ผลของสารสกัดด้วยน้ำจากใบอ้อย 16 สายพันธุ์ ต่อการงอกและการเจริญเติบโตของผักกาดหอม
Main Article Content
บทคัดย่อ
ในสภาพแปลงปลูกอ้อยหลังการเก็บเกี่ยวมักพบซากใบอ้อยขึ้นปกคลุมผิวดินซึ่งส่วนใหญ่พบวัชพืชน้อยมากซึ่งอาจเกิดจากปรากฏการณ์อัลลีโลพาธี วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อศึกษาผลของสารสกัดด้วยน้ำจากใบอ้อย 16 สายพันธุ์ ต่อการงอกและการเจริญเติบโตของผักกาดหอมด้วยวิธีการทดสอบทางชีวภาพในระดับห้องปฏิบัติการ วางแผนการทดลองแบบ factorial in CRD 4 ซ้ำ ประกอบไปด้วย ปัจจัยแรก คือ พันธุ์อ้อย 16 สายพันธุ์ และปัจจัยที่สอง คือ ความเข้มข้นของสารสกัด คือ 12.5, 25, 50 และ 100 กรัมต่อลิตร ผลการทดลองปรากฏว่า สายพันธุ์ CSB 09–11, CSB 10–403, CSB 10–458, CSB 10–89, CSB 08–101, ขอนแก่น 3, อู่ทอง 15 และ อู่ทอง 12 ยับยั้งการงอกของเมล็ดผักกาดหอมมากว่า 50% ขณะที่ปัจจัยด้านความเข้มข้น พบว่า ที่ความเข้มข้น 100 กรัม/ลิตร ยับยั้งการงอก ความยาวต้น และความรากของต้นกล้าผักกาดหอมได้ 87.53, 68.95 และ 67.23% ตามลำดับ รองลงมาคือ สารสกัดที่ความเข้มข้น 50, 25 และ 12.5 กรัมต่อลิตร ตามลำดับ สารสกัดใบอ้อยพันธุ์ ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าฤทธิ์ทางอัลลีโลพาธีของพืชที่ต่างสายพันธุ์มีศักยภาพที่แตกต่างกัน ซึ่งสารเหล่านี้อาจสามารถพัฒนาต่อยอดเป็นสารธรรมชาติกำจัดวัชพืชได้และเป็นแนวทางการใช้ประโยชน์จากใบอ้อย
Article Details
บทความในวารสารเกษตรนเรศวรที่ได้รับการตีพิมพ์ เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะเกษตรศาสตร์
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับคณะเกษตรศาสตต์ฯ