. IOP Conference Series: Journal of Physics: Conference Series, 1127, 012069.

Yallop, B. (1997). A method for predicting the first sighting of the new Crescent Moon, Cambridge: Nautical Almanac Office.

Zainon, O., Ali, H. R. & Abu Hussin, M. F. (2019). Comparing the New Moon Visibility Criteria for International Islamic Calendar Concept. 6th International Conference on Space Science and Communication (IconSpace), July 28-30, 2019. Johor Bahru, Malaysia.