ประสิทธิภาพของเชื้อราไตรโคเดอร์มาและวัสดุปลูกต่อการเจริญเติบโตของกล้วยไม้สกุลหวายพันธุ์โซเนีย “โจแดง” ที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

Main Article Content

ปิยนุช สายยศ
ทิพย์เกสร ป้องคำพันธุ์
จุฑามาศ บุญรอต
ดรุณี ถาวรเจริญ
จักรกฤษณ์ ศรีแสง

บทคัดย่อ

การศึกษาประสิทธิภาพของเชื้อราไตรโคเดอร์มา (Trichoderma harzianum) ร่วมกับอิทธิพลของวัสดุปลูกต่อการเจริญเติบโตของกล้วยไม้สกุลหวายพันธุ์โซเนีย “โจแดง” ในสภาพโรงเรือนพรางแสงร้อยละ 60 วางแผนการทดลองแบบ 4 × 6 Factorial in RCBD จำนวน 3 ซ้ำ ประกอบด้วย 2 ปัจจัย คือ ความเข้มข้นของเชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดผงแห้ง (0, 1.25, 2.50 และ 3.75 กรัมต่อลิตร) และวัสดุในการย้ายปลูก (กาบมะพร้าวสับ เพอร์ไลท์ หินภูเขาไฟ กาบมะพร้าวสับ + เพอร์ไลท์ (อัตราส่วน 1 : 1) กาบมะพร้าวสับ + หินภูเขาไฟ (อัตราส่วน 1 : 1) และกาบมะพร้าวสับ + เพอร์ไลท์ + หินภูเขาไฟ (อัตราส่วน 1 : 1 : 1)) เก็บข้อมูลการเจริญเติบโตของต้นอ่อนกล้วยไม้เมื่ออายุครบ 1 เดือนหลังย้ายปลูก ผลการศึกษา พบว่า อิทธิพลร่วมระหว่างเชื้อราไตรโคเดอร์มาและวัสดุปลูกมีผลต่อความสูงต้น การใช้กาบมะพร้าวและเพอร์ไลท์ร่วมกับเชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดผงแห้งความเข้มข้น 3.75 กรัมต่อลิตร มีค่าเฉลี่ยความสูงต้นสูงสุดเท่ากับ 3.88 และ 3.38 เซนติเมตร ตามลำดับ ในขณะที่ประสิทธิภาพของเชื้อราไตรโคเดอร์มาสามารถกระตุ้นการเจริญเติบโตของต้นอ่อนกล้วยไม้ เช่น ราก ความสูงต้นและความกว้างใบ ส่วนวัสดุปลูกมีผลต่อการเจริญเติบโต ด้านความยาวราก ความสูงต้น และจำนวนใบ นอกจากนี้ ผลการประเมินค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ พบว่า เชื้อราไตรโคเดอร์มามีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลางกับการเจริญเติบโตของกล้วยไม้สกุลหวาย ในด้านความสูงต้น ซึ่งจากข้อมูลที่ศึกษาสามารถนำไปพัฒนาการใช้ประโยชน์จากเชื้อราไตรโคเดอร์มาในการอนุบาลกล้วยไม้สกุลหวายหรือกล้วยไม้สกุลอื่นเชิงการค้าต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย